สยบสงครามการค้า 2025 ด้วยการลงทุน Global bond

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

สยบสงครามการค้า2025ด้วยการลงทุนGlobal bond 800X420

 

สัปดาห์ที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาสามารถสงบศึกการค้ากับจีนได้ชั่วคราว โดยระงับการเก็บภาษีร่วมกันที่อัตรา -115% ออกไปอย่างน้อย 90 วัน เพื่อหาข้อตกลงใหม่สำหรับแก้ปัญหาการค้าที่ไม่เป็นธรรม (Tariff and Non-tariff Barriers) รวมถึงสหรัฐฯ สามารถบรรลุข้อตกลงการค้าอย่างเป็นทางการกับสหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรก ทั้งนี้การลงทุนครึ่งปีหลัง 2025 ยังคงเป็นช่วงเวลาที่นักลงทุนควรมี Global bond ในพอร์ตลงทุนเนื่องจากอัตราภาษีนำเข้าที่สหรัฐฯ เรียกเก็บกับทั่วโลกอาจยังคงขั้นต่ำไว้ที่ 10% และทำให้ภาวะเศรษฐกิจยังชะลอตัวในปีนี้ ซึ่งจะนำไปสู่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาลงและเป็นผลบวกต่อการลงทุนใน Global bond ต่อไป 

โดยสหรัฐฯ เปิดเผยหลังจากบรรลุข้อตกลงการค้ากับสหราชอาณาจักรว่าอัตราภาษีนำเข้าที่ 10% จะเป็นขั้นต่ำที่เก็บกับประเทศที่เข้าเจรจา ดังนั้นการเก็บภาษีนำเข้ายังคงเป็นแรงกดดันหนึ่งที่ทำให้มูลค่าการค้าทั่วโลกลดลง จึงทำให้ปัจจุบัน IMF ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP ทั่วโลก จาก +3.3% สู่ +2.8% YoY ในการประมาณการเดือน เม.ย. ทั้งจากแนวโน้มกำไรของธุรกิจที่ลดลงจากต้นทุนภาคธุรกิจที่อาจสูงขึ้นหากมีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ และการชะลอการลงทุนจากภาคเอกชนในระหว่างที่แต่ละประเทศกำลังเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ ดังนั้นจึงยังมีโอกาสที่ตลาดหุ้นจะผันผวนได้เมื่อตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสสองออกมาแย่ลงจากผลของภาษีนำเข้า 

และเมื่อเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะชะลอตัว ประกอบกับหลายประเทศสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ตามเป้าหมายแล้วจะเป็นแรงสนับสนุนให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลดดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยนับตั้งแต่ต้นปี 2025 ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ลดดอกเบี้ยนโยบายแล้ว 0.75%, อังกฤษ (BoE) ลดลงมา 0.5%, จีน (PBoC) เริ่มลดดอกเบี้ยอ้างอิง (Repo) อีก 0.1% รวมถึงอินเดียที่เพิ่งเริ่มลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในรอบ 6 ปี อย่างไรก็ดี อัตราดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด (Yield-to-maturity) ของดัชนี Global bond ในปัจจุบันยังคงอยู่ที่ 3.6% ซึ่งยังมีความน่าสนใจลงทุนเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ไทยที่ปัจจุบันพันธบัตรไทยอายุ 10 ปีที่ 1.88% กว่าเท่าตัว และยังคาดหวังส่วนต่างราคาได้หากดอกเบี้ยนโยบายของประเทศต่างๆ ยังปรับลดลงต่อเนื่อง 

อย่างไรก็ตามสหรัฐฯ อาจยังมีความกังวลด้านเงินเฟ้ออยู่บ้างจากผลของการปรับขึ้นภาษีนำเข้าทั่วโลกที่ส่งผลต่อราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้น ซึ่งฝ่ายวิจัยและกลยุทธ์ของทิสโก้ (TISCOESU) คาดว่าอัตราภาษีนำเข้าประมาณ 10 – 15% จะทำให้ดัชนีการใช้จ่ายส่วนบุคคลของสหรัฐฯ ไม่รวมอาหารและพลังงาน (Core PCE) ปี 2025 เพิ่มขึ้นไปที่ 3.5 – 4.0% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายระยะยาว 2% ของ Fed พอสมควร สหรัฐฯ จึงอาจเป็นประเทศที่ดอกเบี้ยนโยบายลดลงช้ากว่าประเทศอื่น ดังนั้นการเลือกลงทุนใน Global bond นอกจากที่จะสามารถคาดหวังผลตอบแทนจากทั้งอัตราดอกเบี้ย และส่วนต่างราคาจากแนวโน้มดอกเบี้ยขาลงทั่วโลก ยังช่วยลดความเสี่ยงจากปัจจัยเฉพาะตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้อีกด้วย 

นอกจากนี้หากเกิดสถานการณ์การค้าโลกเลวร้ายลงจนส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะหดตัว (Recession) การลงทุนใน Global bond ก็ให้ผลตอบแทนที่ดีเสมอช่วงระหว่างก่อนและหลังเกิด Recession ไปแล้ว 6 เดือน โดย 30 ปีที่ผ่านมาดัชนี Global Bond ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 6 เดือนก่อน Recession ราว 5% และ 6 เดือนหลัง Recession ราว 3% รวม 12 เดือนเฉลี่ย 8% ซึ่งสูงกว่าผลตอบแทนระยะยาวของดัชนี Global bond ที่ให้ผลตอบแทนปีละ 3.3% กว่า 2 เท่า ดังนั้นการกระจายลงทุนไปยัง Global bond ยังช่วยเพิ่มความมั่นคงของพอร์ตลงทุนขณะที่สินทรัพย์อื่นอาจติดลบหรือผันผวนรุนแรง ดังที่เกิดความกังวลเศรษฐกิจขึ้นในช่วงต้นเดือน เม.ย. หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศวัน Liberation day ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับลดลงภายใน 3 วันทำการมากที่สุดตลอดกาลเป็นอันดับ 11 ที่ -10.7% 

