Asia's Growth is Getting Back

file

ในปี 2023 ประเด็นความไม่แน่นอนของปีที่ผ่านมาน่าจะเริ่มเห็นความชัดเจนมากขึ้น หลังจากตลาดหุ้นหลายประเทศปรับตัวลดลงอย่างมากทั้งในปี 2022 โดยเกิดจากความกังวลในเรื่องของเงินเฟ้อและนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed ที่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังมีความกังวลในเรื่องการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหลักกดดันอัตรากำไรของบริษัทจดทะเบียนที่มีแนวโน้มปรับลดคาดการณ์กำไรลงในหลายประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ความกังวลทางด้านเงินเฟ้อในปีหน้าจะเริ่มลดลง หลังจากการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อในแต่ละประเทศที่ออกมาได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และจะเริ่มปรับตัวลดลงอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2023 ทำให้ธนาคารกลางในประเทศต่าง ๆ อาจเริ่มกลับมาชะลอความร้อนแรงในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและหันมาให้ความสำคัญกับตัวเลขทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง

สำหรับกลยุทธ์ส่วนหนึ่งของเรา มองว่าทางเลือกที่น่าสนใจในการลงทุนในปี 2023 คือการเน้นลงทุนในประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตสวนกระแสการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก โดยตลาดหุ้นที่มีแนวโน้มจะ Outperform จะต้องเป็นตลาดหุ้นของประเทศที่เศรษฐกิจยังมีอัตราการเติบโตของ GDP อยู่ในระดับที่สูง มีการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) ที่แข็งแกร่ง และที่สำคัญคือ มี Valuation ที่อยู่ระดับต่ำเพียงพอที่จะทำให้เกิด Margin of Safety ในการลงทุน เช่น จีน และ เวียดนาม

IMF คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนในปี 2023 จะเติบโตได้ 4.4% จากการที่ภาครัฐเริ่มส่งสัญญาณผ่อนคลายมาตรการ Zero Covid ของจีน ซึ่งถือเป็นอัตราการขยายตัวที่โดดเด่น เมื่อเทียบกับขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกในปี 2023 ที่คาดว่าจะขยายตัวที่ 2.7% โดย ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2022 ดัชนี CSI 300 มี อัตราส่วนราคาต่อกำไรล่วงหน้า (Forward P/E Ratio) อยู่ที่ 11.7 เท่า และ ดัชนี HSCEI มีอัตราส่วนราคาต่อกำไรล่วงหน้า (Forward P/E Ratio) อยู่ที่ 6.97 เท่า โดย Bloomberg Consensus คาดการณ์ว่า กำไรต่อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในจีนปี 2023 จะเติบโตกว่า 17% ซึ่งเห็นได้ว่าราคาปัจจุบันตลาดหุ้นจีนถือเป็นระดับที่ “Undervalue” และด้วยอัตราการเติบโตที่โดดเด่นของจีน ทั้งในด้านเศรษฐกิจและกำไรที่กล่าวมา จึงทำให้ตลาดหุ้นจีนน่าสนใจที่จะเข้าลงทุน

นอกจากนี้ IMF ยังได้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจเวียดนามในปี 2023 จะเติบโตได้ถึง 6.2% สูงที่สุดในอาเซียน โดยปัจจุบันตลาดหุ้นเวียดนามปรับฐานลงมาจากจุดสูงสุดราว -32% และซื้อขายในระดับอัตราส่วนราคาต่อกำไรล่วงหน้า (Forward P/E Ratio) ประมาณ 9 เท่า ต่ำสุดในรอบ 10 ปี ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวกว่า -2 S.D. โดย Bloomberg Consensus คาดการณ์ว่า กำไรต่อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในเวียดนามปี 2023 ยังเติบโตได้ถึง +13.2% YoY สูงเป็นลำดับต้น ๆ ของอาเซียน เมื่อพิจารณาจากสถิติดังกล่าว ประกอบกับ Valuation และ การเติบโตของกำไรต่อหุ้น ทำให้เรามองว่า ราคาหุ้นเวียดนาม ณ ระดับปัจจุบัน ถือเป็นระดับที่ “Undervalue” และมี “Margin of Safety” ที่สูงเพียงพอในการเข้าลงทุน

จากข้อมูลในข้างต้น มีปัจจัยสนับสนุนหลายอย่าง ทั้งในด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ การเติบโตของรายได้และกำไรของบริษัทจดทะเบียน รวมถึงการที่ตลาดมี Valuation ที่ถูก จนเกิด “Margin of Safety” ซึ่งทำให้ทั้งจีนและเวียดนาม เป็นประเทศที่สามารถเติบโตสวนกระแสของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยมีโอกาสฟื้นตัวและให้ผลตอบแทนที่โดดเด่นกว่าประเทศอื่นได้ในปี 2023

 

======================

 

บทความโดย จตุรพร ระวิงทอง AFPT Assistant Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

เผยแพร่ครั้งแรกในคอลัมน์ Make Money Make Healthy ของ TNN

บทความล่าสุด

ปรับพอร์ตอย่างไรในช่วงเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว 

โพสต์เมื่อ 27 กรกฎาคม 2567

การปรับพอร์ตการลงทุนตามสถานการณ์เศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้พอร์ตการลงทุนมีความยืดหยุ่นและสามารถรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจได้ดีขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นด้วย โดยมีวิธีปรับตามการวิเคราะห์วงจรเศรษฐกิจ 4 ช่วง

อ่านต่อ >>

ถึงเวลาเพิ่มน้ำหนักหุ้น รับเศรษฐกิจฟื้นตัว

โพสต์เมื่อ 27 กรกฎาคม 2567

เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ช่วงของการฟื้นตัว ขณะที่ดอกเบี้ยนโยบายเริ่มกลับทิศเป็นขาลงภายใต้สถานการณ์นี้ เป็นช่วงที่เหมาะกับการลงทุนใน “หุ้น” ที่สุด

อ่านต่อ >>

3 กลยุทธ์ปรับพอร์ต ก่อนเลือกตั้งสหรัฐฯ

โพสต์เมื่อ 27 กรกฎาคม 2567

ปัจจัยที่นักลงทุนทั่วโลกจับตามองมากที่สุดคงหนีไม่พ้นการเลือกตั้งสหรัฐฯที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 5 พ.ย. นี้ ซึ่งจะเป็นการ Rematch ระหว่าง Donald Trump กับ Joe Biden และถือเป็นอีกครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐฯนับตั้งแต่ปี 1956 ที่ผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้งคู่ต่างเป็น “อดีตประธานาธิบดี”

อ่านต่อ >>