เปิดโอกาสเข้าถึงนวัตกรรมด้วยประกันมะเร็ง

file

“อโรคยา ปรมาลาภา” หรือ ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นอกจากเราจะไม่ต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบากทางกายหากเราเจ็บป่วยแล้ว ยังไม่ต้องเผชิญกับความยากลำบากทางทรัพย์สินที่ต้องใช้เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาโรคอีกด้วย “โรคมะเร็ง” เป็นตัวอย่างชั้นดีที่หลายกรณี ผู้ป่วยต้องสิ้นเนื้อประดาตัวก่อนที่จะรักษาจนครบกระบวนการ สุดท้ายอาจต้องกู้หนี้ยืมสินมาเป็นค่ารักษา ซึ่งถึงแม้จะช่วยให้รักษาตัวจนหายก็ไม่สามารถสร้างฐานะให้กลับมาได้เช่นเดิม

ค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาโรคมะเร็งนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตำแหน่งของมะเร็ง ระยะที่ตรวจพบ และวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุด โดยหากเลือกวิธีการหรือตัวยาที่สามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิต หรือความสำเร็จในการรักษาที่สูงที่สุด อาจมีค่าใช้จ่ายสูงแตะ 8 หลักเลยทีเดียว อาทิ ราคายา Keytruda ที่เป็นกลุ่มยาแอนติบอดี้รักษาโรคมะเร็ง ซึ่งองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (U.S. FDA) ได้อนุมัติให้ใช้รักษาโรคมะเร็งถึง 22 ชนิด สนนราคาเข็มละ 300,000 บาท หากใช้ระยะเวลารักษาจนหายขาดเฉลี่ย 2 ปี ต้องใช้เข็มละ 3 สัปดาห์ ตกค่าใช้จ่ายสูงกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับวิธีการรักษาอื่นที่อาจต้องทำควบคู่กัน 

ความหวังผลิตยารักษามะเร็งถูกลงกว่า 10 เท่า

อย่างไรก็ตาม กลุ่มวิจัยภูมิคุ้มกันด้านเซลล์บำบัดมะเร็งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จัดตั้งขึ้นโดยมีพันธกิจเพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงยารักษาโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง ซึ่งทางกลุ่มวิจัยเชื่อว่าบุคลากรทางการแพทย์ของไทยมีศักยภาพมากพอที่จะช่วยให้ราคายารักษาโรคมะเร็งถูกลงกว่า 10 เท่า ด้วยประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน หากสามารถวิจัยและผลิตยาได้เองภายในประเทศ โดยปัจจุบันเริ่มวิจัยและพัฒนาตัวยาแอนติบอดี้จนเข้าสู่เฟสที่ 3 จากทั้งหมด 5 เฟส นั่นคือ เริ่มผลิตตัวยาต้นแบบที่ปรับปรุงแล้วเพื่อให้สามารถใช้กับมนุษย์ได้ในปริมาณมาก โดยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 18 - 24 เดือนก่อนที่จะเข้าสู่การทดลองในสัตว์ที่เฟส 4 และสามารถทดลองใช้กับมนุษย์ได้ที่เฟส 5 หลังจากเฟสที่ 4 เสร็จสิ้นประมาณ 20 - 24 เดือน

ประโยชน์ของการวิจัยและผลิตยารักษาด้วยตัวเองนอกเหนือจากการลดภาระการนำเข้ายารักษาจากต่างประเทศด้วยมูลค่าปีละกว่า 3 แสนล้านบาทแล้วนั้น ยังมีโอกาสที่ตัวยาจะถูกบรรจุเข้าไปในบัญชียาหลักแห่งชาติมากขึ้น ซึ่งผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิบัตรทองเพื่อใช้ยาตัวนี้ในการรักษาได้ในอนาคต

ประกันมะเร็งแบบเจอแล้วมีเงินก้อน

การทำประกันสุขภาพนั้น ผู้เอาประกันย่อมคาดหวังว่าหากเราเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง เราจะได้สินไหมเพื่อชดเชยค่ารักษาพยาบาลได้ ซึ่งปัจจุบันลักษณะความคุ้มครองของประกันโรคมะเร็งมีหลากหลายรูปแบบ แต่สิ่งที่ผู้ที่ต้องการทำประกันควรคำนึงก่อนการตัดสินใจทำประกันมะเร็งอย่างมาก คือการให้ความคุ้มครองโรคมะเร็งในทุกระยะทั้งเงินก้อนแก่ผู้เอาประกันทันทีที่ตรวจพบมะเร็งและคุ้มครองค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาโรคมะเร็งได้ตามจริง

