“Liquid Biopsy” จะช่วยเพิ่มโอกาสรอดให้กับผู้ป่วยมะเร็งได้อย่างไร ?

file

ตามสถิติพบว่า หากผู้ป่วยสามารถตรวจพบมะเร็งในระยะที่ยังไม่ลุกลามได้ จะมีโอกาสรอดชีวิตภายหลังจากที่ตรวจพบมากกว่า 5 ปี ถึง 89% แต่หากไปตรวจเจอว่าเป็นระยะลุกลามแล้ว โอกาสที่จะรอดชีวิตเกินกว่า 5 ปีมีเพียง 24% เท่านั้น…

“Liquid Biopsy” จะช่วยเพิ่มโอกาสรอดให้กับผู้ป่วยมะเร็งได้อย่างไร ?!?!?! ติดตามจากบทความค่ะ

รู้จัก “Liquid Biopsy” เทคโนโลยีตรวจหามะเร็งจากเลือด

แต่เดิมการตรวจหาโรคมะเร็งนั้น อาจเริ่มตั้งแต่การตรวจหาก้อนเนื้อที่เจริญเติบโตผิดปกติในร่างกาย จากนั้นก็ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจว่าเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ หรือ Tumor Biopsy ซึ่งยังมีข้อเสียอยู่บ้างในกรณีที่มะเร็งระยะเริ่มต้นที่ชิ้นเนื้อมีขนาดเล็กมากจนตรวจหาไม่พบ หรือพบชิ้นเนื้ออยู่ใกล้กับอวัยวะภายในที่สำคัญที่ทำการผ่าตัดได้ยาก แต่หากไม่ตรวจให้แน่ชัดว่าชิ้นเนื้อนั้นเป็นเนื้อดีหรือเนื้อร้าย อาจทำให้เกิดความล่าช้าในการรักษาได้

ดังนั้น “Liquid Biopsy” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถตรวจหาและวิเคราะห์มะเร็ง จากเลือดของผู้ป่วยได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องผ่าชิ้นเนื้อ จึงเป็นสิ่งที่เข้ามาตอบโจทย์ด้านการตรวจหาโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าที่เคยเป็น
 

โดยแนวคิดของ Liquid Biopsy เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1869 นายแพทย์ Thomas Ashworth เผยแพร่งานวิจัยว่า เซลล์มะเร็งจะปลดปล่อยสารพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งสู่กระแสเลือดได้ ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ

ชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมจากเซลล์มะเร็งที่ตายได้เข้าสู่กระแสเลือด เรียกว่า ชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมมะเร็งในกระแสเลือด (Circulating Tumor DNA: ctDNA)

เซลล์ทั้งเซลล์ที่แยกออกจากเซลล์มะเร็ง เรียกว่า เซลล์มะเร็งในกระแสเลือด (Circulating Tumor Cell: CTC)

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2016 การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งด้วยวิธี Liquid Biopsy ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (US FDA) ให้เป็นวิธีการตรวจหามะเร็งเบื้องต้น (Early Detection) ซึ่งปัจจุบันมักนิยมใช้ตรวจหามะเร็งเต้านม ลำไส้ ต่อมน้ำเหลือง ปอด ผิวหนัง และไทรอยด์

อย่างไรก็ดีเทคโนโลยี Liquid Biopsy ในช่วง 10 ปีก่อนยังไม่แม่นยำพอที่จะใช้เปลี่ยนเครื่องมือวินิจฉัยหลัก เนื่องจาก ctDNA อาจมีสัดส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับ DNA ทุกชนิดในเลือด ซึ่งอาจเกิดผลลวงจากการตรวจได้ จึงยังจำเป็นต้องใช้วิธีการตรวจชิ้นเนื้อควบคู่กันไป เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย

นอกจากนี้เซลล์มะเร็งมักมีการกลายพันธุ์ตลอดเวลาจนทำให้วิธี Liquid Biopsy ยังเป็นเพียงแค่เป็นเครื่องมือตรวจหามะเร็งเบื้องต้นเท่านั้น

“Liquid Biopsy” ในประเทศไทย

ด้วยนวัตกรรมการแพทย์ในปัจจุบัน เทคโนโลยีการจัดเรียงลำดับพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต (DNA Sequencing) จะเข้ามาเป็นตัวช่วยให้ Liquid Biopsy มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต

