4 กับดักความคิดเรื่องประกันสุขภาพ

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1629347893898 1

ปีนี้ยังคงเป็นปีที่ทุกคนเห็นถึงความสำคัญของประกันสุขภาพมากขึ้น จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นอกจากนี้ ประเทศไทยเราได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) แล้ว และค่ารักษาพยาบาลที่นับวันจะยิ่งแพงขึ้นทุกปี ทำให้เราเริ่มตระหนักถึงการวางแผนประกันสุขภาพและการวางแผนทางการเงินมากขึ้น เพื่อเป็นการปิดความเสี่ยงจากค่ารักษาพยาบาลที่เป็นก้อนใหญ่

อย่างไรก็ตาม ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ไม่ได้วางแผนประกันสุขภาพไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เนื่องจากความคิดที่คลาดเคลื่อน หรือความเข้าใจผิด ส่งผลให้การวางแผนในช่วงเกษียณอายุยังไม่สมบูรณ์แบบ ซึ่งทางผู้เขียนขอแบ่งเป็น 4 กับดักทางความคิดเกี่ยวกับการวางแผนประกันสุขภาพที่เรามักพบอยู่บ่อยๆ นั่นก็คือ

ประมาท ไม่ซื้อประกันสุขภาพ หรือซื้อประกันสุขภาพช้าเกินไป

อาจคิดว่า ตนเองยังไม่จำเป็นต้องทำประกันสุขภาพ ณ ตอนนี้ เพราะเห็นว่าตนเองยังแข็งแรง ไม่น่าจะเจ็บป่วย หรือเป็นอะไรง่ายๆ แถมประกันสุขภาพยังเป็นเบี้ยทิ้งอีก เอาเงินไปลงทุนทำอย่างอื่นดีกว่า น่าจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หากคุณคิดแบบนี้ แสดงว่าคุณสามารถนำเงินไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนมากกว่าเงินเฟ้อค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 8% ต่อปี แต่อย่าลืมว่า ค่ารักษาพยาบาลเป็นเงินที่ต้องกันไว้และต้องพร้อมใช้ในกรณีฉุกเฉิน เนื่องจากเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเราจะเจ็บป่วยหรือไม่สบายเมื่อไร ดังนั้น การลงทุนจึงจำกัดอยู่ในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องอย่างเงินฝากหรือตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งให้ผลตอบแทนต่ำ ไม่ทันกับเงินเฟ้อค่ารักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี ผลที่ตามมาคือ มีเงินไม่พอที่จะจ่ายค่ารักษาพยาบาล โดยอาจจะต้องนำเงินที่เราเก็บสะสมมาทั้งชีวิต จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด จนไม่เหลือเงินเก็บไว้ใช้หลังเกษียณอายุเลยก็เป็นได้

ซื้อประกันสุขภาพโดยพิจารณาจากค่าเบี้ยประกันเป็นอันดับแรก

ซึ่งความจริงแล้ว สิ่งที่ควรพิจารณาเป็นอันดับแรกสำหรับการทำประกันสุขภาพก็คือ ควรจะมีทุนประกันเท่าไรให้ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล และเป็นไปตามที่เราต้องการ หลังจากนั้นจึงค่อยมาดูว่าเบี้ยประกันเป็นเท่าไร ถ้าเบี้ยประกันสูงเกินกว่าความสามารถที่เราจะจ่ายไหว จึงค่อยปรับลดผลประโยชน์บางตัวออกไป ทั้งนี้ ควรทำประกันสุขภาพให้ครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายจากการเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงที่มีค่าใช้จ่ายสูงอย่างโรคมะเร็งด้วย