อย่างไรก็ดี ส่วนของวงเงินที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่บริษัทรับประกันกำหนดไว้อาจไม่สามารถนำไปเบิกเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับวิธีการรักษาทางเลือกหรือตัวยาใหม่ๆ จากต่างประเทศที่แพทยสภาของไทยยังไม่อนุมัติให้ใช้เป็นมาตรฐานการรักษาในไทยได้ แต่การได้รับเงินก้อนทันทีที่ตรวจพบจะช่วยเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเข้าถึงตัวยาใหม่ๆ ที่อาจมีประสิทธิภาพในการรักษามากกว่าตัวยาแบบเดิมได้หากต้องการ
เพราะฉะนั้นหากเราต้องการวางแผนประกันมะเร็งโดยเผื่อค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาทางเลือกหรือตัวยาใหม่ๆ จากต่างประเทศ การเลือกประกันมะเร็งที่ระบุว่าจะจ่ายทันที 100% ของทุนประกันไม่ว่าจะตรวจพบมะเร็งระยะใดก็ตาม จะช่วยเปิดโอกาสการเข้าถึงนวัตกรรมทางการแพทย์จากทั่วโลกด้วยการนำเงินก้อนไปแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น

สำหรับโรคมะเร็งนั้น นวัตกรรมทางการแพทย์ทั่วโลกกำลังพัฒนาประสิทธิภาพในการรักษาอย่างต่อเนื่อง การทำประกันมะเร็งเพื่อเป็นหลักประกันในการรักษา โดยคำนึงถึงเรื่องเงินก้อนหากตรวจพบมะเร็งทุกระยะ และวงเงินความคุ้มครองสูงสุดย่อมเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ด้วยการจ่ายเบี้ยเริ่มต้นหลักพันบาท สามารถให้ความคุ้มครองกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งทำให้เราสบายใจได้ว่าเงินทองที่หามาได้จากการทำงานตลอดชีวิตจะไม่หมดไปเพียงแค่เราไม่ได้วางแผนการทำประกันมะเร็ง อีกทั้งยังเป็นกำลังใจหล่อเลี้ยงที่ดีให้กับผู้ป่วยเพื่อให้สามารถต่อสู้กับโรคร้ายได้อย่างเข็มแข็งอีกด้วย

 

==================================================

เผยแพร่ครั้งแรกในบทความ Health is Wealth กรุงเทพธุรกิจ

บทความล่าสุด

ปรับพอร์ตอย่างไรในช่วงเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว 

โพสต์เมื่อ 27 กรกฎาคม 2567

การปรับพอร์ตการลงทุนตามสถานการณ์เศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้พอร์ตการลงทุนมีความยืดหยุ่นและสามารถรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจได้ดีขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นด้วย โดยมีวิธีปรับตามการวิเคราะห์วงจรเศรษฐกิจ 4 ช่วง

อ่านต่อ >>

ถึงเวลาเพิ่มน้ำหนักหุ้น รับเศรษฐกิจฟื้นตัว

โพสต์เมื่อ 27 กรกฎาคม 2567

เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ช่วงของการฟื้นตัว ขณะที่ดอกเบี้ยนโยบายเริ่มกลับทิศเป็นขาลงภายใต้สถานการณ์นี้ เป็นช่วงที่เหมาะกับการลงทุนใน “หุ้น” ที่สุด

อ่านต่อ >>

3 กลยุทธ์ปรับพอร์ต ก่อนเลือกตั้งสหรัฐฯ

โพสต์เมื่อ 27 กรกฎาคม 2567

ปัจจัยที่นักลงทุนทั่วโลกจับตามองมากที่สุดคงหนีไม่พ้นการเลือกตั้งสหรัฐฯที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 5 พ.ย. นี้ ซึ่งจะเป็นการ Rematch ระหว่าง Donald Trump กับ Joe Biden และถือเป็นอีกครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐฯนับตั้งแต่ปี 1956 ที่ผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้งคู่ต่างเป็น “อดีตประธานาธิบดี”

อ่านต่อ >>