เจอ จ่าย จบ (ที่ไม่จบง่ายๆ) กับประกันโรคร้ายแรง

file

 

”ประกันเจอ จ่าย จบ” ไม่ได้มีแค่ประกันสำหรับโรค COVID-19 เท่านั้น แต่ประกันประเภทนี้ยังมีความคุ้มครองกลุ่ม “โรคร้ายแรง” อีกด้วย แม้จะยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่ประกันเจอ จ่าย จบ สำหรับโรคร้ายแรงนั้น มีความคุ้มครองที่คุ้มค่า ทำให้ผู้เอาประกันเข้าถึงนวัตกรรมการรักษาที่ดี เพิ่มโอกาสให้หายขาดจากโรคได้มากขึ้น 

โรคร้ายแรงคืออะไร?

ก่อนอื่นผมขอทำความเข้าใจก่อนว่า “โรคร้ายแรง” คือกลุ่มโรคที่มีอาการเจ็บป่วยรุนแรงและรักษาได้ยาก เนื่องจากต้องใช้วิธีการรักษาเฉพาะทางและใช้ระยะเวลายาวนาน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าโรคปกติทั่วไปและมีอัตราการเสียชีวิตที่สูง โดยจากข้อมูลของกรมควบคุมโรคพบว่า อัตราการเสียชีวิตจากโรคร้ายแรง 5 กลุ่มโรคหลัก ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง มีอัตราการเสียชีวิตรวมกันปีละกว่า 239.2 รายต่อประชากรหนึ่งแสนคน (ตามแผนภาพที่ 1) ในขณะที่อัตราการเสียชีวิตจากโรค COVID-19 นั้น มีเพียง 31.8 รายต่อจำนวนประชากรหนึ่งแสนคนเท่านั้น

แผนภาพที่ 1: อัตราการเสียชีวิตอย่างหยาบจากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญต่อประชากรแสนคน ปี พ.ศ. 2557 - 2561

file

ที่มา: ข้อมูลมรณบัตร กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูล ณ วันที่ 28 พ..ย. 61

ประกันโรคร้ายแรงแบบ “เจอ จ่าย จบ” คุ้มครองอย่างไร?

หากผู้เอาประกันเป็นโรคใดโรคหนึ่งในกลุ่มโรคที่ได้รับความคุ้มครอง จะได้รับเงินก้อนเพื่อนำไปรักษาตัว  โดยแต่ละกรมธรรม์จะมีความแตกต่างในเรื่องจำนวนโรคที่ให้ความคุ้มครอง ซึ่งบางกรมธรรม์คุ้มครองมากถึง 8 กลุ่มโรคร้ายแรง และครอบคลุมสูงสุดมากถึง 108 โรคร้าย ซึ่งในกรณีที่เราป่วยเป็น 1 กลุ่มโรคและได้รับเงินก้อนไปเรียบร้อยแล้ว กรมธรรม์ยังคงคุ้มครองอีก 7 กลุ่มโรคร้ายที่เหลือต่อไปด้วย เช่น ตรวจพบว่าเป็นโรคหัวใจระยะรุนแรงได้เงินตามทุนคุ้มครองไปแล้ว 100% แต่หาก 1 ปีผ่านไปตรวจพบว่า เป็นโรคปอดระยะสุดท้ายก็จะได้รับผลประโยชน์อีก 100% ซึ่งเป็นความคุ้มครองที่ไม่มีระยะเวลารอคอยระหว่างโรคอีกด้วย

นอกจากนี้ การเลือกซื้อประกันโรคร้ายแรงแบบ “เจอ จ่าย จบ” นั้น ควรพิจารณาด้วยว่า ประกันนั้นครอบคลุมการเจ็บป่วยระยะใดบ้าง เช่น ระยะเริ่มต้น ระยะปานกลาง และระยะรุนแรง ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องศึกษาเงื่อนไขก่อนการตัดสินใจทำประกัน ซึ่งหากตรวจพบโรคร้ายในระยะเริ่มต้นและมีวงเงินในการรักษาที่เพียงพอจะช่วยให้สามารถควบคุมความรุนแรงของโรคได้

ด้านการจ่ายเงินให้กับผู้เอาประกันนั้น บางกรมธรรม์ใช้วิธีแบ่งจ่ายตั้งแต่ระยะเริ่มต้นไปจนถึงระยะรุนแรง โดยให้ความคุ้มครองสูงสุดถึง 7 เท่าของทุนประกัน เช่น 1, 3 และสูงสุดถึง 5 ล้านบาท เป็นต้น

มีประกันสุขภาพอยู่แล้ว ควรซื้อประกันโรคร้ายแรงไหม?

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ประกันสุขภาพนั้นจะรักษาในภาพรวมของปัญหาสุขภาพ ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากและอาจมีข้อจำกัดในด้านการรักษา แต่เนื่องจากการรักษาโรคร้ายแรงนั้นต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก รวมถึงนวัตกรรมการรักษาในปัจจุบันและในอนาคตมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกันสุขภาพที่ซื้อเมื่อ10 ปีที่แล้ว อาจมีวงเงินหรือข้อจำกัดในการรักษาที่ทันสมัย

ดังนั้น ประกันสุขภาพโรคร้ายแรงแบบเจอ จ่าย จบ ซึ่งได้เงินก้อนนั้นจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการรักษา ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเข้าถึงนวัตกรรมการแพทย์ที่พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด พร้อมเพิ่มโอกาสในการกลับไปใช้ชีวิตกับครอบครัวได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง

ทั้งนี้ หากต้องการคำปรึกษาด้านการทำประกันที่เหมาะสมกับตัวเอง รวมถึงเลือกซื้อประกันตัวท็อปแบบไม่จำกัดค่าย สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่ธนาคารทิสโก้ทุกสาขา หรือ โทร 02-633-6060 หรือหากท่านใดมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินของตนเอง สามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ prtisco@tisco.co.th  ครับ

 

====================================================

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ Invest in Health ใน Wealthy Thai

 

บทความล่าสุด

ปรับพอร์ตสร้างกำไร ขายหุ้นสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น เบนเข็มลงทุน “หุ้น Asia ex Japan”

โพสต์เมื่อ 12 เมษายน 2567

ในปี 2024 เศรษฐกิจโลกภาพรวมเติบโตดีกว่าคาด โดยภูมิภาคที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดคือ ภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่จะเติบโตได้ดีในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว และยังเป็นปีแห่งโอกาส

อ่านต่อ >>

จับจังหวะทำกำไร กับขาขึ้นรอบใหม่ของตลาดหุ้น Asia

โพสต์เมื่อ 12 เมษายน 2567

ตลาดหุ้นเอเชีย (Asia ex Japan) ถือเป็นตลาดหุ้นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงไม่แพ้ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) โดยเฉพาะในฝั่งของภาคการผลิตที่บริษัทยักษ์ใหญ่จากภูมิภาคเอเชีย ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรมการผลิตของโลก

อ่านต่อ >>

Asia ex Japan หุ้นไม่แพง โตแรงแซงเศรษฐกิจโลก

โพสต์เมื่อ 12 เมษายน 2567

ท่ามกลางตลาดหุ้นหลักของโลก เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้น New High ต่อเนื่องจนมูลค่าเริ่มตึงตัว แต่หุ้นกลุ่มประเทศเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น ยังมีมูลค่าการซื้อขายยังอยู่ในระดับต่ำ และสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง

อ่านต่อ >>