5 เรื่องจริงที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับประกันสุขภาพ

file

ในปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ทำให้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินอย่างประกันสุขภาพกำลังกลายเป็นที่ต้องการมากขึ้น ซึ่งหากพิจารณาดูแล้วจะพบว่า ผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพนั้นมีเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจงและมีความแตกต่างกับแบบประกันประเภทอื่นๆ ที่มีอยู่ในท้องตลาด ทำให้หลายๆ คนที่เพิ่งเริ่มศึกษาหาข้อมูลเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเงื่อนไขบางประการของผลิตภัณฑ์ทางการเงินประเภทนี้ โดยประเด็นส่วนใหญ่ที่คนจะมักเข้าใจผิดนั้น ได้แก่

1. การตรวจสุขภาพ ไม่จำเป็นต้องแถลงข้อมูลตามจริง

ในการสมัครทำประกันสุขภาพ หากกรมธรรม์ระบุว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพ เรามักจะปกปิดประวัติการเจ็บป่วย หรือโรคที่เคยเป็นมาก่อน เพื่อหวังให้บริษัทประกันไม่ปฏิเสธในการทำประกัน แต่แท้ที่จริงแล้วเราควรจะแถลงประวัติการเจ็บป่วยตามความเป็นจริง เพราะบริษัทประกันทุกที่สามารถตรวจสอบข้อมูลการรักษาของเรากับทางโรงพยาบาลได้ และหากว่าบริษัทประกันตรวจพบในภายหลังว่า เรามีการปกปิดหรือให้ข้อมูลเท็จ บริษัทมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาได้ตามกฏหมาย

2. สามารถเบิกจ่ายค่ารักษากรณีผู้ป่วยนอกได้เต็มจำนวน

คนส่วนมากมักจะเข้าใจว่าสัญญาประกันสุขภาพจะสามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยนอก (OPD) ได้ทั้งหมด แต่ความเป็นจริงแล้วสัญญาประกันสุขภาพส่วนใหญ่จะมีวงเงินค่ารักษาพยาบาลในกรณีผู้ป่วยนอกที่จำกัด หรือบางกรมธรรม์อาจจะมีวงเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยนอกที่สูง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าเบี้ยประกันที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

3. เริ่มคุ้มครองทันที่ ณ วันที่ทำประกัน

อีกหนึ่งจุดที่หลายคนไม่ทราบคือ โดยทั่วไปสัญญาประกันสุขภาพจะมี “ระยะเวลารอคอย” หลังจากวันที่ทำประกัน โดยในระหว่างนี้หากเราเจ็บป่วยขึ้นมาจะไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ โดยส่วนใหญ่การเจ็บป่วยทั่วไปจะมีระยะเวลารอคอย 30 วัน แต่ในบางกรณีอาจมีระยะเวลารอคอยกว่า 90-120 วัน หากป่วยเป็นโรคร้ายแรงหรือโรคที่มีค่ารักษาพยาบาลสูง เช่น มะเร็ง ริดสีดวงทวาร นิ่วทุกชนิด หรือการผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นต้น

4. ทำครั้งเดียว สามารถต่ออายุกรมธรรม์ได้ทุกปี

สัญญาประกันสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาเพิ่มเติมที่พ่วงกับสัญญาประกันชีวิตหลัก หรือสัญญาที่ซื้อกับบริษัทประกันวินาศภัยโดยตรงล้วนแล้วแต่เป็นสัญญาแบบปีต่อปี หากว่าวันใดวันหนึ่งเราเกิดเจ็บป่วยหนัก ป่วยเรื้อรัง เคลมเยอะ เคลมบ่อย บริษัทประกันมีสิทธิที่จะพิจารณาไม่ต่ออายุกรมธรรม์ให้ในปีต่อๆ ไป (ทั้งนี้ในปัจจุบันเริ่มมีแบบประกันใหม่ๆ ที่ไม่ปฏิเสธการต่ออายุมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือก)

5. อัตราค่าเบี้ยประกันคงที่

บางคนอาจจะไม่ทราบว่าค่าเบี้ยประกันที่เราจ่ายมีโอกาสที่จะปรับเพิ่มขึ้นได้ทุกปี เนื่องจากในปัจจุบันค่ารักษาพยาบาลมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 8% ต่อปี เมื่อมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นจึงเป็นการบังคับให้บริษัทต้องปรับอัตราค่าเบี้ยประกันเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ช่วงอายุที่มากขึ้นยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ค่าเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลังเกษียณ เนื่องจากมีโอกาสในการเจ็บป่วยสูงขึ้นเป็นเท่าตัว ซึ่งตรงจุดนี้เองก่อนที่จะทำประกัน เราควรหาข้อมูลค่าเบี้ยช่วงหลังเกษียณไว้ด้วย เพื่อที่จะได้เตรียมเงินให้เพียงพอสำหรับค่าเบี้ยในยามเกษียณ

อ่านมาจนถึงตรงนี้เราคงจะพอทราบแล้วว่าเงื่อนไขของประกันสุขภาพที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร ดังนั้น ก่อนที่เราจะตัดสินใจทำประกันควรจะศึกษาหาข้อมูล ตรวจสอบเงื่อนไขและข้อยกเว้นต่างๆ ให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อน เพื่อที่เราจะได้แบบประกันที่เหมาะสมกับความต้องการของตัวเราเอง และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังอีกด้วย

 

===================================================

 

หากต้องการคำปรึกษาด้านการทำประกันที่เหมาะสมกับตัวเอง รวมถึงเลือกซื้อประกันตัวท็อปแบบไม่จำกัดค่าย สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่ธนาคารทิสโก้ทุกสาขา หรือหากท่านใดมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินของตนเอง สามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ prtisco@tisco.co.th ครับ 

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่ Invest in Health  Wealthy Thai 

บทความล่าสุด

หุ้นกลุ่ม Healthcare ทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีหุ้นโลก

โพสต์เมื่อ 23 เมษายน 2567

ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่ม Healthcare กลับมาสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น จากแนวโน้มการเติบโตที่คาดว่าจะสูงกว่าตลาดโดยรวมในปีนี้ ในขณะที่ยังซื้อขายในระดับราคาที่ไม่แพงโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่มเทคโนโลยีที่เติบโตในระดับใกล้เคียงกัน ทำให้ปีนี้มีโอกาสสูงที่กลุ่ม Healthcare จะกลับมาทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีตลาดหุ้นโลก

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตสร้างกำไร ขายหุ้นสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น เบนเข็มลงทุน “หุ้น Asia ex Japan”

โพสต์เมื่อ 23 เมษายน 2567

ในปี 2024 เศรษฐกิจโลกภาพรวมเติบโตดีกว่าคาด โดยภูมิภาคที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดคือ ภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่จะเติบโตได้ดีในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว และยังเป็นปีแห่งโอกาส

อ่านต่อ >>

จับจังหวะทำกำไร กับขาขึ้นรอบใหม่ของตลาดหุ้น Asia

โพสต์เมื่อ 23 เมษายน 2567

ตลาดหุ้นเอเชีย (Asia ex Japan) ถือเป็นตลาดหุ้นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงไม่แพ้ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) โดยเฉพาะในฝั่งของภาคการผลิตที่บริษัทยักษ์ใหญ่จากภูมิภาคเอเชีย ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรมการผลิตของโลก

อ่านต่อ >>