“โรคอัลไซเมอร์” กำลังจะมี “ยา” ซึ่งเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายได้!?!?

file

ทำความรู้จัก “โรคอัลไซเมอร์”

โรคอัลไซเมอร์ คือ หนึ่งในโรคที่เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างเนื้อเยื่อสมองจากของเสียโปรตีน (Toxic Protein) ที่ชื่อว่า beta-amyloid โดยจะไปสะสมและจับกับเซลล์สมอง ทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหายจากการลดลงของสารอะซีติลโคลีน (acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลต่อความทรงจำ ทำให้ประสิทธิภาพของเซลล์ประสาทลดลงและถูกทำลายทีละน้อย

ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาเรื่องความจำโดยเฉพาะความจำระยะสั้น ส่งผลต่อการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิด ภาษา และพฤติกรรม เมื่อเวลาผ่านไปความเสียหายที่เกิดขึ้นจะแพร่กระจายไปสู่สมองหลาย ๆ ส่วน ทำให้เกิดอาการสมองเสื่อม และในทุก ๆ 68 วินาทีจะมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น 1 คนในโลก ทำให้ยอดสะสมของผู้ป่วยทั่วโลกนั้นคิดเป็นกว่า 50 ล้านคน

ข้อมูลจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยพบว่าปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์เกือบ 1 ล้านคน อายุเฉลี่ยตั้งแต่ 40-65 ปี และมีอัตราการเกิดเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากแนวโน้มสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 100,000 ราย และในปี 2030 จะมีผู้ป่วยที่เป็นอัลไซเมอร์ประมาณ 1,177,000 คน และมีแนวโน้มจะเกิดในอายุขัยเฉลี่ยที่ต่ำลง

โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แพทย์จึงสามารถตรวจหาโดยใช้เทคโนโลยี genotype เพื่อทำนายความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ในเบื้องต้น โดยใช้วิธีที่เรียกว่า Apolipoprotein E (ApoE) ซึ่งเป็นการตรวจหายีน APOE ประเภท 4 โดยงานวิจัยพบว่า หากผู้ที่มียีน APOE4 นั้นมีโอกาสที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ในอนาคตเพิ่มขึ้นประมาณ 7% ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีที่สามารถตรวจพบได้ในเบื้องต้น

แต่โรคอัลไซเมอร์ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ มีเพียงการใช้ยารักษา และการจัดการดูแลที่จะช่วยบรรเทาอาการได้เพียงชั่วคราวหรือเพียงแค่ช่วยให้พัฒนาการของโรคช้าลง

ปัจจุบันมียารักษาอาการของโรคอัลไซเมอร์เพียง 5 ชนิดเท่านั้น ตลอดระยะเวลา 115 ปีที่โลกค้นพบว่าโรคอัลไซเมอร์คืออะไร และการรักษานั้นเป็นแบบประคองอาการ เน้นการชะลออาการไม่ได้มุ่งเป้าไปที่โรคอัลไซเมอร์โดยตรง

"Aducanumab" ยา...รักษาอัลไซเมอร์ ?!?!

หนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกันอย่างบริษัท Biogen ผู้นำด้านการวิจัยเรื่องความผิดปกติของระบบประสาทได้วิจัยและทดลองยา Aducanumab ซึ่งตัวยาดังกล่าวจะมุ่งเป้าไปที่ลดการจับตัวของ beta-amyloid ที่เป็นต้นเหตุสำคัญของการเกิดโรคอัลไซเมอร์

ซึ่งก่อนหน้านี้ตัวยาดังกล่าวถูกพัฒนาโดย Eli Lilly ที่คิดค้นยารักษาอัลไซเมอร์มาเป็นเวลายาวนานกว่า 30 ปี เช่นเดียวกับบริษัท Roche, Pfizer และ Johnson & Johnson ที่มีการคิดค้นยารักษาโรคอัลไซเมอร์เช่นกัน แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ

บริษัท Biogen ได้ทดลองและค้นพบว่า beta-amyloid ที่ก่อตัวรวมกัน และไปขัดขวางการทำงานของสารสื่อประสาทนั้นจะใช้เวลาสะสมในสมองคนไข้นานถึง 15 ปี ก่อนที่จะแสดงอาการออกมา เมื่อค้นพบสาเหตุดังกล่าว Biogen ก็สามารถปรับสูตรการทดลองทางคลินิกขั้นที่ 3 และเตรียมยื่นขออนุมัติจากองค์การอาหารและยา (FDA) ทำให้ Aducanumab เป็นยารักษาโรคอัลไซเมอร์ที่ยื่นขออนุมัติจาก FDA เป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี

จากในเดือน พ.ย. 2020 ราคาหุ้นของ Biogen ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในเดือน พ.ย. 2020 วันเดียวถึง 43% จากความคาดหวังว่า FDA จะอนุมัติยา Aducanumab แต่หลังจากนั้นราคาหุ้นได้ปรับตัวลดลงเนื่องจาก FDA ยังไม่อนุมัติในรอบนั้น และอยากให้มีการทดลองอีกครั้ง ซึ่งได้เลื่อนวันตัดสินอนุมัติยา Aducanumab ไปยังวันที่ 7 มิ.ย. 2021

