บทพิสูจน์กลุ่ม Biotech ครั้งใหม่ กับไวรัสสายพันธุ์ Omicron

file

ข่าวไวรัส COVID-19 สายพันธุ์ใหม่อย่าง Omicron เป็นที่กล่าวถึงกันมากทันที หลังจากที่พบคลัสเตอร์ผู้ป่วยภายในประเทศแถบทวีปแอฟริกาใต้ พร้อมงานวิจัยที่บ่งชี้ว่า สายพันธุ์นี้น่ากังวล เนื่องจากโครงสร้างโปรตีนหนาม (Spike Protein) ที่เกาะอยู่บนเซลล์มีการกลายพันธุ์จากสายพันธุ์ทั้งหมดที่มีในปัจจุบันไปมาก ซึ่งคาดว่าเป็นการรวมตัวกันระหว่างสายพันธุ์ Beta ที่หลบภูมิคุ้มกันเก่ง และ Delta ที่แพร่กระจายได้เร็วและอาการรุนแรง โดยทั้ง 2 เป็นสายพันธุ์ที่สร้างวิกฤติในระบบสาธารณสุขในหลายประเทศอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา

ไม่นานมานี้องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้สายพันธุ์ Omicron อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variant of Concern: VOCs) ในวันที่ 26 พ.ย. 2564 ซึ่งยกระดับจากการเป็นสายพันธุ์ที่น่าจับตามอง (Variants of Interest: VOIs) ในเวลาเพียง 2 วัน เนื่องด้วยมีการกลายพันธุ์ใน Spike Protein กว่า 60% จากทั้งหมดที่กลายพันธุ์ไปราว 50 จุด ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดเท่าที่เคยพบ และยังพบว่าจำนวนผู้ป่วยสายพันธุ์ Omicron มีอัตราการเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงที่เกิดการระบาดของสายพันธุ์ Delta ในระยะแรกด้วย โดยผู้เชี่ยวชาญกังวลว่า การกลายพันธุ์บน Spike Protein จำนวนมากจะส่งผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันแก่ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดส หรือ รับบูสเตอร์เข็ม 3 เป็นต้นไป เนื่องจากการทำงานของวัคซีนจะมีแอนติบอดี้เข้าไปดักจับ Spike Protein ของไวรัส ซึ่งเป็นไปได้ว่า หากมีการกลายพันธุ์ในส่วน Spike Protein จำนวนมาก อาจทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีในตอนนี้จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ซึ่งบริษัท Biotechnology ที่มีบทบาทในการต่อสู้กับ COVID-19 ช่วงที่ผ่านมา เช่น ผู้ผลิตวัคซีนอย่าง Pfizer และ Moderna คาดว่าแม้วัคซีนที่มีในปัจจุบันอาจจะมีประสิทธิภาพลดลง แต่ Pfizer เตรียมการปรับตัวในกรณีที่มีสายพันธุ์ใหม่มาก่อนหน้านี้แล้ว และเชื่อว่าหลังจากได้ข้อมูล Omicron จะสามารถปรับปรุงสูตรได้ใน 6 สัปดาห์ และพร้อมส่งมอบล็อตแรกได้ภายใน 100 วัน โดย Pfizer เคยปรับปรุงสูตรเพื่อรับมือกับสายพันธุ์ Delta ได้ภายใน 95 วัน และบริษัท Moderna มีแนวทางเบื้องต้นที่จะทดลองเพิ่มปริมาณวัคซีนจาก 50 Microgram Dose เป็น 100 Microgram Dose ในวัคซีนชนิดเดิม และทำการแบ่งทดลองวัคซีนใหม่อีก 3 ประเภท โดยประเภทแรก (mRNA1273.211) ใช้ต้นแบบจากสายพันธุ์ Beta ประเภทที่ 2 (mRNA1273.213) ใช้ต้นแบบจากสายพันธุ์ Beta และ Delta และประเภทสุดท้าย (mRNA1273.529) จะใช้ต้นแบบจากสายพันธุ์ Omicron โดยเฉพาะ ซึ่งจะสามารถทดลองกับมนุษย์ได้ภายใน 60 - 90 วัน ดังนั้น ช่วงเวลาของการศึกษาพันธุกรรมของไวรัส Omicron ไปจนถึงการคิดสูตรวัคซีน อาจใช้เวลาสั้นกว่าเมื่อเทียบกับช่วงที่เกิดการระบาดของ COVID-19 ครั้งแรก เนื่องด้วยองค์ความรู้ที่บริษัท Biotechnology เหล่านี้มีอยู่แล้ว