โดยสรุปแล้วการลงทุนใน Global bond ยังเป็นสินทรัพย์ที่ควรมีอยู่ในพอร์ตการลงทุน เพราะนอกจากอัตราดอกเบี้ยของ Global bond ในปัจจุบันที่ยังสูงกว่าตราสารหนี้ในไทยอย่างมาก ยังมีโอกาสได้ผลตอบแทนเพิ่มหากอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกเป็นขาลง นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงการลงทุนจากผลของการเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นเป็น 10% และข้อตกลงการค้าของสหรัฐฯ กับประเทศต่างๆ ในอนาคตที่ยังไม่ชัดเจนมากนัก ซึ่งอาจส่งผลต่อการปรับขึ้นของเงินเฟ้อในสหรัฐฯ รวมถึงทำให้เศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะชะลอตัวและการเกิด Recession ในอนาคตอีกด้วย  

แผนภาพ: ผลตอบแทนรวมของดัชนี Global bond ทั่วโลกช่วงก่อนและหลัง 6 เดือน ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เกิด Recession  

1 10

Source: Bloomberg, TISCO Wealth Advisory 

บทความโดย ศิวกร ทองหล่อ CFP®

Wealth Manager 

บทความล่าสุด

สยบสงครามการค้า 2025 ด้วยการลงทุน Global bond

สัปดาห์ที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาสามารถสงบศึกการค้ากับจีนได้ชั่วคราว โดยระงับการเก็บภาษีร่วมกันที่อัตรา -115% ออกไปอย่างน้อย 90 วัน เพื่อหาข้อตกลงใหม่สำหรับแก้ปัญหาการค้าที่ไม่เป็นธรรม (Tariff and Non-tariff Barriers) รวมถึงสหรัฐฯ สามารถบรรลุข้อตกลงการค้าอย่างเป็นทางการกับสหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรก

อ่านต่อ >>

พลิกวิกฤติสงครามการค้า สู่โอกาสลงทุนหุ้นโลก

ช่วงที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกเผชิญแรงกดดันจากประเด็นกำแพงภาษีที่สหรัฐฯ ภายใต้รัฐบาลของ โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศใช้กับประเทศต่าง ๆ ในอัตราที่สูงเป็นประวัติการณ์ ก่อนจะส่งสัญญาณผ่อนคลายลงและเปิดช่องเจรจา นี่จึงเป็นโอกาสสำคัญในการลงทุนหุ้นโลกที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องด้วยระดับราคาที่เหมาะสม

อ่านต่อ >>

ล็อก Yield ดี หนีความผันผวน เข้า Global Bond

นับตั้งแต่ต้นปี 2025 จนถึงปัจจุบัน ตลาดการเงินต้องเผชิญกับความผันผวนที่อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง อันเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯที่รุนแรงกว่าที่ตลาดคาด รวมถึงมาตรการตอบโต้ทางภาษีจากบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นส่วนใหญ่เผชิญแรงเทขายอย่างรุนแรงและให้ผลตอบแทนติดลบ

อ่านต่อ >>

สยบสงครามการค้า 2025 ด้วยการลงทุน Global bond

สัปดาห์ที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาสามารถสงบศึกการค้ากับจีนได้ชั่วคราว โดยระงับการเก็บภาษีร่วมกันที่อัตรา -115% ออกไปอย่างน้อย 90 วัน เพื่อหาข้อตกลงใหม่สำหรับแก้ปัญหาการค้าที่ไม่เป็นธรรม (Tariff and Non-tariff Barriers) รวมถึงสหรัฐฯ สามารถบรรลุข้อตกลงการค้าอย่างเป็นทางการกับสหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรก

อ่านต่อ >>

พลิกวิกฤติสงครามการค้า สู่โอกาสลงทุนหุ้นโลก

ช่วงที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกเผชิญแรงกดดันจากประเด็นกำแพงภาษีที่สหรัฐฯ ภายใต้รัฐบาลของ โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศใช้กับประเทศต่าง ๆ ในอัตราที่สูงเป็นประวัติการณ์ ก่อนจะส่งสัญญาณผ่อนคลายลงและเปิดช่องเจรจา นี่จึงเป็นโอกาสสำคัญในการลงทุนหุ้นโลกที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องด้วยระดับราคาที่เหมาะสม

อ่านต่อ >>

ล็อก Yield ดี หนีความผันผวน เข้า Global Bond

นับตั้งแต่ต้นปี 2025 จนถึงปัจจุบัน ตลาดการเงินต้องเผชิญกับความผันผวนที่อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง อันเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯที่รุนแรงกว่าที่ตลาดคาด รวมถึงมาตรการตอบโต้ทางภาษีจากบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นส่วนใหญ่เผชิญแรงเทขายอย่างรุนแรงและให้ผลตอบแทนติดลบ

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า