อัลไซเมอร์ โรคหลงลืม กับค่าใช้จ่ายที่ต้องจำ

file

“โรคอัลไซเมอร์” อีกหนึ่งโรคร้ายที่ผู้สูงอายุมักเผชิญ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขปี 2558 พบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ประมาณ 600,000 คน และมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 100,000 รายต่อปี ขณะที่ในปี 2573 จะมีผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มสูงขึ้นถึง 1,177,000 คน อีกทั้งผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปจะมีสัดส่วนในการเป็นโรคนี้ประมาณร้อยละ 5 - 8 และเมื่อมีอายุ 80 ปี สัดส่วนของการเป็นโรคอัลไซเมอร์จะสูงถึงร้อยละ 50

ปัจจุบันโรคอัลไซเมอร์ยังไม่มียาชนิดใดที่จะรักษาผู้ป่วยให้หายขาดได้ มีเพียงแค่ยาที่ใช้เพื่อชะลออาการของโรค เพื่อให้ความเสื่อมช้าลงและช่วยให้ผู้ป่วยยังคงอยู่ในระยะที่ช่วยเหลือตัวเองได้นานที่สุด โดยยาสำหรับบรรเทาอาการในปัจจุบันนั้นมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะใช้รักษาอาการตามระยะของผู้ป่วย ซึ่งล่าสุดบริษัท Eisai และ บริษัท Biogen ประกาศความสำเร็จเกี่ยวกับการทดลองยา Lecanemab ในอาสาสมัครพบว่า สามารถช่วยชะลออัตราการเสื่อมของสมองได้ถึง 27%

นอกจากนี้ การจะเข้าถึงยาที่สามารถชะลอการเสื่อมของสมองได้นั้น บางรายอาจจะต้องเตรียมค่ารักษาไว้สูงถึงประมาณ 109,510 บาทต่อปี โดยข้อมูลดังกล่าวมาจากงานวิจัยของโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ ที่นอกจากจะระบุถึงค่าใช้จ่ายด้านยาแล้ว ยังพบว่าการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่ดีนั้น จะต้องใช้ผู้ดูแลอย่างน้อย 2 คน และจะมีค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์เท่ากับ 39,217.50 บาทต่อปี ส่วนต้นทุนที่ไม่เกี่ยวกับการรักษา ได้แก่ ค่าเดินทาง ค่าจ้างผู้ดูแล ค่าอาหารเสริม เป็นต้น พบว่า มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 48,115.93 บาท ยังไม่นับรวมค่าสูญเสียรายได้ และค่าเสียโอกาสของญาติผู้ดูแล โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 7,200 บาทต่อคนต่อปี ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า ค่าดูแลรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์นั้นมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงมาก

ดังนั้น การทำประกันโรคร้ายแรงจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยปิดความเสี่ยงด้านค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ โดยบางกรมธรรม์สามารถคุ้มครองได้มากถึง 8 กลุ่มโรคร้ายแรง และครอบคลุมสูงสุดมากถึง 108 โรคร้าย ซึ่งหนึ่งในโรคร้ายแรงนั้นครอบคลุมถึงโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ด้วย เช่น หากตรวจพบว่าเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้นบริษัทประกันจะจ่ายผลประโยชน์เป็นเงินก้อนให้ทันที สูงถึง 30% ของจำนวนเงินเอาประกัน และเมื่อตรวจพบว่าเป็นระยะรุนแรงบริษัทประกันจะจ่ายผลประโยชน์จนครบ 100% ของจำนวนเงินเอาประกัน ทั้งยังสามารถได้รับความคุ้มครองกลุ่มโรคอื่น ๆ เพิ่มเติมอีกด้วย ซึ่งเราสามารถนำเงินก้อนที่ได้รับจากประกันมารองรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งค่าผู้ดูแล ค่าอาหารเสริม เพื่อรักษาคุณภาพของการดำรงชีวิตให้ดีที่สุด

ทั้งนี้ หากต้องการคำปรึกษาด้านการทำประกันที่เหมาะสมกับตัวเอง รวมถึงเลือกซื้อประกันตัวท็อปแบบไม่จำกัดค่าย สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่ธนาคารทิสโก้ทุกสาขา หรือ โทร 02-633-6060 หรือสามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ prtisco@tisco.co.th  ครับ

 

====================================================

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ Invest in Health ใน Wealthy Thai

โดย จตุรพร ระวิงทอง AFPTTM 

Assistant Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

 

บทความล่าสุด

Biotech หุ้นนวัตกรรมยายุคใหม่ ที่ต้องมีไว้ในพอร์ต

โพสต์เมื่อ 27 เมษายน 2567

หากนึกถึงหุ้นกลุ่ม Healthcare นักลงทุนส่วนใหญ่มักนึกถึงบริษัทยาขนาดใหญ่ที่มีความมั่นคงแต่มีการเติบโตที่ช้า ทำให้นักลงทุนมักเหมารวมหุ้นกลุ่ม Healthcare เป็นหุ้นกลุ่ม Defensive ที่ไม่ได้คาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงและเป็นเพียงแค่หลุมหลบภัยในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวนเท่านั้น

อ่านต่อ >>

หุ้นกลุ่ม Healthcare ทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีหุ้นโลก

โพสต์เมื่อ 27 เมษายน 2567

ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่ม Healthcare กลับมาสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น จากแนวโน้มการเติบโตที่คาดว่าจะสูงกว่าตลาดโดยรวมในปีนี้ ในขณะที่ยังซื้อขายในระดับราคาที่ไม่แพงโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่มเทคโนโลยีที่เติบโตในระดับใกล้เคียงกัน ทำให้ปีนี้มีโอกาสสูงที่กลุ่ม Healthcare จะกลับมาทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีตลาดหุ้นโลก

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตสร้างกำไร ขายหุ้นสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น เบนเข็มลงทุน “หุ้น Asia ex Japan”

โพสต์เมื่อ 27 เมษายน 2567

ในปี 2024 เศรษฐกิจโลกภาพรวมเติบโตดีกว่าคาด โดยภูมิภาคที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดคือ ภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่จะเติบโตได้ดีในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว และยังเป็นปีแห่งโอกาส

อ่านต่อ >>