ภายใต้สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ปะทุขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา หนุนให้ราคาน้ำมันดิบโลกอย่าง Brent และ WTI พุ่งขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 13 ปี ที่ 130 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่งผลให้แนวโน้มเงินเฟ้อยังคงมีความเสี่ยงที่อาจจะอยู่ในระดับสูงยาวนานกว่าที่คาด โดย Bloomberg Economics ประเมินว่า ความตึงเครียดดังกล่าวอาจทำให้เงินเฟ้อของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. พุ่งขึ้นแตะระดับ 9% YoY เป็นระดับที่สูงสุดในรอบกว่า 40 ปี
จากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ระดับสูงในปัจจุบัน ทำให้การประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก 0.25% นับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2018
ขณะที่การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นในช่วงที่ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอดีตพบว่า ตลาดหุ้น (S&P 500 Index) มักจะปรับตัวลงประมาณ 5 – 10% ในช่วง 1 – 2 เดือนก่อนขึ้นดอกเบี้ย แต่จะกลับมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นราว 1 เดือนหลังจากนั้น (ดังแผนภาพที่ 1)
แผนภาพที่ 1: การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้น (S&P 500 Index) ในช่วงที่ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอดีต
ที่มา: Bloomberg, TISCO Economic Strategy Unit (TISCO ESU)
โดย วิภาดา ศุภกุลวณิชย์ AFPT™
Assistant Wealth Manager ธนาคารทิสโก้