อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย...ควรดูแลเงินในกระเป๋า

file

“อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย...ควรดูแลสุขภาพ” เป็นประโยคที่เราคุ้นเคยและพบเจอได้บ่อยๆ เมื่อเข้าย่างฤดูฝน เพราะเป็นฤดูกาลที่เหมาะสมสำหรับเชื้อแบคทีเรียและไวรัสต่างๆ ในการแพร่กระจายมากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้คนมีอาการเจ็บป่วยอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นโรคไข้หวัด หรือ อาการภูมิแพ้ทั่วไป จนไปถึงโรคที่รุนแรงขึ้น เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรือ โรคไข้เลือดออก เป็นต้น ซึ่งคนทั่วไปไม่ได้สนใจเรื่องไข้หวัดทั่วไปมากนัก แต่โรคไข้หวัดใหญ่ หรือ ไข้เลือดออก กว่าจะรักษาให้หายเป็นปกติได้ต้องใช้เวลาราว 2 สัปดาห์ และอาจจำเป็นต้องมีแพทย์คอยดูแลอาการอย่างใกล้ชิด เพราะสามารถเกิดโรคแทรกซ้อนจนสามารถถึงแก่ชีวิตได้หากไม่รักษาอย่างทันท่วงทีในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง

ไข้หวัดใหญ่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจจากไวรัสกลุ่ม Influenza เมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม เชื้อจะแพร่กระจายไปในอากาศหรือเจือปนอยู่ในของเหลว และในพื้นที่ที่มีคนอยู่รวมกันหนาแน่น โดยอาการจะมีไข้แบบทันทีทันใดและอาการจะรุนแรงและป่วยนานกว่าไข้หวัดธรรมดา

ขณะที่ไข้เลือดออกจะเกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยยุงลายที่ดูดเลือดของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue) จะแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกายผู้ที่ถูกยุงกัดคนต่อไป โดยความเหมือนของ 2 โรคนี้คือมักจะมีจำนวนผู้ป่วยจำนวนมากในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน – กันยายน) อีกทั้งกลุ่มเสี่ยงมักอยู่ในช่วงอายุ 0 – 15 ปี ซึ่งมีภูมิต้านทานต่ำ และ มักอยู่ในพื้นที่ที่มีคนหมู่มาก เช่น โรงเรียน  และช่วงอายุ  25 – 34 ปี ซึ่งเป็นวัยทำงานที่อาจไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน, ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ และมักอยู่ในพื้นที่ที่มีคนหมู่มาก เช่น อาคารสำนักงาน เช่นเดียวกับกลุ่มอายุ  0 – 15 ปี ซึ่งวิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันปีละครั้งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงได้ 50 – 95% ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ระบาด โดยสามารถฉีดได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป

นอกจากนี้คนป่วยควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปสู่คนอื่น รวมถึงใส่หน้ากาก ล้างมือ และทานอาหารให้ถูกสุขอนามัย จะเป็นการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ส่วนวิธีป้องกันโรคไข้เลือดออกนั้นพยายามไม่ให้ถูกยุงกัด หลีกเลี่ยงพื้นที่น้ำนิ่งหรือน้ำขังที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย หรือคอยกำจัดน้ำขังในที่พักอาศัยจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยไปได้

ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ค่ารักษาเท่าไร?

อย่างไรก็ดี หากเราเจ็บป่วยจากโรคเหล่านี้จริงๆ ก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลในช่วงระยะแรกเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายตามมา เช่น ค่าห้อง, ค่ารักษาพยาบาล, ค่ายาต่างๆ รวมไปถึงค่าเสียโอกาสในการสูญเสียรายได้จากการประกอบอาชีพอิสระหากไม่มีสวัสดิการด้านสุขภาพมารองรับ หรือ ต้องหยุดงานเพื่อมาเฝ้าบุตรหลานของตนเอง ซึ่งเราสามารถปิดความเสี่ยงเหล่านี้ได้ด้วยประกันสุขภาพ

ตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายต่อการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ 1 ครั้ง แบ่งเป็นค่าห้องเดี่ยวของโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพฯ เฉลี่ยคืนละ 6,000 บาท ค่าตรวจหาเชื้อครั้งละ 4,000 บาท ค่าบริการทางการแพทย์รวมถึงค่าตรวจเฉลี่ยคืนละ 5,000 บาท รวมแล้วมีค่าใช้จ่ายเบื้องต้น 15,000 บาท ซึ่งหากอาการหนักก็ต้องพักอย่างน้อย 2 คืน อีกทั้งยังมีค่ายาตลอดการรักษาจนหายขาดอีกประมาณ 5,000 บาท รวมทั้งสิ้น 30,000 บาท  

ขณะที่หากเรามีประกันสุขภาพสำหรับผู้ป่วยอายุ 30 ปี ชำระเบี้ยประกันสุขภาพเพียง 22,000 บาท สามารถคุ้มครองค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้และได้เงินชดเชยอีกวันละ 900 - 1,000 บาท ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายยามเจ็บป่วยได้อย่างดีเสมือนเป็นเกราะป้องกันเพิ่มเติมจากการปรับพฤติกรรมเสี่ยงอีก 1 ชั้น เพื่อเป็นการป้องกันเงินในกระเป๋าของเราไม่ไหลไปกับสายฝน

ช่วงอากาศแปรปรวนและเข้าสู่ฤดูฝน ประกอบกับสถิติผู้ป่วยจากโรคที่มากับฝนนั้นเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทุกคนจึงควรตระหนักเกี่ยวกับการป้องกันการเจ็บป่วยไว้ ซึ่งวิธีการป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคเหล่านี้ที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ หมั่นฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี, ออกกำลังกายสม่ำเสมอ, หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีคนหมู่มากหากไม่จำเป็น, ดูแลสุขอนามัยของตนเองและบุตรหลานเป็นประจำ นอกจากนี้ ควรมีประกันสุขภาพไว้เพื่อเป็นเกราะป้องกันเงินในกระเป๋า หากเราเจ็บป่วยแบบไม่ทันตั้งตัวไว้ เพื่อสุขภาพกายและจิตใจที่ดี และเงินเต็มกระเป๋าอีกด้วย

 

==================================================

เผยแพร่ครั้งแรกในบทความ Health is Wealth กรุงเทพธุรกิจ

บทความล่าสุด

หุ้นกลุ่ม Healthcare ทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีหุ้นโลก

โพสต์เมื่อ 25 เมษายน 2567

ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่ม Healthcare กลับมาสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น จากแนวโน้มการเติบโตที่คาดว่าจะสูงกว่าตลาดโดยรวมในปีนี้ ในขณะที่ยังซื้อขายในระดับราคาที่ไม่แพงโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่มเทคโนโลยีที่เติบโตในระดับใกล้เคียงกัน ทำให้ปีนี้มีโอกาสสูงที่กลุ่ม Healthcare จะกลับมาทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีตลาดหุ้นโลก

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตสร้างกำไร ขายหุ้นสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น เบนเข็มลงทุน “หุ้น Asia ex Japan”

โพสต์เมื่อ 25 เมษายน 2567

ในปี 2024 เศรษฐกิจโลกภาพรวมเติบโตดีกว่าคาด โดยภูมิภาคที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดคือ ภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่จะเติบโตได้ดีในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว และยังเป็นปีแห่งโอกาส

อ่านต่อ >>

จับจังหวะทำกำไร กับขาขึ้นรอบใหม่ของตลาดหุ้น Asia

โพสต์เมื่อ 25 เมษายน 2567

ตลาดหุ้นเอเชีย (Asia ex Japan) ถือเป็นตลาดหุ้นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงไม่แพ้ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) โดยเฉพาะในฝั่งของภาคการผลิตที่บริษัทยักษ์ใหญ่จากภูมิภาคเอเชีย ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรมการผลิตของโลก

อ่านต่อ >>