เปิดตำรับยา COVID-19 ทางเลือกไหนจริง ไหนหลอก ? 

file

จากแนวทางเวชปฏิบัติจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขฉบับปรับปรุงวันที่ 4 สิงหาคม 2564 กลุ่มผู้ป่วยสีเขียว แพทย์สามารถวินิจฉัยให้ดำเนินการ Home Isolation ได้ โดยหากกรณีที่มีอาการเล็กน้อย เช่น ไอ มีไข้เกิน 37.5 องศา ให้เริ่มพิจารณาใช้ยาต้านไวรัส Favipiravir ทันที อย่างไรก็ตาม ด้วยจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ปริมาณการใช้ยาต้านไวรัสตอนนี้อยู่ที่วันละ 1 ล้านเม็ด ต่อ จำนวนผู้ป่วย 20,000 คน ต่อ วัน หรือเฉลี่ยเดือนละ 30 ล้านเม็ด จึงเกิดความกังวลว่ายาจะอาจไม่พอใช้ภายในประเทศ ไม่ว่าจะเกิดจากจำนวนยาที่ผลิตหรือนำเข้ามาได้ยังไม่เพียงพอ หรือ ล่าช้าในขั้นตอนการเบิกจ่ายยาก็ตาม จึงเริ่มมีการส่งต่อข้อมูลยาและวิธีการดูแลตนเองที่จะช่วยลดอาการหรือช่วยป้องกันตนเองได้ผ่านสื่อออนไลน์มากมาย อย่างไรก็ตาม ยาหลายชนิดที่อาจไม่ควรใช้เพื่อเป็นยาหลักเพื่อต้านไวรัส เนื่องด้วยสาเหตุแตกต่างออกไป ซึ่งจะมานำเสนอรายละเอียดข้อมูลปัจจุบัน ดังนี้

อันดับแรก ที่เป็นที่กล่าวถึงอย่างมากในไทย คือ ฟ้าทะลายโจร โดยเป็นสมุนไพรเดียวที่มีอยู่ในแนวทางเวชปฏิบัติข้างต้น แต่กำกับไว้ว่าไม่พิจารณาให้ใช้เป็นยาหลักเพื่อการรักษา เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการมากพอ แต่งานวิจัยเบื้องต้นนั้น สารสกัดที่พบได้ในฟ้าทะลายโจรชื่อว่า Andrographolide จะช่วยยับยั้งการแพร่เชื้อ COVID-19 ในร่างกายและช่วยลดอาการปอดอักเสบได้ในระดับเซลล์ แต่ยังต้องใช้เวลาในการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยจริงว่าจะได้ผลเหมือนงานวิจัยในห้องปฏิบัติการหรือไม่ นอกจากนี้อาจมีผลข้างเคียงรุนแรงหากใช้โดยปราศจากคำแนะนำจากแพทย์ โดยปัจจุบันข้อแนะนำจากกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก แนะนำให้ใช้ฟ้าทะลายโจรที่เป็นในรูปสารสกัด หรือ ผงบด โดยระบุปริมาณ Andrographolide เป็นมิลลิกรัมให้ชัดเจนโดยปริมาณที่เหมาะสมในการใช้คือ 180 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งอาจแบ่งกิน 3 เวลาหรือ 4 เวลาต่อวันขึ้นอยู่กับปริมาณแคปซูล และกินต่อเนื่อง 5 วันเท่านั้น ไม่ควรกินเพื่อป้องกันเป็นระยะเวลานาน เพราะนอกจากจะไม่มีประโยชน์ในการป้องกัน สารดังกล่าวมีฤทธิ์เสริมกับยาลดความดัน ยาต้านการแข็งตัวของเลือด แต่อาจทำให้ความดันตก แขนขาอ่อนแรง หรือถึงขั้นตับวายได้

