สร้างเกราะป้องกันความมั่งคั่ง ด้วยประกันโรคร้ายแรง

file

เป็นที่น่าตกใจว่า สถิติการเสียชีวิตของคนไทย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเจ็บป่วยด้วย 5 กลุ่มโรคร้ายแรง ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มโรคมะเร็ง หัวใจ ปอด หลอดเลือดในสมอง และเบาหวาน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์ รวมถึงรูปแบบการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน ก็ทำให้เรามีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยด้วยกลุ่มโรคดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นค่ารักษาพยาบาลสำหรับโรคร้ายแรงเหล่านี้ก็เพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วยเช่นกัน ฉะนั้นการเตรียมความพร้อมด้วยผลิตภัณฑ์ “ประกันโรคร้ายแรง” จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและช่วยให้เราได้รับบริการทางการแพทย์ที่ดีและทันสมัย

จากสถิติการเสียชีวิต ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB) พบว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2541 - 2562 อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งและเนื้องอกทุกชนิดของคนไทยเป็นสาเหตุอันดับ 1 โดยในปี พ.ศ. 2541 โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย 48.7 คน ต่อประชากร 100,000 คน และเพิ่มขึ้นเป็น 128.2 คน หรือเกือบ 3 เท่าตัว ในปี พ.ศ. 2562 เช่นเดียวกับกลุ่มโรคร้ายแรงอื่นๆ ที่อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยอัตราการเสียชีวิตของคนไทยจากกลุ่มโรคปอดเพิ่มขึ้นจาก 9.0 คน เป็น 53.3 คน นอกจากนี้จำนวนคนที่เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดในสมองและเบาหวานก็เพิ่มขึ้นเช่นกันจาก 7.0 คน และ 7.9 คน ในปี พ.ศ. 2541 เป็น 53.0 คน และ 25.3 คน ในปีพ.ศ.2562 ตามลำดับ ต่อประชากร 100,000 คน ดังแสดงในแผนภาพที่ 1

แผนภาพที่ 1: แผนภาพแสดงอัตราการเสียชีวิตของคนไทย (พ.ศ. 2541 - 2562) จากการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงต่อประชากร 100,000 คน

file

ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB)

จากแผนภาพที่ 1 จะเห็นได้ว่ามีเพียงโรคหัวใจเท่านั้นที่อัตราการเสียชีวิตของคนไทยลดลงในช่วง พ.ศ. 2537 - 2560 ฉะนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า แนวโน้มการเสียชีวิตของคนไทย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายร้ายมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว นอกจากนั้นเมื่อเรามาดูค่ารักษาพยาบาลในกลุ่มโรคต่างๆ ข้างต้น พบว่าค่ารักษาพยาบาลอยู่ในระดับที่สูงมากในทุกกลุ่มโรค ซึ่งค่าบริการรักษาพยาบาลมักขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลที่เราเข้ารับการรักษา ตลอดจนเทคโนโลยีหรือวิธีการรักษาในรูปแบบต่างๆ รวมถึงระยะของการอาการป่วยที่เราเป็น อาทิ การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนจะมีค่ารักษาที่สูงกว่าโรงพยาบาลรัฐบาล ดังแสดงในแผนภาพที่ 2

แผนภาพที่ 2: ตารางแสดงการเปรียบเทียบตัวอย่างค่ารักษาพยาบาลสำหรับโรคร้ายแรงระหว่างโรงพยาบาลรัฐฯ และโรงพยาบาลเอกชน

file

ที่มา: Posttoday, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.), Gettogo, AIA Manage Care รพ.บำรุงราษฎร์, Ccit.go.th, Bangkok Hospital

จากแผนภาพที่ 2 จะเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจากโรคร้ายแรงอยู่ในระดับที่สูงมาก ยิ่งไปกว่านั้นค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำสูงกว่าค่ารักษาของโรงพยาบาลของรัฐฯ อย่างมากเช่นกัน อาทิ ค่าผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจในโรงพยาบาลรัฐฯ มีค่าใช้จ่ายราว 126,000 - 293,000 บาท แต่หากเราต้องการรับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ เราต้องจ่ายค่ารักษาราว 750,000 - 950,000 บาท ซึ่งสูงกว่าค่ารักษาจากโรงพยาบาลของรัฐฯ ถึง 3 - 6 เท่าเลยทีเดียว

จากแนวโน้มอัตราการเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงจะเพิ่มสูงขึ้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บวกกับค่ารักษาพยาบาลสำหรับโรคร้ายแรงเหล่านี้ยังอยู่ในระดับที่สูงมากอีกด้วย สำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาพยาบาลไม่ว่าจะเป็นที่โรงพยาบาลรัฐฯ หรือเอกชน ก็จำเป็นที่จะต้องเตรียม “เงินก้อน” ไว้เป็นค่ารักษาพยาบาล หรือไว้รองรับค่าใช้จ่ายในครอบครัว กรณีที่ไม่สามารถหารายได้ได้

ยิ่งไปกว่านั้นหากเราต้องการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากมักได้รับบริการที่ดี และมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าโรงพยาบาลรัฐฯ เป็นเท่าตัว ทำให้การทำ “ประกันโรคร้ายแรง” สามารถตอบโจทย์ทุกท่านได้ เนื่องจากประกันโรคร้ายแรงมักจะมีระดับค่าเบี้ยประกันที่ไม่สูงนัก แต่กลับได้วงเงินความคุ้มครองในระดับที่สูงและอาจเพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝันอีกด้วย

เผยแพร่ครั้งแรกในบทความ Health is Wealth กรุงเทพธุรกิจ

บทความล่าสุด

จับจังหวะทำกำไร กับขาขึ้นรอบใหม่ของตลาดหุ้น Asia

โพสต์เมื่อ 29 มีนาคม 2567

ตลาดหุ้นเอเชีย (Asia ex Japan) ถือเป็นตลาดหุ้นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงไม่แพ้ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) โดยเฉพาะในฝั่งของภาคการผลิตที่บริษัทยักษ์ใหญ่จากภูมิภาคเอเชีย ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรมการผลิตของโลก

อ่านต่อ >>

Asia ex Japan หุ้นไม่แพง โตแรงแซงเศรษฐกิจโลก

โพสต์เมื่อ 29 มีนาคม 2567

ท่ามกลางตลาดหุ้นหลักของโลก เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้น New High ต่อเนื่องจนมูลค่าเริ่มตึงตัว แต่หุ้นกลุ่มประเทศเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น ยังมีมูลค่าการซื้อขายยังอยู่ในระดับต่ำ และสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง

อ่านต่อ >>

ปีทองตลาดหุ้นเวียดนาม Country winner ปี 2024

โพสต์เมื่อ 29 มีนาคม 2567

เข้าสู่โค้งสุดท้ายของไตรมาส 1 ปี 2024 ตลาดหุ้นหลายแห่งทั้งสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น อินเดีย ยังเดินหน้าทำ New high อย่างต่อเนื่อง ทำให้การเข้าลงทุนในระดับราคาปัจจุบันเริ่มมีความเสี่ยง (Downside risk) ที่สูงขึ้นจาก Valuation ที่เริ่มตึงตัว

อ่านต่อ >>