หาก FDA อนุมัติคาดว่า Aducanumab จะเป็นยาตัวแรกของโลกที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ และประเมินว่ายอดขายยา Aducanumab จะสูงที่สุดในกลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ ซึ่ง Goldman Sachs ประเมินไว้ว่า Aducanumab จะสามารถสร้างยอดขายได้สูงถึง 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จากราคายาที่ผู้ป่วยต้องจ่ายสูงถึง 50,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ใช้ทุกเดือน) ในปี 2019 มูลค่าตลาดของยากลุ่มโรคอัลไซเมอร์ทั่วโลกอยู่ที่ 3,5000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

คาดว่าในปี 2020-2025 จะมีการเติบโตแบบทบต้นสูงถึง 6.8% ต่อปี ทำให้บริษัทยาต่าง ๆ กำลังเร่งพัฒนาตัวยาที่จะช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากเป็นตลาดที่มีการเติบโตที่สูง

ความน่าสนใจของตลาดยานี้สะท้อนผ่านกองทุน Berkshire Hathaway ของนักลงทุนระดับโลกอย่าง Warren Buffett ที่ได้เข้าไปลงทุนในบริษัท Biogen ในช่วงปลายปี 2019 คิดเป็นมูลค่ากว่า 192 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งบริษัท Biogen นั้นถือเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพที่มีความสม่ำเสมอทั้งในเรื่องการเติบโตของยอดขายและผลกำไร

ทั้งนี้ FDA ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาอัลไซเมอร์อย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคที่รักษาได้ยากและพบได้ในผู้สูงวัย โดยผู้ป่วยจะสูญเสียความทรงจำในระยะสั้น มีพฤติกรรมที่ผิดแปลกไปจนถึงอาการวิกลจริต ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

โลกที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุกำลังจะมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เพิ่มสูงขึ้น ถึงแม้ปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์โดยตรง แต่ความก้าวหน้าของ Healthcare Innovation โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotech) ที่ต่างกำลังเร่งพัฒนายาให้มีประสิทธิภาพ

ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ biotechnology นั้นมีจุดเด่นเหนือกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น เนื่องจากสินค้าหรือตัวยาจะมีลักษณะการใช้ที่จำเพาะ ยากต่อการลอกเลียนแบบ เป็นสินค้าที่ต้องใช้นวัตกรรมสูง

การลงทุนในบริษัทเหล่านี้ นอกจากจะให้ผลตอบแทนกับนักลงทุนที่สูงแล้ว ยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น เพราะความเจ็บป่วยเป็นหนึ่งในปัญหาที่มนุษยชาติล้วนแล้วแต่ต้องเผชิญและต้องพยายามหาทางบรรเทาและรักษาด้วยความพยายามทั้งหมดที่มี

แม้ตอนนี้โรคอัลไซเมอร์จะยังไม่มียาชนิดใดที่รักษาให้หายขาดได้ แต่การหมั่นดูแลสุขภาพกายสุขภาพใจ และสุขภาพสมอง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นทำสุขภาพจิตให้แจ่มใส เท่านี้ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ในระดับหนึ่งแล้ว

บทความโดย : วัทธิกร กิจจาวิจิตร AFPT Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

บทความล่าสุด

หุ้นกลุ่ม Healthcare ทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีหุ้นโลก

โพสต์เมื่อ 20 เมษายน 2567

ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่ม Healthcare กลับมาสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น จากแนวโน้มการเติบโตที่คาดว่าจะสูงกว่าตลาดโดยรวมในปีนี้ ในขณะที่ยังซื้อขายในระดับราคาที่ไม่แพงโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่มเทคโนโลยีที่เติบโตในระดับใกล้เคียงกัน ทำให้ปีนี้มีโอกาสสูงที่กลุ่ม Healthcare จะกลับมาทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีตลาดหุ้นโลก

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตสร้างกำไร ขายหุ้นสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น เบนเข็มลงทุน “หุ้น Asia ex Japan”

โพสต์เมื่อ 20 เมษายน 2567

ในปี 2024 เศรษฐกิจโลกภาพรวมเติบโตดีกว่าคาด โดยภูมิภาคที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดคือ ภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่จะเติบโตได้ดีในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว และยังเป็นปีแห่งโอกาส

อ่านต่อ >>

จับจังหวะทำกำไร กับขาขึ้นรอบใหม่ของตลาดหุ้น Asia

โพสต์เมื่อ 20 เมษายน 2567

ตลาดหุ้นเอเชีย (Asia ex Japan) ถือเป็นตลาดหุ้นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงไม่แพ้ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) โดยเฉพาะในฝั่งของภาคการผลิตที่บริษัทยักษ์ใหญ่จากภูมิภาคเอเชีย ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรมการผลิตของโลก

อ่านต่อ >>