“Defensive + Quality = รีเทิร์นชนะตลาด?”

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1623119582327

คุณกำลังสนใจหุ้นวัฏจักร (Cyclical Stock) อยู่หรือเปล่า ??? ถ้าใช่ เราอยากให้คุณหยุด และอ่านบทความนี้ก่อน ทำไมน่ะเหรอ? ก็เพราะตอนนี้มีสัญญาณว่า หุ้นกลุ่มนี้กำลังจะเริ่มแผ่วลง ซึ่งนั่นหมายความว่า คุณจำเป็นต้องหาพระเอกหน้าใหม่เข้าพอร์ตแล้ว … !!!

คุณวรสินี เศรษฐบุตร” ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์กองทุน และสื่อสารการตลาด สายธุรกิจธนบดี ธนาคารทิสโก้ อธิบายว่า นับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2021 ที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าหุ้นกลุ่มวัฏจักร (Cyclical) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีผลประกอบการตามทิศทางเดียวกับสภาพเศรษฐกิจ อย่าง กลุ่มธุรกิจการเงิน (Financials) พลังงาน (Energy) อุตสาหกรรม (Industrials) ฯลฯ ได้กลายเป็นดาวเด่นอย่างมาก หลังจากที่นักวิเคราะห์ต่างแนะนำให้เข้าลงทุน นั่นก็เป็นเพราะหุ้นกลุ่มนี้จะได้รับอานิสงส์ทางตรง จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวนั่นเอง

แต่…รู้หรือเปล่าว่า สัญญาณการใกล้จบรอบของหุ้น Cyclical เกิดขึ้นแล้ว !!!
 

โดย ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) ระบุว่า เป็นผลมาจาก 3 ประเด็นสำคัญ คือ

1. เศรษฐกิจที่ขยายตัวใกล้ถึงจุดสูงสุด

2. อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond yield) ที่อาจปรับเพิ่มขึ้นอีกไม่มากนัก

3. กำไรของบริษัทในกลุ่ม Cyclicals บางกลุ่มมีความเสี่ยงที่จะถูกกดดันจากต้นทุน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา

จาก 3 ประเด็นข้างต้น ทำให้คาดการณ์ได้ว่า หุ้นกลุ่มCyclicals จะเริ่ม underperform ในระยะข้างหน้า ดังนั้น “คุณวรสินี” จึงแนะนำให้นักลงทุนลดน้ำหนักการลงทุนในกลุ่ม Cyclicals ลง

แล้วหันมาเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มธุรกิจที่มีความแข็งแกร่ง สามารถป้องกันผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจ (Defensive) ทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงทุกสภาพตลาด และธุรกิจแบรนด์ชั้นนำ คุณภาพระดับโลก (Quality)

….ว่าแต่ทำไมเราจึงแนะนำให้ลงทุนหุ้น Defensive ที่มีคุณภาพ และธุรกิจแบรนด์ระดับโลก?!?!?

Defensive + Quality = รีเทิร์นชนะตลาด?

สาเหตุที่แนะนำให้เลือกหุ้นกลุ่ม Defensive นั้น “คุณวรสินี” อธิบายว่า ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจระยะข้างหน้า มีแนวโน้มชะลอตัวลง (เห็นได้จากดัชนี ISM สูงกว่า 50 จุดแต่เป็นขาลง) ตลาดหุ้นมักให้ผลตอบแทนลดลง (เฉลี่ย 0.9% ต่อเดือน) แต่หุ้นกลุ่ม Defensive หรือ กลุ่มที่ผลประกอบการค่อนข้างเสถียร และไม่แปรผันตามวัฏจักรเศรษฐกิจ อย่างเช่น กลุ่มเทคโนโลยี (Info Tech) กลุ่มกิจการทางการแพทย์ (Health Care) และกลุ่มสาธารณูปโภค (Utilities) จะให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาด และถ้ายิ่งหุ้น Defensive ที่เลือกมานั้น เป็นหุ้นที่มีคุณภาพ (Quality) มีความแข็งแกร่งในเชิงผลิตภัณฑ์ – บริการ ที่โดดเด่น ก็จะยิ่งช่วยส่งเสริมให้หุ้น Defensive ซึ่งมีแนวโน้มที่จะกลับมานำตลาดในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ สามารถสร้างผลตอบแทนได้ยั่งยืนขึ้น

ลงทุนแบบไหน ได้ทั้งหุ้น Defensive + Quality ?

ถ้าคุณเห็นตรงกับเราว่า ควรเลือกหุ้นที่มีทั้งคุณสมบัติโดดเด่น ทั้งในแง่การเป็นหุ้น Defensive และมี Quality เพื่อรับมือกับ “ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว” และเพิ่มสัดส่วนธุรกิจที่มีโอกาส Outperform เข้าพอร์ต “คุณวรสินี” ได้คัดเลือก 2 Theme กองทุนดาวเด่นที่น่าสนใจ ดังนี้

1.กองทุนธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์ (Innovative Healthcare) : ต้องยอมรับว่า ในช่วงที่ผ่านมาหลายประเทศทั่วโลกได้เห็นถึงความสำคัญของนวัตกรรมด้านการแพทย์มากขึ้น โดยเฉพาะจีนและสหรัฐอเมริกา ซึ่งอัดฉีดงบประมาณสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกเพื่อพัฒนาในเรื่องนี้ และยังมีทีท่าว่าทั้งสองประเทศนี้ จะเดินหน้าทุ่มงบวิจัยและพัฒนายา และวัคซีนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดเพียงแค่วัคซีนโควิด-19 เท่านั้น แต่จะต่อยอดไปยังโรคอื่นๆ เช่น ไข้สมองอักเสบ อัลไซเมอร์ ฯลฯ ด้วย

ดังนั้น จึงหมายความว่าธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์ กำลังผลิตในสิ่งที่มีคุณภาพ และเป็นที่ต้องการของคนทั่วโลก ทำให้กองทุนรวมที่ลงทุนในธุรกิจเหล่านี้ น่าสนใจนั่นเอง

2.กองทุนหุ้นแบรนด์ระดับโลก : “แบรนด์” คือ ความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืน คำกล่าวนี้ไม่ใช่คำพูดที่เกินจริง เพราะจะเห็นได้ว่าตามปกติแล้ว คนเรามักจะเลือกใช้สินค้า หรือ บริการจากแบรนด์ที่คุ้นเคยเป็นหลัก ซึ่งเมื่อใช้เป็นเวลานาน ก็ทำให้ยากที่จะเปลี่ยนแปลงไปใช้แบรนด์อื่น

ยกตัวอย่างเช่น การใช้งานโปรแกรมของ Microsoft ซึ่งเชื่อว่าหลายคนก็จะยังคงใช้งานซอฟท์แวร์นี้อยู่ต่อไปเรื่อยๆ ไม่ได้ปรับเปลี่ยนโดยไม่มีสาเหตุในทันทีทันใดได้อย่างดาย เป็นต้น

ด้วยคุณสมบัตินี้เอง จึงทำให้แบรนด์ระดับโลกที่มีคุณภาพสูง สร้างความรู้สึกผูกพันธ์ในตราสินค้าได้ดี มีความจงรักภักดีของลูกค้า มีโอกาสในการขยายกิจการ มีความแข็งแกร่งทั้งในด้านอำนาจต่อรอง มีระดับกำไรที่สูง

===================================

บทความล่าสุด

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า