เคลมคุ้มครบกับ 8 กลุ่มโรคร้าย

file

“เราทำงานหนักเพื่อเก็บออมเงินไว้ใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลให้หมอตอนแก่” เป็นประโยคที่หลายคนน่าจะเคยได้ยินมานาน ซึ่งสะท้อนชัดเจนถึงปัญหาที่คนไทยยังไม่สามารถบริหารจัดการกับความเสี่ยงของค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลได้อย่างดีพอ จนทำให้หลายคนต้องนำเงินที่เก็บสะสมมาเกือบทั้งชีวิตมาใช้กับการรักษาตัวในโรงพยาบาล แทนที่จะนำไปหาความสุขในด้านอื่นๆ 

โรคร้ายแรงเป็นแล้วค่าใช้จ่ายสูง

การเจ็บป่วยที่ใช้เงินจำนวนมากในการรักษาก็คงหนีไม่พ้นการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ซึ่งก็คือโรคใดๆ ก็ตาม ที่สร้างความเจ็บปวดทรมานกับร่างกายเราอย่างรุนแรงจนอาจถึงขั้นเสียชีวิต โดยทั่วไปแล้ว การรักษาโรคร้ายแรงต้องรักษาโดยแพทย์หรือใช้เครื่องมือเฉพาะทาง รวมถึงใช้ระยะเวลาในการรักษายาวนานและที่สำคัญมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง

ยกตัวอย่าง โรคยอดฮิตที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 1 อย่างโรคมะเร็งที่จะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาตั้งแต่ 300,000 - 1,000,000 บาท และหากกรณีที่ต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการรักษา เช่น การรักษาแบบพุ่งเป้า (Targeted Therapy) ก็อาจสูงถึง 10,000,000 บาท ก็เป็นได้ ในขณะที่โรคร้ายแรงที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 2 และ 3 อย่างโรคหลอดเลือดในสมองและโรคหัวใจนั้น ก็มีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงตั้งแต่ 500,000 - 20,000,000 บาทเช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อน นับว่าเป็นตัวเลขที่สูงมากเมื่อเทียบกับระดับรายได้ของคนทั่วไป

นอกจากค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคในโรงพยาบาลที่สูงมากแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอีกกลุ่มหนึ่งที่หลายคนมักคาดไม่ถึง นั่นก็คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยกลับมาพักรักษาตัวที่บ้าน รวมถึงค่าเสียโอกาสต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการที่เราเป็นโรคร้ายแรง เช่น หากเป็นโรคอย่างหลอดเลือดสมองแตก ตีบ หรือ ตัน หลังจากการรักษาตัวที่โรงพยาบาลแล้ว ผู้ป่วยมักจะต้องเข้ารับการทำเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัด (Stroke Rehab) ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายมากถึงเดือนละ 96,000 - 240,000 บาทเลยทีเดียว

ยังไม่รวมถึงค่าจ้างพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญในการดูแล ค่านัดพบแพทย์ ค่ายา ค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปพบแพทย์เพื่อติดตามอาการ รวมกันเฉลี่ยอีกประมาณเดือนละ 40,000 บาท ยิ่งถ้าหากโรคร้ายแรงนั้นกินระยะเวลาในการฟื้นตัวนานราว 5 - 10 ปี ก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 10,000,000 บาทได้ นอกจากนี้ หากเราเป็นโรคร้ายแล้วไม่สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ ต้องพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านเป็นเวลานานก็ทำให้เราขาดรายได้จากการทำงานอีกด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้เราสามารถโอนความเสี่ยงไปที่บริษัทประกันได้ การทำประกันโรคร้ายแรงจึงเป็นคำตอบที่จะเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระได้

ประกันโรคร้ายแรง คุ้มครอง 108 โรค

ในอดีต เราจะคุ้นชินการทำประกันโรคร้ายแรงที่คุ้มครองประมาณ 40 โรค และที่ผ่านมามักจะจ่ายผลประโยชน์ให้เราเฉพาะระยะรุนแรงโรคใดโรคหนึ่งและหลังจากนั้นสัญญาประกันโรคร้ายแรงนั้นจะจบลงทันที แต่ปัจจุบันการทำประกันประกันโรคร้ายแรงในตลาดได้พัฒนาคุณภาพและเป็นแบบประกันที่ให้ความคุ้มครองที่คุ้มค่ามากขึ้น โดยคุ้มครองโรคร้ายเพิ่มมากขึ้นถึง 108 โรค แบ่งอาการเป็น 8 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มโรคมะเร็งและเนื้องอก กลุ่มโรคเกี่ยวกับหัวใจ หลอดเลือดและระบบประสาท กลุ่มโรคเกี่ยวกับอวัยวะและระบบการทำงานที่สำคัญ กลุ่มภาวะติดเชื้อบาดเจ็บร้ายแรง กลุ่มโรคร้ายแรงอื่นๆ กลุ่มโรคในเด็ก กลุ่มโรคในผู้สูงอายุ (โรคกระดูกพรุน และอัลไซเมอร์) และกลุ่มโรคภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

