โต้กลับ COVID-19 ด้วยวัคซีน Booster Dose

file

ปัจจุบันจำนวนวัคซีนที่ใช้ไปเพื่อต่อสู้กับโรค COVID-19 ฉีดไปแล้วกว่า 2.39 พันล้านโดส โดยมีประชากรที่สามารถเข้าถึงวัคซีนโดสที่ 2 ราว 16% ของประชากรโลก แน่นอนว่าเป้าหมายที่สำคัญของการฉีดวัคซีน คือ การสร้าง Herd Immunity หรือภูมิคุ้มกันหมู่ และให้ทั่วโลกสามารถเปิดประเทศได้อย่างปกต ซึ่งต้องมีประชากรได้รับวัคซีนครบถ้วนขั้นต่ำ 75% ของจำนวนประชากร อย่างไรก็ตาม ความหมายของ Herd Immunity เราอาจตีความคลาดเคลื่อนไปว่าจะไม่มีโรค COVID-19 บนโลกใบนี้แล้ว อันที่จริงผลลัพธ์สุดท้ายของ Herd Immunity คือ ต้องเปลี่ยนจากโรคระบาดร้ายแรง ให้เป็นโรคประจำถิ่นที่ลดอัตราเสียชีวิต ลดอาการ หรือป้องกันการติดเชื้อให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้

ต้องเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่าทุกวัคซีนที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ใช้ในช่วงเวลานี้ ล้วนเป็นการใช้เพื่อสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Use Authorization: EUA) ทั้งสิ้น ดังนั้น วัคซีนที่ผลิตออกมายังจำเป็นต้องพัฒนาต่อไป อย่างน้อยเพื่อลดผลข้างเคียงจากวัคซีน หรือเพื่อให้สามารถสร้าง Herd Immunity ได้อย่างยั่งยืน เพราะนอกเหนือจากข้อมูลการทดลองว่าเราสามารถป้องกันการติดเชื้อได้เท่าไหร่นั้น ก็ยังไม่มีวัคซีนตัวใดบอกได้ชัดเจนว่า ระยะเวลาของภูมิคุ้มกันที่วัคซีนสร้างขึ้นมาจะคงอยู่ได้นานแค่ไหน

อย่างไรก็ดี เริ่มมีหลายประเทศกำลังต่อยอดการทดลองวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายการทดลอง คือ การสร้าง Herd Immunity อย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาวัคซีนต่อยอดจากของเดิมที่มีอยู่ให้สามารถต่อต้านเชื้อที่กลายพันธุ์ได้ หรือ การประยุกต์ใช้วัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันด้วยแนวคิดการสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มเติมด้วยวัคซีน “Booster Dose” ซึ่งหากเราเทียบเคียงจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่เราคุ้นเคยกันดีและมีรูปแบบของพันธุกรรมที่คล้ายกับ COVID-19 ยังมีการระบาดตามฤดูกาลทุกปีเป็นประจำ ซึ่งทำให้จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเป็นประจำต่อเนื่องเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดเป็นวงกว้าง นั่นก็เปรียบเสมือน Booster Dose ของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นทดลองที่เป็นไปได้ในทางทฤษฎี ดังนั้น แม้ว่าเราอาจจะเป็นคนหนึ่งที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้วในปัจจุบัน ก็ยังไม่สามารถวางใจได้ว่าโลกใบนี้จะไม่มีการระบาดของ COVID-19 ระลอกอื่นๆ ตามมา

ประเทศที่เริ่มประกาศแนวทางการศึกษาอย่างเป็นทางการ เช่น สหรัฐอเมริกา โดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ (National Institutes of Health: NIH) มีการนำอาสาสมัคร 150 คน ที่ได้รับวัคซีนครบโดสในชนิดเดียวกันเรียบร้อยแล้ว หลังจาก 3-4 เดือน มาเข้ารับ Booster Dose และศึกษาว่าจะเป็นอย่างไร หากฉีดวัคซีน Booster Dose ซึ่งได้แยกกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนที่ได้รับวัคซีนที่องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (US FDA) ให้การรับรองแบบ EUA คือ Johnson & Johnson, Pfizer และ Moderna และอีกกลุ่ม คือ กลุ่มคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนใดๆ มาก่อน จะรับวัคซีน Moderna 2 โดสตามปกติ จากนั้นจะฉีดวัคซีน 1 ใน 3 ยี่ห้อดังกล่าวในอีก 12 – 20 สัปดาห์