ลืมตรวจสอบแผนประกันสุขภาพที่ตัวเองมี

หลายคนอาจคิดว่า แผนประกันสุขภาพที่มีอยู่เพียงพอแล้วเมื่อเทียบกับค่ารักษาพยาบาลในปัจจุบัน แต่อย่าลืมว่า ในอนาคตค่ารักษาพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี เฉลี่ยปีละ 8% ซึ่งแผนประกันสุขภาพที่มีอยู่อาจไม่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบัน เราทำประกันสุขภาพที่มีค่าห้องพยาบาลจำนวน 5,000 บาท แต่หากค่าห้องมีอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 8% แสดงว่า ในปีหน้า เราอาจต้องหาแบบประกันที่ครอบคลุมค่าห้องมากกว่า 5,400 บาทนั่นเอง จึงควรหมั่นตรวจสอบ พร้อมทั้งทบทวนกรมธรรม์ของตนเองอยู่เสมอ เพื่อจะได้ปรับเพิ่มความคุ้มครองให้เพียงพอกับค่ารักษาพยาบาลในปัจจุบัน

ไม่ได้วางแผนประกันสุขภาพหลังเกษียณ

ส่วนใหญ่มักเป็นคนที่มีสวัสดิการของบริษัท (ประกันสุขภาพกลุ่ม) อยู่แล้ว จึงอาจละเลยไม่ซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติม ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือ หลังเกษียณอายุ สวัสดิการที่บริษัทเคยให้อาจหมดไป จึงต้องหาซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติมเอง แต่โอกาสในการซื้อประกันสุขภาพจะยากขึ้น เนื่องจากอายุมากขึ้น มักมีโรคประจำตัว ทำให้ไม่สามารถทำประกันสุขภาพได้ หรือถ้าทำได้ก็อาจมีการปรับเพิ่มเบี้ยประกัน รวมถึงอาจจำกัดโรคในการคุ้มครองด้วย ดังนั้น จึงควรทำประกันสุขภาพเพิ่มเติมควบคู่ไปกับสวัสดิการที่เรามีอยู่ และควรเลือกทำประกันสุขภาพที่มีการการันตีต่ออายุ เพื่อเป็นการปิดความเสี่ยงเพิ่มเติมนอกเหนือจากสวัสดิการที่มี และอุ่นใจหากเกษียณอายุ ไม่ว่าคุณจะเคลมเยอะแค่ไหน ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการรับต่ออายุประกันอีกต่อไป

ทั้งนี้ เมื่ออายุมากขึ้น ค่าเบี้ยประกันสุขภาพจะปรับตัวสูงขึ้นตาม หากไม่มีการวางแผนประกันสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ อาจเจอปัญหาคือ ไม่สามารถจ่ายค่าเบี้ยประกันสุขภาพหลังเกษียณได้ และทำให้ต้องปรับลดหรือทิ้งแผนประกันสุขภาพนั้นไป จึงควรวางแผนประกันสุขภาพตั้งแต่ตอนนี้ โดยต้องทราบว่าหลังเกษียณอายุแล้ว ต้องเตรียมเงินเท่าไหร่ เพื่อให้เพียงพอกับค่าเบี้ยประกันสุขภาพทั้งหมด แล้วจึงวางแผนเก็บเงินหรือลงทุนเพิ่มเติม และสิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้คือ ค่าเบี้ยประกันไม่ควรเกิน 10-15% ของรายได้รวมทั้งปี เพราะเราจะได้มีกำลังจ่ายค่าเบี้ยประกันไปนานๆ โดยไม่กระทบกระเทือนถึงแผนทางการเงินอื่นของเรา

สุดท้ายแล้ว เพียงแค่เรารู้เท่าทันกับดักทางความคิดเกี่ยวกับการวางแผนประกันสุขภาพ พร้อมเลือกประกันสุขภาพให้เหมาะสมและครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพียงเท่านี้ เราก็จะสามารถปิดความเสี่ยง และทำให้การวางแผนการเงินของเราสำเร็จไปอีกหนึ่งก้าวได้ 

==================================================

เผยแพร่ครั้งแรกในบทความ Money Talk: Business Today

บทความล่าสุด

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า