ประการแรกคือ ทำให้การวินิจฉัยมะเร็งแม่นยำมากขึ้นว่า เป็นมะเร็งชนิดใด และอยู่ตำแหน่งไหนในร่างกาย และยังสามารถติดตามผลการรักษาว่าเป็นอย่างไรเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนแผนการรักษาได้อย่างทันท่วงที ตามอาการของผู้ป่วยระหว่างการรักษา ด้วยวิธีการทางเทคนิคคือ นำ ctDNA ที่อยู่ในเลือดมาจัดเรียง DNA และอาศัยการประมวลผลหลายๆ ครั้ง เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงการตรวจไม่พบหรือตรวจเจอผลลวง

โดยสำหรับประเทศไทยนั้น มีการใช้ Liquid Biopsy เพื่อประกอบการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งแล้ว เช่น ศูนย์จุฬายีนโปร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ใช้ตรวจหามะเร็งปอดที่เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมจากเลือดของผู้ป่วย รวมทั้งการตรวจการกลายพันธุ์ของยีนที่มีผลต่อการรักษา โดยการตรวจยีน Epidermal Growth Factor Receptor (EGFR) จากเลือดของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด ซึ่งหากป่วยเป็นมะเร็งปอดด้วยสาเหตุดังกล่าว การให้ยาแบบ Targeted Therapy จะได้ผลดีสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้มากกว่า

กล่าวคือ ผลข้างเคียงจะน้อยกว่าการทำเคมีบำบัด ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากกับผู้ป่วยในกรณีที่ชิ้นเนื้อมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการตรวจหรือผู้ป่วยอยู่ในสภาวะที่อ่อนแอและไม่สามารถตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจได้

สรุปก็คือ วิธีการตรวจหามะเร็งด้วย Liquid Biopsy กำลังพัฒนาเป็นนวัตกรรมสำคัญที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยให้เพิ่มโอกาสรอดชีวิตจากมะเร็งได้มากขึ้น

รวมทั้งช่วยติดตามผลการรักษาว่าเซลล์มะเร็งจะกลายพันธุ์ไปหรือไม่ เพื่อปรับเปลี่ยนแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และยังตัดข้อจำกัดการตรวจโรคหากผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่อ่อนแอจนไม่สามารถตัดชิ้นเนื้อมาตรวจได้ ซึ่งวงการแพทย์ของไทยในปัจจุบันถือได้ว่ามีเครื่องมือที่ทัดเทียมระดับโลก

นั่นหมายความว่าในความโชคร้ายที่เราอาจเป็นหนึ่งคนที่มีโอกาสป่วยเป็นโรคมะเร็ง ยังมีความโชคดีที่เทคโนโลยีการแพทย์ของไทยสามารถตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรกที่มีโอกาสหายเป็นปกติได้ง่าย

บทความโดย : ศิวกร ทองหล่อ AFPTTM Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

บทความล่าสุด

หุ้นกลุ่ม Healthcare ทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีหุ้นโลก

โพสต์เมื่อ 20 เมษายน 2567

ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่ม Healthcare กลับมาสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น จากแนวโน้มการเติบโตที่คาดว่าจะสูงกว่าตลาดโดยรวมในปีนี้ ในขณะที่ยังซื้อขายในระดับราคาที่ไม่แพงโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่มเทคโนโลยีที่เติบโตในระดับใกล้เคียงกัน ทำให้ปีนี้มีโอกาสสูงที่กลุ่ม Healthcare จะกลับมาทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีตลาดหุ้นโลก

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตสร้างกำไร ขายหุ้นสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น เบนเข็มลงทุน “หุ้น Asia ex Japan”

โพสต์เมื่อ 20 เมษายน 2567

ในปี 2024 เศรษฐกิจโลกภาพรวมเติบโตดีกว่าคาด โดยภูมิภาคที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดคือ ภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่จะเติบโตได้ดีในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว และยังเป็นปีแห่งโอกาส

อ่านต่อ >>

จับจังหวะทำกำไร กับขาขึ้นรอบใหม่ของตลาดหุ้น Asia

โพสต์เมื่อ 20 เมษายน 2567

ตลาดหุ้นเอเชีย (Asia ex Japan) ถือเป็นตลาดหุ้นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงไม่แพ้ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) โดยเฉพาะในฝั่งของภาคการผลิตที่บริษัทยักษ์ใหญ่จากภูมิภาคเอเชีย ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรมการผลิตของโลก

อ่านต่อ >>