เสริมพอร์ตด้วยหุ้นอินโดฯ โตสวนกระแส Recession

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1663060115022 1

จากภาวะปัจจุบันที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิด Recession ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนมีความไม่แน่นอน แต่ในทางกลับกัน ยังมีอีกหนึ่งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นอกจากเวียดนาม ที่มีความโดดเด่นด้วยแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงอย่าง “อินโดนีเซีย”

อินโดนีเซียมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่า 1.19 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นอันดับ 1 ในกลุ่มอาเซียน และอันดับ 6 ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง โดยตามรายงานของ World Bank ได้คาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซียไว้ว่า จะโตอยู่ที่ราว 5.1% ในปีนี้ และประมาณ 5.3% ในปีหน้า

รวมถึงอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในอาเซียน และมากเป็นอันดับ 4 ของโลก อยู่ที่ราว 272.25 ล้านคน โดยกว่า 51% ของประชากรอยู่ในวัยแรงงาน รายได้กำลังเพิ่มขึ้น ทำให้การบริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่มีสัดส่วนถึง 60% ของ GDP จึงเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ทาง PwC บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก คาดการณ์ว่า ระหว่างปี 2022 – 2050 วัยแรงงานของอินโดนีเซียจะเพิ่มขึ้นอีกกว่า 30 ล้านคน

นอกจากนี้ อินโดนีเซีย ยังเป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ของโลก สามารถผลิตทรัพยากรด้านพลังงานและโลหะภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิกเกิล (Nickel) และทองแดงสูงเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มอาเซียน โดยจากตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ และทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำนวนมาก อินโดนีเซียจึงเป็นแหล่งลงทุนทางตรงจากต่างชาติ (FDI) ที่น่าสนใจ โดยมีข้อมูลจาก IMF ระบุว่า เม็ดเงินลงทุน FDI สุทธิสะสมเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2017 – 2021) เพิ่มขึ้นถึง 36% อยู่ที่ 105,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค และเม็ดเงินลงทุน FDI ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เนื่องจากนิกเกิลเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ EV ซึ่งอินโดนีเซียเป็นแหล่งผลิตนิกเกิลรายใหญ่ของโลก ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดเกือบ 40% ในปี 2021

หากดูในแง่ Valuation จะพบว่า ตลาดหุ้นอินโดนีเซียค่อนข้างถูก โดยปัจจุบัน Forward PE of MSCI Indonesia Index (as of August 31, 2022) ซื้อขายอยู่ที่ราวเพียง 14.35 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีที่ 16.43 เท่า และยังมีการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) ที่สูงอีกด้วย โดย Thomson Reuters ได้ประเมิน EPS Growth ของตลาดหุ้นอินโดนีเซียในปี 2022 อยู่ที่ 31.9% YoY

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย (MSCI Indonesia Index) มีสัดส่วนอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ กลุ่มการเงิน (Financials) การบริโภคสินค้าที่จำเป็น (Consumer Staples) และพลังงาน (Energy) อยู่ที่ประมาณ 52.92%, 9.39% และ 5.56% ตามลำดับ ตัวอย่างบริษัทในกลุ่มดังกล่าวคือ

บริษัท Bank Mandiri Persero ธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองในอินโดนีเซีย มีรายได้จากดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Income) ในไตรมาส 2 ปี 2022 เพิ่มขึ้น 20.84% YoY อยู่ที่ 21,355 พันล้านรูเปียห์ และมีกำไรสุทธิ (Net Profit) เพิ่มขึ้น 54.59% YoY อยู่ที่ 10,178 พันล้านรูเปียห์

ถัดมา บริษัท Indofood Sukses Makmur ผู้ผลิตอาหาร ขนม และเครื่องดื่ม มีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 70% ในธุรกิจบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มียอดขายในไตรมาส 1 ปี 2022 เพิ่มขึ้น 12% อยู่ที่ 27.4 ล้านล้านรูเปียห์ และกำไรหลักจากการดำเนินงาน (Core Profit) เพิ่มขึ้น 13% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 2.6 ล้านล้านรูเปียห์ จากการเติบโตของยอดขายที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นเดียวกัน

และสุดท้าย บริษัท United Tractors ผู้ผลิตและจำหน่ายรถแทรกเตอร์ เครน รถบรรทุก รวมถึงให้บริการครบวงจรที่เกี่ยวข้องกับการขุดเหมือง มีรายได้สุทธิ (Net Revenue) ไตรมาส 2 ปี 2022 เพิ่มขึ้นกว่า 62% YoY อยู่ที่ 60.4 ล้านล้านรูเปียห์ และมีกำไรสุทธิ เพิ่มขึ้นถึง 129% YoY อยู่ที่ 10.4 ล้านล้านรูเปียห์ จากยอดขายเครื่องจักรกล (Heavy Equipment Sales) สำหรับการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นกว่า 111% YoY เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า ตลาดหุ้นอินโดนีเซียเป็นประเทศหนึ่งในเอเชียที่มีความน่าสนใจลงทุน ทั้งในแง่ของเศรษฐกิจขนาดใหญ่เติบโตสูง ประชากรอยู่ในวัยแรงงาน ทรัพยากรธรรมชาติที่มีมาก ต่างชาติเข้ามาลงทุนทางตรง (FDI) ค่อนข้างมาก อีกทั้ง Valuation ของตลาดหุ้นอินโดนีเซียก็ยังถูกเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยระยะยาว และยังมีอัตราการเติบโตของกำไรที่สูงอีกด้วย จึงถือเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนที่กำลังมองหาการลงทุน ที่มีแนวโน้มจะสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่นให้กับพอร์ตการลงทุนในระยะยาว

========================

บทความโดย : วิภาดา ศุภกุลวณิชย์ AFPT

Assistant Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ Money Talk ของ Business Today

บทความล่าสุด

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า