อย่างไรก็ดี แม้ว่าในตอนนี้ข้อมูลของ Omicron ยังมีจำกัด อย่างน้อยต้องรอข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั่วโลกก่อนที่จะประเมินได้ว่าจะรับมือสายพันธุ์นี้อย่างไร โดยข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวกับ Omicron จาก WHO ระบุว่า ผลตรวจ PCR ที่ประเทศแอฟริกาใต้จากบางห้องปฏิบัติการไม่พบ S Gene ซึ่งเป็นคุณลักษณะเฉพาะของสายพันธุ์ Alpha ที่มีการกลายพันธุ์บน Spike Protein โดยกรดอะมิโนตำแหน่ง 69 - 70 หายไป ซึ่งสายพันธุ์ Alpha คือสายพันธุ์ที่ระบาดที่สหราชอาณาจักรช่วงไตรมาส 3 ปี 2020 และไม่พบแล้วในปัจจุบัน นับว่าเป็นเรื่องดีที่การตรวจ PCR หลังจากนี้อาจไม่จำเป็นต้องทำ Genome Sequencing เต็มรูปแบบ เพราะหากตรวจแล้วไม่พบ S Gene สามารถอนุมานได้เลยว่า เป็นผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ Omicron ซึ่งทำให้ช่วยคัดกรองผู้ป่วยได้ทันท่วงที

ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าสายพันธุ์ Omicron เป็นสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์ไปจากทุกสายพันธุ์มากที่สุดเท่าที่มีการกลายพันธุ์มา ซึ่งคาดว่าจะรับมือยากทั้งในด้านการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและความรวดเร็วในการแพร่กระจาย อย่างไรก็ดี กลุ่มบริษัท Biotechnology ต่างออกมาเสนอแผนงานเพื่อต่อสู้กับสายพันธุ์ Omicron ให้เร็วที่สุด ซึ่งบริษัทเหล่านี้เคยทำมาได้ด้วยการคิดค้นวัคซีนในระยะเวลาเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ ส่วนตัวเราเองนั้น วิธีการรับมือสายพันธุ์ Omicron ที่ดีที่สุดในปัจจุบันยังคงเป็นการรับวัคซีนที่มีในปัจจุบันตามคำแนะนำของแพทย์ รวมถึงการดูแลสุขลักษณะเพื่อป้องกันตัวเอง เช่น การล้างมือ การใส่หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคม แม้จะไม่ใช่วิธีการที่จะป้องกันได้ 100% แต่มั่นใจได้ว่าหากปฏิบัติได้ครบถ้วนจะลดโอกาสการติดเชื้อได้ต่ำที่สุด หรือลดอาการป่วยให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

==========================================================

บทความโดย : ศิวกร ทองหล่อ CFP® 

Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

บทความล่าสุด

หุ้นกลุ่ม Healthcare ทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีหุ้นโลก

โพสต์เมื่อ 25 เมษายน 2567

ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่ม Healthcare กลับมาสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น จากแนวโน้มการเติบโตที่คาดว่าจะสูงกว่าตลาดโดยรวมในปีนี้ ในขณะที่ยังซื้อขายในระดับราคาที่ไม่แพงโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่มเทคโนโลยีที่เติบโตในระดับใกล้เคียงกัน ทำให้ปีนี้มีโอกาสสูงที่กลุ่ม Healthcare จะกลับมาทวงคืนตำแหน่ง Top Performer บนเวทีตลาดหุ้นโลก

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตสร้างกำไร ขายหุ้นสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น เบนเข็มลงทุน “หุ้น Asia ex Japan”

โพสต์เมื่อ 25 เมษายน 2567

ในปี 2024 เศรษฐกิจโลกภาพรวมเติบโตดีกว่าคาด โดยภูมิภาคที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดคือ ภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่จะเติบโตได้ดีในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว และยังเป็นปีแห่งโอกาส

อ่านต่อ >>

จับจังหวะทำกำไร กับขาขึ้นรอบใหม่ของตลาดหุ้น Asia

โพสต์เมื่อ 25 เมษายน 2567

ตลาดหุ้นเอเชีย (Asia ex Japan) ถือเป็นตลาดหุ้นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงไม่แพ้ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) โดยเฉพาะในฝั่งของภาคการผลิตที่บริษัทยักษ์ใหญ่จากภูมิภาคเอเชีย ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรมการผลิตของโลก

อ่านต่อ >>