โอกาสสำคัญ ลงทุนตราสารหนี้โลก รับดอกเบี้ยพีค

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1692093546654

ธนาคารกลางสหรัฐฯ ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และอาจเป็นครั้งสุดท้ายสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อต่อสู่กับเงินเฟ้อที่กินเวลากว่า 1 ปี ทำให้การลงทุนในตราสารหนี้ในช่วงเวลานี้มีความน่าสนใจ ซึ่งไม่เพียงแต่ตราสารหนี้สหรัฐฯเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการลงทุนตราสารหนี้ในภูมิภาคอื่นที่มีทิศทางกลับขาเป็นขาลงในช่วง 1 ปีข้างหน้าด้วย

จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายทางการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 25-26 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมมีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ อีก 25 bps สู่ระดับ 5.25-5.50% ตามที่ตลาดคาด ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (Bond Yield) อายุ 10 ปี ทรงตัวที่ระดับประมาณ 3.8% ซึ่งเป็นระดับเดิมก่อนการประชุม นอกจากนี้ ข้อมูลจาก CME FedWatch Tool ชี้ว่า ตลาดมองว่ามีโอกาสถึง 78% ที่ Fed จะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไปในเดือน ก.ย. และมีโอกาสที่จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงไตรมาส 1 ปี 2024

หาก Fed ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบเดือนก.ย. นั่นหมายความว่าดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วและรอวันที่จะกลับเป็นขาลง และแม้ในช่วงระหว่างนี้ตัวเลขเงินเฟ้อและตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ออกมาอาจจะทำให้มุมมองของตลาดต่อการตัดสินใจของ Fed ในการประชุมเดือนก.ย.ปรับเปลี่ยนไปบ้าง แต่หากมองไปถึงภาพของปีหน้าจะพบว่าภาพของดอกเบี้ยขาลงยังคงชัดเจน นั่นเป็นสาเหตุที่เรามองว่าช่วงเวลานี้เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ และเป็นจังหวะที่ดีในการลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งไม่เพียงแต่ตราสารหนี้สหรัฐ แต่ยังรวมถึงตราสารหนี้ในภูมิภาคอื่นที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มกลับตัวเป็นขาลงในช่วง 1 ปีข้างหน้าด้วย ยกตัวอย่างเช่น ฝั่งยุโรป

การตัดสินใจของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้รับความสนใจและมีผลต่อภาพรวมการลงทุนไม่น้อยไปกว่าการตัดสินใจของ Fed ซึ่งอัตราเงินเฟ้อของยุโรปเริ่มชะลอตัวลงเช่นกันในช่วงที่ผ่านมา โดยอัตราเงินเฟ้อยุโรปเดือนมิ.ย.อยู่ที่ 5.5% ชะลอลงจาก 6.1%.ในเดือนก่อนหน้า แม้จะอยู่ในระดับสูงกว่าเงินเฟ้อของสหรัฐฯที่ 3% แต่หากมองต่อไปในช่วง 1 ปีข้างหน้า ทิศทางเงินเฟ้อของยุโรปมีแนวโน้มชะลอตัวลงเช่นดียวกัน โดย ECB คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของยุโรปในปี 2024 จะอยู่ที่ระดับ 3% ชะลอลงจากระดับ 5.4% ในปีนี้ สะท้อนไปยังแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของยุโรปที่คาดว่าจะอยู่ในทิศทางขาลงเช่นเดียวกับสหรัฐฯ

ภาพ: ดอกเบี้ยนโยบายทั่วโลกมีแนวโน้มกลับทิศเป็นขาลง โอกาสสำคัญลงทุนในตราสารหนี้ IG

1692093634175

ที่มา: Bloomberg, TISCO Wealth Advisory 

การกลับทิศดอกเบี้ยเป็นขาลงในช่วง 1 ปีข้างหน้า ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) มีแนวโน้มปรับตัวลงด้วย ซึ่งผลตอบแทนกับราคาของพันธบัตรจะเคลื่อนไหวสวนทางกันในตลาดรอง การลงทุนใน Bond ในช่วงเวลานี้จึงเสมือนเป็นการ lock ผลตอบแทนของ Bond และยังมีโอกาสได้ผลตอบแทนจากราคาของ Bond ที่จะปรับตัวขึ้นด้วย

การลงทุนในตราสารหนี้ในช่วงนี้จึงมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดี โดยแนะนำให้กระจายการลงทุนไปยังตราสารหนี้โลกที่อยู่ในระดับ Investment Grade (IG) เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในขณะที่ความเสี่ยงจากการลงทุนอยู่ในระดับต่ำจาก credit rating ของตราสาร และจากการกระจายความเสี่ยงไปยัง Bond ทั่วโลก

        หากท่านใดมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินของตนเอง สามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ [email protected]  I

บทความโดย ณัฐพร ธรวงศ์ธวัช AFPTTM Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

เผยแพร่ครั้งแรก เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ

บทความล่าสุด

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า