เบาหวาน รักษาไม่หาย แต่ควบคุมได้ทั้งอาการและค่าใช้จ่าย

file

โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่รุนแรงที่สุดในโลกและมีอัตราผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปีจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตโดยเฉพาะพฤติกรรมการกิน และที่สำคัญคือ ผู้ป่วยเบาหวานทุก 1 ใน 11 คน ไม่รู้ตัวว่ากำลังเผชิญกับโรคนี้อยู่

โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนในการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin Hormone) ซึ่งอินซูลินทำหน้าที่นำน้ำตาลกลูโคสจากเลือดเข้าไปสู่เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย เช่น สมอง ตับ ไต และหัวใจ เพื่อให้เซลล์เหล่านั้นนำกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานในการทำงาน หากกระบวนการสร้างฮอร์โมนอินซูลินทำงานผิดปกติจะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และกลายเป็นโรคเบาหวาน

เบาหวานรักษาไม่หาย มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน

โรคเบาหวานมักพบในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 60 - 79 ปี อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานพบว่า ในช่วงหลายปีมานี้ กลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานมีอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานมากขึ้น และมีการคาดการณ์จากสหพันธ์เบาหวานนานาชาติว่าในอนาคต ร้อยละ 70 ของคนไทยวัยผู้ใหญ่จำนวน 7.5 ล้านคนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในปัจจุบัน (ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ยังต่ำกว่าระดับของภาวะเบาหวาน) และมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานในอนาคต โดยคาดว่าปี พ.ศ.2583 ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยเบาหวานสูงถึง 5.3 ล้านคน ความน่ากลัวของโรคเบาหวาน คือ ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ และมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้สูงมาก

โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีการดำเนินโรคไปอย่างช้าๆ และต่อเนื่อง การรักษาโรคเบาหวานมุ่งเน้นไปที่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ประกอบกับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และการใช้ยาลดระดับน้ำตาล และอาจมีการใช้อินซูลินเมื่อใช้ยารับประทานไม่ได้ผล

วิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีอัตราการดำรงชีพที่ยาวนานขึ้นกว่าในอดีต แต่หากเป็นตั้งแต่อายุยังน้อยก็นับว่าเป็นภาระที่สูงมากทั้งในด้านการดูแลสุขภาพและค่าใช้จ่าย เช่น หากพบว่าเป็นโรคเบาหวานตั้งแต่อายุ 35 ปี และมีชีวิตจนถึงอายุ 80 ปี นั่นหมายความว่า ผู้ป่วยจะต้องใช้ชีวิตอยู่กับโรคนี้ถึง 45 ปี ซึ่งนั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายที่ตามมาในการดูแลควบคุมโรคเบาหวาน และการรักษาโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดตามมา

เบาหวานค่ารักษาไม่สูง แต่รักษาโรคแทรกซ้อนอาจแพง

ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคเบาหวานนั้น อาจไม่สูงมากนัก แต่ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ต่างหากที่สูงมาก โดยร้อยละ 49 ของค่าใช้จ่ายตรงในการรักษาโรคเบาหวานเกิดจากค่ารักษาในโรงพยาบาล หรือจากการรักษาภาวะแทรกซ้อน ในขณะที่ค่าใช้จ่ายจากยาเพื่อรักษาโรคเบาหวานคิดเป็นร้อยละ 14 เท่านั้น  ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมดูแลร่างกายไม่ดีเพียงพอมีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนสูงมาก ตั้งแต่ภาวะแทรกซ้อนทางตา ภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือด ภาวะแทรกซ้อนทางไต และความเสี่ยงต่อภาวะทุพพลภาพจากแผลเบาหวานที่เท้า ซึ่งอาจทำให้ถูกตัดขาหรือเท้า

โรคแทรกซ้อนหนึ่งที่น่ากลัวสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานคือ โรคไตเรื้อรัง ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาลโรคไตสูงมาก เช่น การล้างไต มีค่าใช้จ่ายขั้นต่ำเฉลี่ยครั้งละประมาณ 2,000 บาท และผู้ป่วยต้องรับการฟอกไตสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งต่อเนื่องไปตลอดชีวิต และยิ่งผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะโรคแทรกซ้อนมากขึ้นเท่าใด ภาระค่าใช้จ่ายยิ่งตามมาเป็นหลายเท่าตัว โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน 3 โรคขึ้นไป มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าผู้ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนถึง 18.5 เท่า

การดูแลควบคุมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องอาศัยคำแนะนำทางการแพทย์และวินัยของผู้ป่วยเอง แต่การควบคุมภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจำเป็นต้องใช้ระบบประกันสุขภาพเข้าช่วย ซึ่งบริษัทประกันจะไม่รับประกันหากพบว่าผู้ต้องการทำประกันมีภาวะป่วยอยู่แล้ว และคนส่วนใหญ่มักเห็นความสำคัญของประกันสุขภาพในวันที่ต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ไปกับการรักษาพยาบาลแล้ว บางคนอาจถึงขั้นหมดตัวเลยทีเดียว ดังนั้น ในวันที่สุขภาพยังสมบูรณ์แข็งแรงต่างหากที่ควรจะเริ่มทำประกันสุขภาพ

ประกันชีวิตการันตีต่ออายุอุ่นใจได้แม้เจอโรคร้าย

ประกันสุขภาพที่ดีไม่เพียงแต่จะต้องคุ้มครองทั่วถึง แต่จะต้องรับรองหรือการันตีการต่ออายุความคุ้มครองด้วย เพื่อที่เมื่อวันที่สุขภาพของเราไม่แข็งแรงดังเดิม หรือเมื่อวันที่โรคต่างๆ มาเยือน เราจะยังได้รับการดูแลอยู่ ซึ่งการรับรองการต่ออายุไม่ได้หมายถึงการทำประกันสุขภาพพ่วงประกันชีวิตแล้วจะได้รับการต่ออายุเสมอไป เพราะบริษัทประกันชีวิตสามารถปฏิเสธการต่ออายุประกันสุขภาพที่ทำพ่วงกับประกันชีวิตไว้ได้เหมือนกับการทำประกันสุขภาพทั่วไป หากบริษัทประกันพิจารณาแล้วเห็นว่าการรับคุ้มครองประกันสุขภาพต่อไปจะไม่คุ้มต่อค่าเบี้ยประกันที่ได้รับ ดังจะเห็นได้จากกรณีร้องเรียนบริษัทประกันชีวิตที่ออกมาเป็นระยะ ยิ่งไปกว่านั้นการทำประกันสุขภาพพ่วงประกันชีวิตมักมีค่าเบี้ยที่สูงกว่าการทำประกันสุขภาพอย่างเดียว

การทำประกันสุขภาพกับบริษัทที่รับรองการต่ออายุความคุ้มครองต่างหากที่จะตอบโจทย์ความต้องการได้ตรงจุดและยังอุ่นใจได้ว่า เมื่อถึงวันที่อายุเริ่มมากขึ้น หรือวันที่ต้องเผชิญกับโรคร้าย เช่น โรคเบาหวาน หรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เราจะยังสามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพื่อประคองร่างกายและต่อชีวิตให้อยู่ได้โดยไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่ว

แผนภาพที่ 1: ค่ากลางของค่าใช้จ่ายสำหรับโรคเบาหวานต่อผู้ป่วยหนึ่งรายในแต่ละปี

file

ที่มา: Novo Nordisk

==================================================

เผยแพร่ครั้งแรกในบทความ Health is Wealth กรุงเทพธุรกิจ

บทความล่าสุด

หุ้นกลุ่ม Healthcare ทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีหุ้นโลก

โพสต์เมื่อ 19 เมษายน 2567

ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่ม Healthcare กลับมาสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น จากแนวโน้มการเติบโตที่คาดว่าจะสูงกว่าตลาดโดยรวมในปีนี้ ในขณะที่ยังซื้อขายในระดับราคาที่ไม่แพงโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่มเทคโนโลยีที่เติบโตในระดับใกล้เคียงกัน ทำให้ปีนี้มีโอกาสสูงที่กลุ่ม Healthcare จะกลับมาทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีตลาดหุ้นโลก

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตสร้างกำไร ขายหุ้นสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น เบนเข็มลงทุน “หุ้น Asia ex Japan”

โพสต์เมื่อ 19 เมษายน 2567

ในปี 2024 เศรษฐกิจโลกภาพรวมเติบโตดีกว่าคาด โดยภูมิภาคที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดคือ ภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่จะเติบโตได้ดีในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว และยังเป็นปีแห่งโอกาส

อ่านต่อ >>

จับจังหวะทำกำไร กับขาขึ้นรอบใหม่ของตลาดหุ้น Asia

โพสต์เมื่อ 19 เมษายน 2567

ตลาดหุ้นเอเชีย (Asia ex Japan) ถือเป็นตลาดหุ้นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงไม่แพ้ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) โดยเฉพาะในฝั่งของภาคการผลิตที่บริษัทยักษ์ใหญ่จากภูมิภาคเอเชีย ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรมการผลิตของโลก

อ่านต่อ >>