ความพยายามของภาครัฐ กับการพลิกฟื้นคืนชีพมังกร

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1707983497405

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภาพเศรษฐกิจและการลงทุนของจีนอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างต่อเนื่อง ทำให้การลงทุนในตลาดหุ้นจีนไม่ง่ายนัก ทางการจีนพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมั่นผ่านมาตรการต่างๆที่หลากหลาย เป็นที่น่าติดตามว่าด้วยมาตรการเหล่านี้จะสามารถพลิกฟื้นคืนชีพมังกรที่หลับใหลให้กลับมามีบทบาทบนเวทีการลงทุนโลกได้หรือไม่

จีนเผชิญปัญหาหนักหน่วงตั้งแต่ประเด็นสงครามการค้า (Trade War) กับสหรัฐอเมริกาที่ปะทุขึ้นในช่วงปี 2018 ซึ่งส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ทำให้ทั้งจีนและสหรัฐฯรวมถึงประเทศอื่นๆหันกลับมาพึ่งพาตัวเองมากขึ้น สงครามการค้ายังไม่ทันบรรเทาจีนก็ต้องพบกับวิกฤตภาคอสังหาริมทรัพย์ที่นับเป็นปัญหาใหญ่ของจีนและยังคงเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจจีนมาจนถึงทุกวันนี้ ในขณะเดียวกัน การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ทางการจีนตัดสินใจปิดประเทศปิดเมืองต่างๆเป็นระยะเพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายของเชื้อโรค และในขณะเดียวกันก็หยุดยั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนด้วย

มรสุมลูกใหญ่หลายลูกได้ถาโถมเข้าสู่จีน ทำให้เศรษฐกิจจีนที่เคยขยายตัวในระดับสูงกว่า 6% กลับเป็นซบเซา และขยายตัวในระดับต่ำกว่าในอดีต โดยล่าสุด GDP จีน ปี 2023 ขยายตัวที่ 5.2% ใกล้เคียงกับที่ทางการจีนตั้งเป้าไว้ที่ 5% และมีการคาดการณ์ว่าในปีนี้ทางการจีนจะตั้งเป้าการขยายตัวทาง GDP ไว้ที่ราว 5% เช่นเดิม แม้อัตราการขยายตัวที่ 5% จะเป็นตัวเลขที่ไม่แย่นักหากเทียบกับประเทศอื่น แต่หากเทียบกับอัตราการขยายตัวของจีนในอดีตถือว่าเป็นอัตราการขยายตัวที่ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ ปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงคุกรุ่นในจีนยังคงเป็นอุปสรรคใหญ่และเป็นประเทศสำคัญที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติให้น้ำหนักและลดทอนความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจและตลาดหุ้นจีนลง ด้วยเหตุนี้เองทำให้ทางการจีนต้องออกมาตรการต่างๆเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซา พลิกฟื้นภาคอสังหาริมทรัพย์ และเรียกความเชื่อมั่นกลับมา

จีนพยายามออกมาตรการกระตุ้นไปที่ภาคอสังหาริมทรัพย์โดยตรงตั้งแต่การลดการวางเงินดาวน์ไปจนถึงการช่วยเหลือทางด้านเงินทุนแก่บริษัทอสังหาริทรัพย์ที่มีปัญหา ควบคู่ไปกับมาตรการอื่นๆ เช่น การลดอัตราส่วนเงินสำรอง (RRR) จากธนาคารกลางจีน การเข้าช้อนซื้อหุ้นจากกองทุนความมั่งคั่งจีน (Central Huijin Investment) และล่าสุดกับการเปลี่ยนตัวประธานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของจีน (CSRC) จากนายอี้ หุยหมาน เป็นนายอู๋ ชิง ที่ได้รับขนานนามว่าเป็นผู้ปราบโบรกเกอร์ ทำให้ตลาดมองว่าจีนกำลังพยายามอย่างหนักในการหยุดยั้งการเทขายหุ้นจีน และเป็นผลให้ตลาดตอบรับในทิศทางบวกหลังการประกาศข่าว

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่ามาตรการเหล่านี้สร้างแรงหนุนต่อตลาดหุ้นจีนในช่วงสั้นๆเท่านั้น ตลาดยังคงให้น้ำหนักกับภาพเศรษฐกิจโดยรวมและวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ที่ทางการจีนต้องแก้ไข ความน่าสนใจเดียวของจีนในเวลานี้คือมูลค่าหุ้นจีน ที่ปรับตัวลงมาอยู่ในระดับที่ถูกมาก โดยดัชนี CSI300 ซื้อขายบนระดับ Fwd PE เพียง 9.9 เท่า เทียบกับ MSCI World ที่ซื้อขายบน Fwd PE 16.92 เท่า หรือ SET Index ที่ FWD PE อยู่ที่ 13.76 เท่า

ในมุมมองของเรา ยังคงให้น้ำหนักการลงทุน “เป็นกลาง” (Neutral) ต่อตลาดหุ้นจีน โดยมองว่ามาตรการจากภาครัฐยังไม่เพียงพอที่จะพลิกฟื้นคืนชีพมังกรจีนที่หลับใหล แม้มูลค่าหุ้นจีนจะถูกแสนถูกก็ตาม

ดัชนีหุ้นจีนกับมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ

1707983595476

ที่มา: Reuters

บทความโดย ณัฐพร ธรวงศ์ธวัช AFPT™   Wealth Manager

เผยแพร่ครั้งแรกเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ

บทความล่าสุด

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า