อีกประเทศที่กำลังศึกษาวัคซีน Booster Dose คือ สหราชอาณาจักร โดยสถาบันวิจัยสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักรร่วมกับมหาวิทยาลัยเซาแธมป์ตันจัดตั้งโครงการ Cov-Boost เพื่อศึกษาสูตรการฉีดวัคซีนด้วยวัคซีนทั้ง 7 ยี่ห้อ อาทิ  Astrazeneca, Pfizer, Novavax, Valneva, Moderna, Curevac และ Johnson & Johnson ร่วมกับวัคซีนไข้กาฬหลังแอ่นอย่าง Men ACWY ว่าในแต่ละสูตรการฉีดที่กำหนดไว้ จะสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกัน COVID-19 ได้มากกว่าเดิมหรือไม่ และสามารถคงภูมิคุ้มกันได้นานแค่ไหน โดยจะใช้อาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนของ Pfizer หรือ Astrazeneca ที่ครบ 2 โดสมาก่อน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาทดลองประมาณ 1 ปีครึ่ง

สำหรับประเทศไทยเอง เนื่องจากยังมีกลุ่มตัวอย่างน้อยเกินไปด้วยปริมาณวัคซีนที่จำกัด จึงยังไม่มีการพูดถึง Booster Dose มากนัก แต่ศูนย์เฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำลังเริ่มการวิจัยกรณีฉีดวัคซีนต่างชนิดกัน โดยเริ่มมาจากมีกรณีที่ผู้รับการฉีดวัคซีนแพ้วัคซีนเข็มที่ 1 ทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้วัคซีนต่างชนิดในเข็มที่ 2 จำนวน 5 คน พบว่า 4 รายที่เริ่มฉีด Sinovac เข็มแรก และรับ Astrazeneca เข็มที่ 2 มีภูมิคุ้มกันสูงขึ้นมากกว่าการฉีด Sinovac 2 เข็ม ขณะเดียวกัน 1 รายที่ฉีด Astrazeneca เข็มที่ 1 ต่อด้วย Sinovac เข็มที่ 2 มีภูมิคุ้มกันที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยเช่นกัน ซึ่งประโยชน์ของการทดลองนี้ นอกจากจะช่วยให้ผู้แพ้วัคซีนมีทางเลือกมากขึ้น อาจจะช่วยลดข้อจำกัดในกรณีที่จำนวนวัคซีนไม่เพียงพอ และสามารถเป็นแนวทางในการศึกษา Booster Dose ที่เหมาะสมต่อไปในอนาคตด้วย

สำหรับ Booster Dose ในอนาคต น่าจะมีการพูดคุยกันเป็นวงกว้างมากขึ้น ซึ่งช่วงเวลานี้เราอาจต้องติดตามพัฒนาการของการใช้วัคซีนว่าจะเปลี่ยนไปอย่างไรเมื่อจำนวนวัคซีนมีเพียงพอ เพราะอาจช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้ว่า เมื่อเราได้รับวัคซีนรูปแบบนี้มาแล้ว จะเลือกวัคซีนตัวใดที่เป็น Booster Dose เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้มากที่สุด และทำให้เกิด Herd Immunity ต่อ COVID-19 อย่างยั่งยืน

 

บทความโดย : ศิวกร ทองหล่อ CFP® Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

=======================================

 

บทความล่าสุด

หุ้นกลุ่ม Healthcare ทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีหุ้นโลก

โพสต์เมื่อ 19 เมษายน 2567

ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่ม Healthcare กลับมาสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น จากแนวโน้มการเติบโตที่คาดว่าจะสูงกว่าตลาดโดยรวมในปีนี้ ในขณะที่ยังซื้อขายในระดับราคาที่ไม่แพงโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่มเทคโนโลยีที่เติบโตในระดับใกล้เคียงกัน ทำให้ปีนี้มีโอกาสสูงที่กลุ่ม Healthcare จะกลับมาทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีตลาดหุ้นโลก

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตสร้างกำไร ขายหุ้นสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น เบนเข็มลงทุน “หุ้น Asia ex Japan”

โพสต์เมื่อ 19 เมษายน 2567

ในปี 2024 เศรษฐกิจโลกภาพรวมเติบโตดีกว่าคาด โดยภูมิภาคที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดคือ ภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่จะเติบโตได้ดีในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว และยังเป็นปีแห่งโอกาส

อ่านต่อ >>

จับจังหวะทำกำไร กับขาขึ้นรอบใหม่ของตลาดหุ้น Asia

โพสต์เมื่อ 19 เมษายน 2567

ตลาดหุ้นเอเชีย (Asia ex Japan) ถือเป็นตลาดหุ้นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงไม่แพ้ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) โดยเฉพาะในฝั่งของภาคการผลิตที่บริษัทยักษ์ใหญ่จากภูมิภาคเอเชีย ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรมการผลิตของโลก

อ่านต่อ >>