7 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อประกัน

file

เมื่อนึกถึง “ประกัน” หลายๆ คนมักจะนึกถึงการซื้อประกันเพื่อคุ้มครองเวลาเสียชีวิต แต่จริงๆ แล้วหน้าที่ของประกันมีแค่นั้นจริงหรือ? วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันว่า เราควรรู้อะไรบ้าง ก่อนการซื้อประกัน

ประกันนับเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่เน้นการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย และ ทรัพย์สิน อย่างแท้จริง รวมไปถึงยังเป็นเครื่องมือส่งต่อความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เรารักได้ด้วย แต่ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อประกัน เราจำเป็นต้องรู้อะไรบ้าง? บทความนี้จะมาแนะนำ 7 ข้อควรรู้ก่อนการซื้อประกัน ดังต่อไปนี้ครับ

จุดประสงค์ของการทำประกัน

ควรเลือกแบบประกันที่สอดคล้องกับความต้องการของเรา เช่น หากต้องการทำประกันเพื่อคุ้มครองหนี้สิน ควรเลือกทำประกันชนิดชั่วระยะเวลา (Terms) ที่เน้นความคุ้มครองในระยะสั้นถึงกลาง เช่น 5 ปี หรือ 10 ปี เป็นต้น โดยการเลือกแบบประกันที่เหมาะสม สามารถปรึกษาตัวแทนหรือนายหน้าประกันในสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือได้

เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์จากหลากหลายบริษัท

ปัจจุบันมีบริษัทประกันมากมายและนำเสนอผลิตภัณฑ์อย่างหลากหลาย ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจและเปรียบเทียบแบบประกันที่ต้องการจากบริษัทประกันหลายๆ แห่ง ก่อนตัดสินใจซื้อเพื่อให้ได้รับกรมธรรม์ที่คุ้มค่าและตอบโจทย์มากที่สุด

ทำความเข้าใจเงื่อนไขกรมธรรม์ให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจซื้อ

เนื่องจากประกันแต่ละแบบจะมีเงื่อนไขที่ต่างกัน ทั้งยังมีข้อกำหนดและข้อห้ามที่ไม่เหมือนกัน จึงควรอ่านข้อมูลให้ครบถ้วนโดยละเอียด มิเช่นนั้นอาจเสียสิทธิบางประการได้ หากไม่ทำตามเงื่อนไข เช่น ประกันสุขภาพจะมีระยะเวลารอคอย (Waiting period) หรือระยะเวลาที่ผู้ซื้อประกันจะไม่ได้รับความคุ้มครอง ไม่สามารถเคลมค่ารักษา หรือเรียกร้องเงินชดเชยได้เลย ซึ่งระเวลารอคอยมีตั้งแต่ 30 60 90 หรือ 120 วัน ตามที่แต่ละกรมธรรม์กำหนดไว้ เป็นต้น

ความคุ้มครองที่เพียงพอ

ก่อนทำประกันเราต้องประเมินว่า ความคุ้มครองที่เราต้องการนั้นมากน้อยขนาดไหน เพราะหากทำประกันมากเกินความจำเป็น อาจส่งผลให้การบริหารความเสี่ยงไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอและจ่ายเบี้ยมากโดยไม่จำเป็น แต่หากทำน้อยกว่าความจำเป็น ก็อาจจะนำไปสู่ความผิดพลาดในการป้องกันความเสี่ยงได้ เช่น ปัจจุบันมีภาระหนี้ที่ต้องรับผิดชอบมูลค่า 10 ล้านบาท แต่ทำประกันคุ้มครองชีวิตไว้เพียง 5 ล้านบาท เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันจากไปก่อนวัยอันควร จะทำให้ภาระหนี้ที่เหลือ 5 ล้านบาทตกไปเป็นภาระของครอบครัว ดังนั้น ความคุ้มครองที่เพียงพอจึงเป็นเรื่องจำเป็น

ความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน

ลักษณะการจ่ายเบี้ยประกันโดยทั่วไปส่วนใหญ่เป็นพันธะผูกพันมากกว่า 1 ปี จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องประเมินความสามารถในการจ่ายเบี้ยระยะยาวของตัวเราเองด้วย เพราะหากไม่สามารถจ่ายเบี้ยได้ครบตามกำหนด อาจทำให้เราเสียประโยชน์ที่ควรจะได้รับ ยกตัวอย่าง ประกันสะสมทรัพย์ 12.5 จ่ายเบี้ย 5 ปี คุ้มครอง 12 ปี แต่หากผู้ซื้อประกันสามารถจ่ายได้เพียง 1-2 ปีแรก ก็อาจทำให้ได้รับผลประโยชน์ไม่เต็มจำนวนหรือไม่ได้รับผลประโยชน์เลยในบางกรมธรรม์

ประกันสุขภาพสำคัญอย่างยิ่ง

ปกติแล้วเวลาพูดถึงประกัน คนส่วนใหญ่มักจะสนใจแต่ประกันชีวิต แต่หารู้ไม่ว่าในแต่ละปีค่ารักษาพยาบาลมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคร้ายแรง ที่อาจกลายเป็นความเสี่ยงกระทบต่อความมั่งคั่งของเราในอนาคตได้ ซึ่งการทำประกันสุขภาพเป็นวิธีช่วยปกป้องความเสี่ยงเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี

ประกันไม่ได้มีไว้แค่ลดหย่อนภาษี

อย่างที่ทราบกันว่าประกันเป็นตัวเลือกหนึ่งในการลดหย่อนภาษีที่หลายคนเลือกใช้ แต่เราก็ไม่ควรซื้อประกันแค่สิทธิประโยชน์ทางภาษีเท่านั้น เพราะหน้าที่หลักของประกันคือการป้องกันความเสี่ยง อีกทั้งยังสามารถวางแผนมรดกและวางแผนเพื่อการเกษียณได้ด้วย ดังนั้น เราจึงควรให้ความสำคัญในการวางแผนและบริหารการเงินให้ครอบคลุมในทุกๆ ด้าน เพื่อให้เราได้รับสิทธิประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

สุดท้ายนี้การวางแผนประกันเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของการวางแผนการเงิน เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจทำประกัน

==================================================

เผยแพร่ครั้งแรกในบทความ Invest in Health: Wealthy Thai

บทความล่าสุด

จับจังหวะทำกำไร กับขาขึ้นรอบใหม่ของตลาดหุ้น Asia

โพสต์เมื่อ 29 มีนาคม 2567

ตลาดหุ้นเอเชีย (Asia ex Japan) ถือเป็นตลาดหุ้นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงไม่แพ้ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) โดยเฉพาะในฝั่งของภาคการผลิตที่บริษัทยักษ์ใหญ่จากภูมิภาคเอเชีย ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรมการผลิตของโลก

อ่านต่อ >>

Asia ex Japan หุ้นไม่แพง โตแรงแซงเศรษฐกิจโลก

โพสต์เมื่อ 29 มีนาคม 2567

ท่ามกลางตลาดหุ้นหลักของโลก เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้น New High ต่อเนื่องจนมูลค่าเริ่มตึงตัว แต่หุ้นกลุ่มประเทศเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น ยังมีมูลค่าการซื้อขายยังอยู่ในระดับต่ำ และสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง

อ่านต่อ >>

ปีทองตลาดหุ้นเวียดนาม Country winner ปี 2024

โพสต์เมื่อ 29 มีนาคม 2567

เข้าสู่โค้งสุดท้ายของไตรมาส 1 ปี 2024 ตลาดหุ้นหลายแห่งทั้งสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น อินเดีย ยังเดินหน้าทำ New high อย่างต่อเนื่อง ทำให้การเข้าลงทุนในระดับราคาปัจจุบันเริ่มมีความเสี่ยง (Downside risk) ที่สูงขึ้นจาก Valuation ที่เริ่มตึงตัว

อ่านต่อ >>