โอกาสลงทุน อินโดนีเซีย – เวียดนาม 2 ประเทศฐานการผลิตใหม่ของโลก

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1665990031218 1

ปัญหาการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ – จีน รวมถึงยูเครน-รัสเซีย ทำให้บริษัทต่างๆ เริ่มเห็นถึงปัญหาและความซับซ้อนในการจัดการกับห่วงโซ่อุปทาน จึงเริ่มหาทางกระจายความเสี่ยงด้านการผลิต ที่เดิมอาจกระจุกตัวอยู่ที่ประเทศจีน ไปยังประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซีย

สาเหตุที่ทำให้ทั้งสองประเทศกลายเป็นประเทศเนื้อหอมที่นักลงทุนต่างประเทศเลือกที่จะไปตั้งฐานการผลิตนั้น มีเหตุผลที่ตรงกันคือการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นอย่างมาก มีความพร้อมทั้งในแง่นโยบายที่จูงใจให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนตรง และวัยแรงงานที่มีอยู่มาก

โดยประเทศเวียดนาม มีจุดเด่นเฉพาะตัวด้านทำเลที่ตั้งใกล้กับจีน อีกทั้งยังมีประชากรวัยแรงงานจำนวนมาก นอกจากนี้ การเปิดกว้างต่อการลงทุนของต่างชาติ รวมถึงข้อตกลงทางการค้าได้ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนในการย้ายฐานการผลิตเข้ามาสู่เวียดนามอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าปีที่ผ่านมาผลจากการล็อกดาวน์ในไตรมาส 3 จะทำให้เศรษฐกิจเวียดนามชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่หลังจากการควบคุมการแพร่ระบาดได้ เศรษฐกิจก็กลับมาฟื้นตัวแข็งแกร่ง โดยเศรษฐกิจในไตรมาส 2/2565 ขยายตัวได้ถึง 7.72% เมื่อเทียบกับปีก่อน (YoY) เพราะได้แรงหนุนจากภาคการส่งออก รวมถึงการทยอยฟื้นตัวของภาคบริการ ขณะที่เงินเฟ้อก็ยังอยู่ในกรอบอ้างอิง โดยในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 2.89%YoY ในแง่การเติบโตทางเศรษฐกิจ นักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2565 และ 2566 อยู่ที่ 6.9% และ 6.7% ตามลำดับ

ในด้านการลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามนั้น ตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคมดัชนี VN Index ปรับตัวลง -14.5% โดยดัชนีปรับตัวลงชัดเจนในช่วงไตรมาส 2 หลังมีข่าวการทุจริตของผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ ทำให้นักลงทุนเทขายหุ้นเพื่อป้องกันการถูก Margin Call จนทำให้ในไตรมาส 2/2565 ดัชนี VN Index ปรับตัวลงกว่า 20% สวนทางกับมุมมองผลประกอบการปี 2564 ที่คาดว่าจะเติบโต 30% ทำให้มูลค่าหุ้น (Valuation) เมื่อสิ้นเดือนสิงหาคมปรับตัวลงมาอยู่ในระดับน่าสนใจที่บริเวณ -2S.D. คิดเป็น Fwd P/E 11.5 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่อยู่ในระดับ 15.8 เท่า ขณะที่มองข้ามไปปีหน้ากำไรต่อหุ้น (EPS) ยังสามารถเติบโตได้อีกราว 15%

สำหรับความน่าสนใจของประเทศอินโดนีเซียนั้น คือความพร้อมทางปัจจัยการผลิตทั้งทรัพยากรคนและทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะแร่ทองแดงและนิกเกิลที่อินโดนีเซียสามารถผลิตได้เป็นอันดับต้นๆ ของโลก ปัจจัยเหล่านี้ดึงดูดเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิตด้านแบตเตอรี่และรถไฟฟ้า ทั้ง TESLA, CATL, LG Chem ให้ย้ายฐานการผลิตเข้ามา ขณะที่ไตรมาส 2/2565 เศรษฐกิจขยายตัว 5.4%YoY ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2565 และ 2566 คาดว่าจะขยายตัวได้ในอัตรา 5.2% และ 5.0% ตามลำดับ

ภาพการลงทุนตลาดหุ้นอินโดนีเซียตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม Jakarta Composite Index (JCI) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 7.7% สวนทางกับตลาดหุ้นทั่วโลก ตามทิศทางการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ด้าน EPS ปี 2565 ประเมินว่า จะขยายตัวสูงถึง 47% และ ปี 66 ขยายตัว 5% ด้าน Valuation Fwd P/E ซื้อขายที่ระดับ 16 เท่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีเล็กน้อยที่ 17 เท่าขณะที่อุตสาหกรรมที่เป็นส่วนประกอบหลักของดัชนี ได้แก่ ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจวัสดุการผลิต และธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค ยังคงได้รับปัจจัยเชิงบวกจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ยังอยู่ในระดับสูงและแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจของประเทศ

ในช่วงที่ความไม่แน่นอนด้านการเมืองระหว่างประเทศยังมีความไม่แน่นอนสูงนั้น ได้กลายเป็นปัจจัยบวกต่อเวียดนามและอินโดนีเซียที่มีปัจจัยการผลิตที่เพียบพร้อม นโยบายทางการเงินที่ไม่ได้มีความตึงมากเกินไป ขณะที่ระดับ Valuation ของตลาดหุ้นที่ไม่ได้สูงมากเกินไปก็เป็น 2 ประเทศที่เหมาะกับการเพิ่มเข้าไปในพอร์ตการลงทุนเพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงการลงทุนได้

อ้างอิง Bloomberg as of Aug 2021

 

======================

 

บทความโดย

ยศรวี จงแสงทอง AFPTTM

Senior Wealth Manager ธนาคารทิสโก้ 

เผยแพร่ครั้งแรกในคอลัมน์ สถานีลงทุน ของ ประชาชาติ

บทความล่าสุด

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า