ประกันสุขภาพ อีกไอเท็มสู้ PM2.5 ที่ยังไม่จางหาย

file

 

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา คงไม่มีใครไม่รู้จักฝุ่นพิษ PM2.5 เพราะเจ้าฝุ่นนี้แพร่กระจายอยู่ในอากาศที่เราหายใจและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ใครจะคิดว่าวันหนึ่งเราต้องใส่หน้ากากอนามัยเดินบนท้องถนนจนกลายเป็นเรื่องปกติเหมือนในหนังที่เราเคยดู

ฝุ่นละออง PM2.5 เป็นฝุ่นละอองขนาดจิ๋วที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยน้อยกว่า 2.5 ไมโครเมตร ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า องค์การอนามัยโลกชี้ว่าเจ้าฝุ่น PM2.5 นี้ เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก เนื่องจากขนาดที่เล็กกว่าเส้นผมถึง 20 เท่า ทำให้ฝุ่นพิษนี้สามารถเล็ดลอดผ่านขนจมูกเข้าสู่ปอดและหลอดเลือดได้ง่าย สามารถกระจายตัวแทรกซึมไปทั่วร่างกายของเราและส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว อาจทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองได้แม้จะไม่ได้สูบบุหรี่ และเพิ่มโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งปอด โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง และโรคหัวใจขาดเลือด

สาเหตุของฝุ่นละอองเหล่านี้เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น กิจกรรมการก่อสร้างโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ที่ตอนนี้เรียกได้ว่าสร้างกันทั่วเมืองโดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ควันท่อไอเสียจากรถยนต์ และการเผาป่า โดยจากข้อมูลล่าสุดค่า PM2.5 เฉลี่ยในปี 2563 หลายจุดในไทยพุ่งขึ้นไปเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาคเอชียตะวันออกเฉียงใต้ และในเดือน มีนาคม 2563 อ.เฉียงแสน จ.เชียงราย มีค่าฝุ่นพุ่งขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 204 AQI (Air Quality Index) สูงที่สุดในไทย จากแถบเตือนภัยสีแดงที่ชาวกรุงเทพฯเคยตื่นตระหนก ชาวเชียงรายต้องเผชิญกับค่าฝุ่นแถบสีม่วงกันเลยทีเดียว และหากกิจกรรมต่างๆ ยังคงดำเนินอยู่ เชื่อว่าเจ้าฝุ่น PM2.5 น่าจะยังวนเวียนอยู่กับเราไปอีกนาน ขึ้นอยู่กับว่าช่วงไหนค่าฝุ่นในแต่ละบริเวณจะเข้มข้นสูงมากจนได้รับความสนใจเท่านั้นเอง

วิธีการป้องกันผลกระทบจากฝุ่นละอองที่เราใช้ในช่วงที่ผ่านมา เช่น การหลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยง การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้เครื่องฟอกอากาศ จนทำให้หน้ากากอนามัยและเครื่องฟอกอากาศกลายเป็นสินค้ายอดฮิตในช่วงที่ผ่านมา เรียกว่าแย่งกันสั่งจองจนผลิตไม่ทัน ในขณะที่ไอเท็มอีกอย่างที่จำเป็นจะต้องมีแต่ถูกละเลยไป คือ ประกันสุขภาพ

ฝุ่นเยอะ มีประกันสุขภาพอุ่นใจกว่า

ประกันสุขภาพ อาจไม่ใช่วิธีการป้องกันฝุ่นละอองเหล่านี้ แต่หากเจ้าฝุ่นนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพขึ้นมา ประกันสุขภาพจะมีความสำคัญทันที ซึ่งหากมองว่าฝุ่น PM2.5 จะยังคงอยู่กับเราไปเรื่อยๆ โอกาสที่จะส่งผลต่อสุขภาพของเราก็จะสูงมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า  มีประชากรโลกเสียชีวิตเพราะมลพิษทางอากาศเฉลี่ย 6.5-7 ล้านคนต่อปี ซึ่งในประเทศไทยเองกระทรวงสุขมีรายงานสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยในปี 2562 ด้วยโรคของระบบทางเดินหายใจจำนวน 48,070 คน นอกจากนี้การสูดเอาค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เกินมาตรฐานเข้าไปอาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคร้าย เช่น มะเร็งปอด โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดในสมอง

ประกันสุขภาพจะเข้ามามีบทบาทการคุ้มครองในกรณีที่ฝุ่น PM2.5 เป็นสาเหตุทำให้เราเจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆ แต่จะไม่คุ้มครองผู้ป่วยที่เป็นโรคม่าก่อนทำประกันสุขภาพ เช่น ถ้าเราเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจมาก่อน แล้วถูกกระตุ้นโดยฝุ่น PM2.5 ทำให้อาการกำเริบ กรณีนี้เราอาจไม่ได้รับการคุ้มครอง

ผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าประกันสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บ หรือปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้เราป่วยเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลาพร้อมๆ กับค่ารักษาที่แพงขึ้นเช่นกัน จะดีกว่าไหมถ้าเราจะทำประกันสุขภาพในช่วงเวลาที่ยังทำได้ ก่อนที่เราจะเจ็บป่วยและไม่ได้รับการคุ้มครองจากบริษัทประกันอีกต่อไป ซึ่งในปัจจุบันประกันสุขภาพมีทั้งแบบเหมาจ่ายคุ้มครองทุกโรคและแบบคุ้มครองเฉพาะโรคร้ายแรง โดยขอบเขตในการคุ้มครองจะแตกต่างกันออกไป ดังนั้น แนะนำให้ศึกษาเงื่อนไขของประกันสุขภาพแต่ละแบบให้ตรงกับความต้องการก่อนจะตัดสินใจทำประกัน

 

===========================================

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่  Health is Wealth  กรุงเทพธุรกิจ

บทความล่าสุด

จับจังหวะทำกำไร กับขาขึ้นรอบใหม่ของตลาดหุ้น Asia

โพสต์เมื่อ 29 มีนาคม 2567

ตลาดหุ้นเอเชีย (Asia ex Japan) ถือเป็นตลาดหุ้นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงไม่แพ้ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) โดยเฉพาะในฝั่งของภาคการผลิตที่บริษัทยักษ์ใหญ่จากภูมิภาคเอเชีย ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรมการผลิตของโลก

อ่านต่อ >>

Asia ex Japan หุ้นไม่แพง โตแรงแซงเศรษฐกิจโลก

โพสต์เมื่อ 29 มีนาคม 2567

ท่ามกลางตลาดหุ้นหลักของโลก เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้น New High ต่อเนื่องจนมูลค่าเริ่มตึงตัว แต่หุ้นกลุ่มประเทศเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น ยังมีมูลค่าการซื้อขายยังอยู่ในระดับต่ำ และสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง

อ่านต่อ >>

ปีทองตลาดหุ้นเวียดนาม Country winner ปี 2024

โพสต์เมื่อ 29 มีนาคม 2567

เข้าสู่โค้งสุดท้ายของไตรมาส 1 ปี 2024 ตลาดหุ้นหลายแห่งทั้งสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น อินเดีย ยังเดินหน้าทำ New high อย่างต่อเนื่อง ทำให้การเข้าลงทุนในระดับราคาปัจจุบันเริ่มมีความเสี่ยง (Downside risk) ที่สูงขึ้นจาก Valuation ที่เริ่มตึงตัว

อ่านต่อ >>