 ทั้งนี้ ยังได้แบ่งจ่ายผลประโยชน์ตามความรุนแรงของโรคร้ายแรงอีกด้วย โดยแบ่งเป็นระยะเริ่มต้น ระยะปานกลาง และระยะรุนแรง ทำให้ตรงกับความต้องการของหลายคนที่อยากได้ประกันคุ้มครองหลายกลุ่มโรคและได้เงินก้อนทันทีตั้งแต่ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรงในระยะเริ่มต้นหรือระยะปานกลาง ซึ่งเป็นระยะที่เรามีโอกาสรักษาให้หายขาดได้มากกว่าและมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการป่วยในระยะรุนแรง สำหรับการเลือกประกันคุ้มครองโรคร้ายแรงที่ดีนั้น เราควรเน้นแบบที่ให้ความคุ้มครองกลุ่มโรคร้ายแรงมากที่สุดและจ่ายผลประโยชน์สูงสุดเมื่อเราเป็นระยะเริ่มต้น

จากการสำรวจแบบประกันที่มีในตลาดตอนนี้ พบว่า มีแบบประกันให้เราเลือกที่จ่ายผลประโยชน์สูงสุดเป็นเงินก้อนทันทีสูงถึง 30% ของจำนวนเงินเอาประกันตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จ่าย 50% เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรงในระยะปานกลางและจ่าย 100% ในระยะรุนแรง นอกจากนั้น หากเราใช้สิทธิเคลมกลุ่มโรคหนึ่งไปแล้ว เราก็ยังสามารถมีสิทธิเคลมกลุ่มโรคร้ายแรงอื่นๆ ได้ครอบคลุมรวมสูงสุดถึง 8 กลุ่มโรคร้ายแรง โดยไม่มีระยะเวลารอคอย

ยกตัวอย่างเช่น หากเราทำประกันโรคร้ายแรงที่ทุนประกัน 5 ล้านบาท เมื่อตรวจพบมะเร็งลำไส้ระยะเริ่มต้น บริษัทประกันจะจ่ายผลประโยชน์ให้ทันที 30% ของจำนวนเงินเอาประกันหรือคิดเป็นเงิน 1.5 ล้านบาท ในอีก 1 เดือนถัดมา หากตรวจพบโรคตับแข็งระยะปานกลางก็จะได้รับผลประโยชน์อีก 50% ของจำนวนเงินเอาประกันหรือคิดเป็นเงิน 2.5 ล้านบาท หลังจากนั้นอีก 1 ปี พบว่าเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบระยะรุนแรง ก็จะได้รับผลประโยชน์อีก 100% ของจำนวนเงินเอาประกันหรือคิดเป็นเงิน 5 ล้านบาท นอกจากนี้ การต่ออายุการรับประกันก็เป็นสิ่งที่ควรพิจารณา หากเราเลือกแบบประกันที่สามารถต่ออายุการรับประกันได้ยาวนานถึง 99 ปี ยิ่งทำให้เรามั่นใจได้ว่า เมื่อเรามีอายุมากขึ้น มีความเสี่ยงจากการเป็นโรคร้ายแรงที่สูงขึ้น เราก็ยังได้รับความคุ้มครองอยู่

มีประกันสุขภาพแล้ว จำเป็นต้องมีประกันโรคร้ายแรงไหม ?

สำหรับคนที่มีกรมธรรม์ประสุขภาพอยู่แล้ว แบบประกันโรคร้ายแรงก็ยังมีความจำเป็นกับเราเช่นเดียวกัน เนื่องจาก เราจะได้รับผลประโยชน์ที่เป็นเงินก้อนในยามที่เป็นโรคร้ายแรง โดยเฉพาะหากเราไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตหรือทำงานได้ปกติ ขาดรายได้และต้องจ้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญมาดูแลหลังการรักษา การทำประกันโรคร้ายแรงก็เสมือนเป็นการการันตีได้ว่าเราจะมีเงินก้อนเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายเหล่านั้น การทำประกันโรคร้ายแรงควบคู่กับประกันสุขภาพจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการปิดความเสี่ยงด้านค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเป็นโรคร้ายแรง

 

=============================================

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่ I wish you wealth  โพสต์ทูเดย์

บทความล่าสุด

หุ้นกลุ่ม Healthcare ทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีหุ้นโลก

โพสต์เมื่อ 19 เมษายน 2567

ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่ม Healthcare กลับมาสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น จากแนวโน้มการเติบโตที่คาดว่าจะสูงกว่าตลาดโดยรวมในปีนี้ ในขณะที่ยังซื้อขายในระดับราคาที่ไม่แพงโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่มเทคโนโลยีที่เติบโตในระดับใกล้เคียงกัน ทำให้ปีนี้มีโอกาสสูงที่กลุ่ม Healthcare จะกลับมาทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีตลาดหุ้นโลก

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตสร้างกำไร ขายหุ้นสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น เบนเข็มลงทุน “หุ้น Asia ex Japan”

โพสต์เมื่อ 19 เมษายน 2567

ในปี 2024 เศรษฐกิจโลกภาพรวมเติบโตดีกว่าคาด โดยภูมิภาคที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดคือ ภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่จะเติบโตได้ดีในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว และยังเป็นปีแห่งโอกาส

อ่านต่อ >>

จับจังหวะทำกำไร กับขาขึ้นรอบใหม่ของตลาดหุ้น Asia

โพสต์เมื่อ 19 เมษายน 2567

ตลาดหุ้นเอเชีย (Asia ex Japan) ถือเป็นตลาดหุ้นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงไม่แพ้ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) โดยเฉพาะในฝั่งของภาคการผลิตที่บริษัทยักษ์ใหญ่จากภูมิภาคเอเชีย ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรมการผลิตของโลก

อ่านต่อ >>