5 ประโยชน์ของการส่งต่อมรดก ด้วย “ประกันชีวิต”

file

             การส่งต่อมรดกเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรวางแผนไว้ล่วงหน้า จากความเสี่ยงในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งด้านสุขภาพที่เกิดจากมลภาวะทางอากาศ อาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงที่เราไม่คาดคิด หรือการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน โดยการวางแผนมรดกไม่จำเป็นเฉพาะวัยสูงอายุ แต่สามารถวางแผนได้ทุกช่วงวัย เพื่อให้แน่ใจว่าทรัพย์สินที่มีอยู่จะถูกส่งมอบให้กับคนที่คุณรักตามความต้องการและถูกต้องตามกฎหมาย การส่งต่อมรดกสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การยกให้ การแบ่งปันทรัพย์มรดก เป็นต้น แต่หนึ่งในวิธีการส่งต่อมรดกที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือการส่งต่อมรดกด้วยประกันชีวิต

ประโยชน์ของการส่งต่อมรดกด้วยประกันชีวิต

1.เงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตไม่ต้องเสียภาษีมรดก ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 กำหนดว่า “มรดก หมายความว่า ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย” จากบทนิยามดังกล่าว จะเห็นได้ว่า เงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตไม่ถือเป็นมรดกของผู้ตาย เนื่องจากไม่ถือเป็นทรัพย์สินของผู้ตายที่มีอยู่ก่อนหรือมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย แต่เป็นทรัพย์สินที่เกิดขึ้นหลังจากผู้เอาประกันเสียชีวิตแล้ว

2.สามารถกำหนดผู้รับประโยชน์ได้ตามความประสงค์ ผู้เอาประกันสามารถกำหนดผู้รับประโยชน์ได้ตามความต้องการ โดยผู้รับประโยชน์สามารถเป็นบุคคลใดก็ได้ เช่น ทายาท คู่สมรส บุพการี พี่น้อง หรือองค์กรการกุศล เป็นต้น

3.เจ้าหนี้ไม่สามารถฟ้องร้องเรียกได้ เงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตถือเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต สิทธิในการรับเงินประกันชีวิตจึงตกเป็นของผู้รับประโยชน์ เจ้าหนี้ของผู้เอาประกันจะไม่สามารถฟ้องร้องเรียกเงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตจากผู้รับประโยชน์ได้

4.จัดการเงินได้อย่างรวดเร็ว การเรียกร้องเงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว โดยผู้รับประโยชน์จะต้องดำเนินการแจ้งบริษัทประกันชีวิตทราบภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต หรือภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบถึงการเสียชีวิตของผู้เอาประกัน ซึ่งต่างกับคำสั่งศาลในคดีมรดก โดยพินัยกรรมจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน และคดีมรดกโดยธรรมจะใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน

5.ค่าเบี้ยนำไปลดหย่อนภาษีได้ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ สามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท ตามจำนวนที่จ่ายจริง

เทคนิคเลือกประกันชีวิตเพื่อส่งต่อมรดก

การเลือกประกันชีวิตเพื่อส่งต่อมรดก ส่วนใหญ่นิยมเลือก “ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ” เนื่องจากประโยชน์ของแบบประกัน มีดังนี

- จำนวนเงินเอาประกัน แบบประกันตลอดชีพเป็นแบบประกันที่ให้ทุนประกันภัยสูงเบี้ยประกันภัยต่ำ เมื่อเทียบเบี้ยประกันต่อทุนจะมีความคุ้มค่าสูง

- ระยะเวลาการเอาประกัน แบบประกันตลอดชีพมีความคุ้มครองชีวิตระยะยาวจนสิ้นอายุขัย หรือ จนครบกำหนดอายุ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการให้ครอบครัวมีหลักประกันระยะยาว ในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตก่อนครบกำหนดอายุสัญญา ผู้รับประโยชน์จะได้รับเงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิต

- เบี้ยประกัน ค่าเบี้ยประกันของประกันชีวิตคงที่ตลอดอายุสัญญา ทำให้ผู้เอาประกันไม่ต้องกังวลเรื่องค่าเบี้ยประกันที่อาจสูงขึ้นในอนาคต

- มีความยืดหยุ่นสูง เลือกแบบประกันโดยผู้เอาประกันสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนเงินเอาประกันภัยได้ตามความต้องการ และ สามารถเปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์ได้

การส่งต่อมรดกด้วยประกันชีวิตจึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า เหมาะสำหรับทุกคนที่ต้องการวางแผนส่งต่อมรดกให้กับคนที่คุณรัก หากเกิดอะไรขึ้นกับตัวเราขึ้นมาโดยไม่คาดคิด เงินตรงนี้จะถูกส่งต่อและสามารถนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดยเงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตยังได้รับการยกเว้นภาษีมรดก และสามารถกำหนดผู้รับประโยชน์ได้ตามความต้องการ เพียงเท่านี้เราสามารถลดความกังวลและเพิ่มความสบายใจให้ทั้งตัวเองและคนที่เรารักได้อย่างมั่นใจ

บทความล่าสุด

ปรับพอร์ตอย่างไรในช่วงเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว 

โพสต์เมื่อ 26 กรกฎาคม 2567

การปรับพอร์ตการลงทุนตามสถานการณ์เศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้พอร์ตการลงทุนมีความยืดหยุ่นและสามารถรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจได้ดีขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นด้วย โดยมีวิธีปรับตามการวิเคราะห์วงจรเศรษฐกิจ 4 ช่วง

อ่านต่อ >>

ถึงเวลาเพิ่มน้ำหนักหุ้น รับเศรษฐกิจฟื้นตัว

โพสต์เมื่อ 26 กรกฎาคม 2567

เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ช่วงของการฟื้นตัว ขณะที่ดอกเบี้ยนโยบายเริ่มกลับทิศเป็นขาลงภายใต้สถานการณ์นี้ เป็นช่วงที่เหมาะกับการลงทุนใน “หุ้น” ที่สุด

อ่านต่อ >>

3 กลยุทธ์ปรับพอร์ต ก่อนเลือกตั้งสหรัฐฯ

โพสต์เมื่อ 26 กรกฎาคม 2567

ปัจจัยที่นักลงทุนทั่วโลกจับตามองมากที่สุดคงหนีไม่พ้นการเลือกตั้งสหรัฐฯที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 5 พ.ย. นี้ ซึ่งจะเป็นการ Rematch ระหว่าง Donald Trump กับ Joe Biden และถือเป็นอีกครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐฯนับตั้งแต่ปี 1956 ที่ผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้งคู่ต่างเป็น “อดีตประธานาธิบดี”

อ่านต่อ >>