วัยเก๋าเที่ยวทั่วไทย…หมดห่วงเรื่องอุบัติเหตุ

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1653899847162

หากกล่าวถึงการท่องเที่ยว ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเที่ยวอย่างมีความสุข คงเป็นช่วงที่มีทั้งกำลังทรัพย์  เวลา และสุขภาพที่แข็งแรง  แต่อย่างที่ทราบกันดีว่าทั้งสามปัจจัยมีโอกาสเกิดขึ้นพร้อมกันได้ค่อนข้างยาก ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงวัยรุ่นอาจจะยังไม่มีกำลังทรัพย์ วัยทำงานอาจจะยังไม่มีเวลา และวัยเกษียณที่มีสุขภาพที่เสื่อมถอย  อย่างไรก็ตาม ด้วยเทรนด์โลกที่เปลี่ยนไปของทั่วโลกที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ รวมถึงประเทศไทย ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ “เทรนด์ท่องเที่ยวสูงวัยกำลังมาแรง” โดยข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันจากภาครัฐฯ อย่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ที่เผยแพร่ข้อมูลแนวโน้มการท่องเที่ยวไทย ผ่าน TAT Review Magazine 

สัดส่วนผู้สูงอายุในไทยกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย จีน และไทย มีสัดส่วนประชากรวัยเกษียณ ในอัตราส่วนมากถึง 1 ใน 6 ไปจนถึง 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งในไทยนั้นมีผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มากถึง 12.12 ล้านคน (ข้อมูลจากกรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ม.ค. 65) หรือคิดเป็น 18.31% ของประชากรทั้งประเทศ โดยแบ่งเป็นเพศชาย 5.34 ล้านคน และเพศหญิง 6.78 ล้านคน อีกทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2578 จะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 28% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ

แม้อายุจะถึงร้อย ก็ไม่น้อยความอยากเที่ยว

การท่องเที่ยวของกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นอีกความหวังสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในระยะข้างหน้า โดยทาง TAT Review Magazine ระบุว่า ผู้สูงอายุนั้นเน้นให้ความสำคัญในเรื่องของความสะดวกสบายในการท่องเที่ยวมากกว่า และมีการสำรวจค่าใช้จ่ายในหลายๆ ที่ รวมถึงเลือกท่องเที่ยวโดยเน้นตามใจตัวเอง คือเลือกไปท่องเที่ยวตามสถานที่ที่อยากไปและกิจกรรมที่อยากทำ เช่น การไปล่องเรือสำราญ อีกทั้งยังต้องการการดูแลมากเป็นพิเศษ เนื่องจากสุขภาพที่ไม่แข็งแรงเท่ากับช่วงวัยรุ่นหรือวัยทำงาน จึงอาจทำให้การขึ้นรถ ลงเรือ ต่อเครื่องบิน หรือการท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติที่เดินทางค่อนข้างลำบากนั้น อาจเป็นจุดเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าคนปกติ

อุบัติเหตุหกล้มในผู้สูงอายุ

เนื่องจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย ทำให้การหกล้มเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตของผู้สูงอายุ โดยจากข้อมูลของกรมกิจการผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุมีการหกล้มมากกว่าคนทั่วไป 28 – 38% และเพิ่มขึ้นเป็น 32 – 42% เมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี 2563 มีผู้สูงอายุที่เสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มราว 1,600 คน หรือ 12% ของผู้สูงอายุ และมีการบาดเจ็บจากการล้มกว่า 24,000 คน

รับมือกับอุบัติเหตุ

อุบัติเหตุเกิดจากความไม่แน่นอน แต่สามารถบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงลงได้หลากลายวิธี ได้แก่ 1) การลดหรือควบคุมความเสี่ยง ด้วยการออกกำลังกายหรือการฝึกวิธีล้มให้ถูกต้อง เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน พร้อมสร้างเกราะป้องกันให้กับผู้สูงอายุ 2) หลีกเลี่ยงความเสี่ยง ด้วยการไม่ไปเที่ยวหรือไม่ไปในพื้นที่ที่อาจเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุได้ 3) โอนความเสี่ยงด้านค่าใช้จ่ายให้บริษัทประกันช่วยดูแล

มีประกันไว้อุ่นใจกว่า

การเกิดอุบัติเหตุไม่ว่าจะเล็กน้อยหรือรุนแรง จะมีค่าใช้จ่ายและผลกระทบที่ตามมาเสมอ ทั้งค่ารักษาและการใช้ชีวิตที่อาจไม่เหมือนเดิมของผู้สูงอายุ การมีประกันอุบัติเหตุสำหรับวัยเก๋า จึงช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา รวมถึงความคุ้มครองด้านอื่นตามแบบประกันได้ อาทิ เงินชดเชยกรณีเสียชีวิต เงินชดเชยรายได้ ค่ารถเข็นผู้ป่วย (Wheel Chair) และอาจรวมถึงบริการดูแลสุขภาพหลังการรักษา (Nursing at Home) โดยให้ความคุ้มครองในช่างอายุ 55 – 100 ปี

ดังนั้น ประกันอุบัติเหตุวัยเก๋าจึงมีส่วนช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถท่องเที่ยวได้อย่างหายห่วงเรื่องค่ารักษา และทำให้ครอบครัวหมดกังวลกับการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ รวมถึงทำให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตท่องเที่ยวได้ตามไลฟ์สไตล์ที่หวังไว้อย่างมีความสุข ทั้งนี้ หากต้องการคำปรึกษาด้านการทำประกันที่เหมาะสมกับตัวเอง รวมถึงเลือกซื้อประกันตัวท็อปแบบไม่จำกัดค่าย สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่ธนาคารทิสโก้ทุกสาขา หรือ โทร 02-633-6060 หรือสามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ [email protected]  ครับ

===================================

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ Invest in Health ใน Wealthy Thai

บทความล่าสุด

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า