ประกันที่ใช่...ประกันในแบบของคุณ

file

หากกล่าวถึงประกัน สิ่งแรกๆ ที่หลายท่านมักนึกถึง เชื่อว่าคงเป็นเรื่องการเสนอขายประกัน จนทำให้เกิดอาการไม่อยากจะรับสายโทรศัพท์ หรือสนทนาด้วย….ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?

เหตุผลแต่ละคนอาจต่างกันไป เช่น ไม่เห็นถึงความจำเป็นในการทำประกัน ไม่เข้าใจในแบบประกันที่ถูกเสนอขาย แบบประกันที่เสนอไม่มีความคุ้มครองที่ตรงกับความต้องการ หรือหากจะทำประกันก็ยุ่งยากในการตรวจสุขภาพ หรืออาจมีเยอะแล้ว

จะเห็นได้ว่ามีเหตุผลมากมายที่ทำให้เราปฏิเสธการทำประกัน ซึ่งอันที่จริงแล้วเราอาจต้องการประกันในยามที่เราไม่สามารถทำได้แล้ว เพราะเราอาจเป็นโรคบางโรค หรืออายุที่มากขึ้นทำให้เบี้ยแพงขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก

      ในบทความนี้ อยากให้ทุกท่านลองสำรวจตัวเองว่าได้ปิดความเสี่ยงด้านการเงินด้วยการใช้แบบประกันได้ครบถ้วนแล้วหรือยัง ผมอยากจะเสนอแบบประกันที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ โดยคำนึงถึงหลักการวางแผนทางการเงินรวมไปถึงความจำเป็น และความสามารถในการจ่ายเบี้ยของแต่ละช่วงอายุ โดยจะแบ่งเป็น 5 ช่วงอายุด้วยกัน ดังนี้

(0-25 ปี) ประกันสุขภาพ / ประกันอุบัติเหตุ

ในวัยเด็กเป็นช่วงที่ถือว่ามีปัญหาสุขภาพค่อนข้างมาก รวมไปถึงการใช้ชีวิตที่โลดโผน จึงมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยได้ง่าย จึงจำเป็นต้องมีประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุมาป้องกันความเสี่ยงในส่วนนี้

(26-30 ปี) ประกันโรคร้ายแรง / ประกันอุบัติเหตุ / ประกันสุขภาพ

แม้ในวัยนี้จะเป็นช่วงวัยที่เริ่มต้นของการทำงานที่มีรายได้พอประมาณและยังมีสุขภาพที่ดี แต่เราก็ควรที่จะทำประกันสุขภาพเผื่อไว้ในกรณีที่เกิดการเจ็บป่วยร้ายแรงกะทันหัน จนทำให้ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาในส่วนนี้มีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ซึ่งอาจทำให้เราเกิดปัญหาทางการเงินถึงขั้นสูญเสียเงินออมทั้งหมดได้ และอีกประกันที่จำเป็นไม่แพ้กัน คือ ประกันโรคร้ายแรง ที่มีโอกาสเป็นได้ในทุกช่วงอายุ เพราะยิ่งเราทำในอายุที่ยังน้อย จะทำให้เราจ่ายค่าเบี้ยน้อยเมื่อเทียบกับทุนประกันที่เราได้รับ

(31-45 ปี) ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ / ประกันสุขภาพ / ประกันสะสมทรัพย์

เป็นช่วงที่มีหน้าที่การงานที่มั่นคง รวมถึงมีรายได้พอประมาณ เริ่มสร้างครอบครัวและอาจมีลูกที่ต้องดูแล การมีประกันชีวิตแบบตลอดชีพจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างหลักประกันให้ครอบครัวเมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น การซื้อประกันชีวิตแบบตลอดชีพในช่วงนี้มีโอกาสได้รับความคุ้มครองชีวิตสูง ขณะที่ค่าเบี้ยก็ไม่แพงนัก นอกจากนี้ วัยนี้ควรซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติม เพราะร่างกายยังแข็งแรงสามารถทำประกันได้ง่าย รวมไปถึงมีประกันสะสมทรัพย์เพื่อวางแผนการเงินให้กับลูกและครอบครัวในอนาคต

(46-60 ปี) ประกันบำนาญ / ประกันสะสมทรัพย์ / ประกันสุขภาพ

เจาะลึกรักษามะเร็งด้วยไขกระดูก

ในช่วงนี้ควรเริ่มนึกถึงการใช้ชีวิตหลังเกษียณ จึงควรทำประกันบำนาญเพื่อหลักประกันรายได้หลังเกษียณ และควรซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติมเพื่อดูแลค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่มากเป็นอันดับต้นๆ ของคนวัยเกษียณ

(61-70 ปี) ประกันสะสมทรัพย์

ถือเป็นช่วงโค้งสุดท้ายของอายุที่สามารถซื้อประกันได้ จึงควรเลือกประกันเพื่อการออมเงินและวางแผนส่งต่อสินทรัพย์มรดกให้แก่ลูกหลานอย่างประกันสะสมทรัพย์ ซึ่งสามารถซื้อประกันได้โดยไม่ต้องเสียภาษีมรดก

รู้แบบนี้แล้ว...อย่ารอเวลาที่จะเริ่มต้นทำประกัน และควรทำประกันชีวิตหรือสุขภาพในช่วงที่ร่างกายยังแข็งแรงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเมื่อใดที่มีปัญหาสุขภาพการทำประกันก็จะมีอุปสรรคทันที 

 

======================================

 

ส่วนท่านใดที่ต้องการคำแนะนำการเลือกซื้อประกันที่เหมาะสมกับตัวเอง รวมถึงเลือกซื้อประกันตัวท็อปแบบไม่จำกัดค่าย  สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่ธนาคารทิสโก้ทุกสาขา หรือหากท่านใดมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินของตนเอง สามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ prtisco@tisco.co.th  ครับ 

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่  Invest in Health  Wealthy Thai 

บทความล่าสุด

จับจังหวะทำกำไร กับขาขึ้นรอบใหม่ของตลาดหุ้น Asia

โพสต์เมื่อ 28 มีนาคม 2567

ตลาดหุ้นเอเชีย (Asia ex Japan) ถือเป็นตลาดหุ้นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงไม่แพ้ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) โดยเฉพาะในฝั่งของภาคการผลิตที่บริษัทยักษ์ใหญ่จากภูมิภาคเอเชีย ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรมการผลิตของโลก

อ่านต่อ >>

Asia ex Japan หุ้นไม่แพง โตแรงแซงเศรษฐกิจโลก

โพสต์เมื่อ 28 มีนาคม 2567

ท่ามกลางตลาดหุ้นหลักของโลก เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้น New High ต่อเนื่องจนมูลค่าเริ่มตึงตัว แต่หุ้นกลุ่มประเทศเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น ยังมีมูลค่าการซื้อขายยังอยู่ในระดับต่ำ และสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง

อ่านต่อ >>

ปีทองตลาดหุ้นเวียดนาม Country winner ปี 2024

โพสต์เมื่อ 28 มีนาคม 2567

เข้าสู่โค้งสุดท้ายของไตรมาส 1 ปี 2024 ตลาดหุ้นหลายแห่งทั้งสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น อินเดีย ยังเดินหน้าทำ New high อย่างต่อเนื่อง ทำให้การเข้าลงทุนในระดับราคาปัจจุบันเริ่มมีความเสี่ยง (Downside risk) ที่สูงขึ้นจาก Valuation ที่เริ่มตึงตัว

อ่านต่อ >>