ต่อมาคือยา Ivermectin ยาตัวนี้ผลิตโดยบริษัท Merck ซึ่งในปัจจุบันองค์การอนามัยโลก (WHO) อนุญาตให้ใช้เพื่อการรักษาโรคพยาธิตาบอดเท่านั้น แต่เนื่องจากการระบาดของสายพันธุ์ Beta และ Delta ในแถบแอฟริกาใต้อย่างรุนแรง และในตอนนั้นการแจกจ่ายยาต้านไวรัสและวัคซีนเป็นไปอย่างล่าช้า ทำให้แพทย์พยายามศึกษายาทางเลือกที่มีในปัจจุบัน และค้นพบเบื้องต้นว่า Ivermectin ช่วยยับยั้งการแพร่เชื้อ COVID-19 ได้ในระดับเซลล์ จึงมีงานวิจัยเพิ่มเติมที่รวบรวมงานวิจัยจากหลายประเทศที่ใช้ Ivermectin เรียกว่า Meta-analysis  เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างเยอะขึ้น ซึ่งข้อสรุปงานวิจัยแม้ว่ายา Ivermectin สามารถลดการเสียชีวิตได้ 62% แต่ผู้วิจัยให้ความเห็นว่าหลักฐานยังไม่พอที่จะสรุปตามผลที่ศึกษาได้ เนื่องจากงานวิจัยต่างๆ เกือบร้อยละ 70 ที่รวบรวมมานั้นยังไม่ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ทำให้ความน่าเชื่อถือไม่สูงมากนัก นอกจากนี้ ปริมาณโดสในแต่ละงานวิจัยหลากหลายมาก ดังนั้น จึงยังไม่สามารถกำหนดในแนวเวชปฏิบัติได้ ประกอบกับบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง Merck ก็ยังไม่แนะนำให้ใช้เพื่อรักษา COVID-19 เพราะข้อมูลการศึกษาต่างๆ ยังไม่สามารถยืนยันความปลอดภัยของผู้ป่วยได้

ยาอีกยี่ห้อหนึ่งที่เริ่มมีการพูดถึงในไทยกันว่าเป็นยาต้านไวรัสที่ใช้ในประเทศจีน คือ เหลียนฮัว ชิงเหวิน โดยขึ้นทะเบียนกับ อย. ไทยเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา แต่ที่จริงแล้วเป็นยาสมุนไพรที่ใช้บรรเทาอาการจากไข้หวัดใหญ่ โดยประเทศจีนนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดจาก COVID-19 เช่น ไอ มีไข้สูง หรือภาวะปอดอักเสบเบื้องต้น แต่ต้องใช้ร่วมกับวิธีการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะตัวยาสมุนไพรยังไม่มีคุณสมบัติต้านไวรัส นอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังต่างๆ ในการใช้ เช่น ไม่ควรใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น หรือหากมีโรคประจำตัวควรใช้ภายใต้คำแนะนำจากแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรจีน เป็นต้น

ยาทางเลือกที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดต้องใช้ร่วมกับเวชปฏิบัติหลักก่อน หรือให้อยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น เนื่องจากยังมีข้อควรระวังในการใช้หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัว หรือ จำเป็นต้องใช้ร่วมกับยาตัวอื่นๆ และงานวิจัยที่ยังไม่เพียงพอที่จะยืนยันว่ารักษาหรือบรรเทาอาการได้จริง อย่างไรก็ตามในวันนี้บริษัทยาหลายแห่งยังคงเร่งงานวิจัยและขออนุมัติยาที่ตนเองผลิตได้กับหน่วยงานที่อนุมัติการใช้รักษา COVID-19 ซึ่งนอกเหนือจากจะช่วยลดการขาดแคลนยาต้านไวรัสทั่วโลก บริษัทเหล่านี้อาจเพิ่มโอกาสสร้างรายได้ในยามวิกฤตจากยาที่มีสายการผลิตอยู่แล้วอีกด้วย 

 

========================================

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ Health is Wealth ใน กรุงเทพธุรกิจ

บทความล่าสุด

หุ้นกลุ่ม Healthcare ทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีหุ้นโลก

โพสต์เมื่อ 18 เมษายน 2567

ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่ม Healthcare กลับมาสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น จากแนวโน้มการเติบโตที่คาดว่าจะสูงกว่าตลาดโดยรวมในปีนี้ ในขณะที่ยังซื้อขายในระดับราคาที่ไม่แพงโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่มเทคโนโลยีที่เติบโตในระดับใกล้เคียงกัน ทำให้ปีนี้มีโอกาสสูงที่กลุ่ม Healthcare จะกลับมาทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีตลาดหุ้นโลก

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตสร้างกำไร ขายหุ้นสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น เบนเข็มลงทุน “หุ้น Asia ex Japan”

โพสต์เมื่อ 18 เมษายน 2567

ในปี 2024 เศรษฐกิจโลกภาพรวมเติบโตดีกว่าคาด โดยภูมิภาคที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดคือ ภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่จะเติบโตได้ดีในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว และยังเป็นปีแห่งโอกาส

อ่านต่อ >>

จับจังหวะทำกำไร กับขาขึ้นรอบใหม่ของตลาดหุ้น Asia

โพสต์เมื่อ 18 เมษายน 2567

ตลาดหุ้นเอเชีย (Asia ex Japan) ถือเป็นตลาดหุ้นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงไม่แพ้ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) โดยเฉพาะในฝั่งของภาคการผลิตที่บริษัทยักษ์ใหญ่จากภูมิภาคเอเชีย ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรมการผลิตของโลก

อ่านต่อ >>