จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

จัดพอร์ตลงทุนปี2025ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง 800X420

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา จากปัจจัยเหล่านี้ นักลงทุนควรจะจัดพอร์ตเพื่อเอาชนะสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร จึงจะอยู่รอดปลอดภัยและสร้างผลตอบแทนได้อย่างงดงามในปี 2025 เราสามารถแบ่งธีมการลงทุนได้ ดังนี้

1. America First

หนึ่งนโยบายเรือธงของ Trump ที่นักลงทุนให้ความสนใจมากที่สุด คือ การปรับลดอัตราภาษีนิติบุคคล (Corporate tax) ลงจาก 21% สู่ระดับ 15% เนื่องจากหากมองย้อนหลังกลับไปในอดีตที่สหรัฐฯมีการปรับลดภาษีนิติบุคคลลง มักจะส่งผลให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่น การปรับลดภาษีฯในปี 1986 ในสมัย Ronald Reagan และอีกครั้งในปี 2017 ในยุค Donald Trump ซึ่งการลดภาษีฯได้ทำให้กำไรบริษัทจดทะเบียนเติบโตสูงถึงกว่า 40% และ 20% ตามลำดับ สอดคล้องกับผลตอบแทนของตลาดหุ้นสหรัฐฯในปีนั้นที่พุ่งขึ้นถึง +14.6% และ +19.4% เช่นกัน

ในครั้งนี้นักวิเคราะห์คาดว่า นโยบายการปรับลดภาษีนิติบุคคลจะส่งผลโดยตรงต่อกำไรบริษัทในดัชนี S&P500 ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกราว 4% ทันทีที่มีผลบังคับใช้ โดยหุ้นกลุ่มที่มีโอกาสถูกปรับประมาณการกำไรเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย (Consumer Discretionary) ที่คาดว่ากำไรจะโตขึ้นอีก 7% ขณะที่ กลุ่มสถาบันการเงิน (Financials) และกลุ่มบริการด้านการสื่อสาร (Communication Services) คาดว่าจะได้รับ Earnings Upgrade อีกประมาณ 5% จากประมาณการเดิม

อีกหนึ่งนโยบายที่สำคัญของ Trump คือ นโยบายกีดกันการค้า (Tariffs) ซึ่งการดำเนินนโยบายสงครามการค้ากับประเทศอื่นทั่วโลก ทำให้สหรัฐฯเองก็อาจจะต้องเผชิญกับการตอบโต้มาตรการกีดกันทางการค้าจากประเทศอื่นๆเช่นกัน ส่งผลให้บริษัทสหรัฐฯที่มีรายได้จากนอกประเทศเป็นสัดส่วนที่สูง เช่น กลุ่มเทคโนโลยี อาจได้รับผลกระทบ ในขณะที่ หุ้นอุตสาหกรรมที่มียอดขายจากต่างประเทศน้อยจะได้รับผลกระทบที่จำกัด เช่น กลุ่มสถาบันการเงินและกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีรายได้จากต่างประเทศเพียงแค่ 28% และ 34% น้อยกว่าบริษัทในดัชนี S&P500 ที่มียอดขายต่างประเทศสูงถึง 41%

หากพิจารณาประกอบกันทั้ง 2 มิติ ทั้งนโยบายการลดภาษีนิติบุคคล กับ ความเสี่ยงจากมาตรการตอบโต้การกีดกันทางการค้า การลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในปี 2025 จึงควร “Selective รายอุตสาหกรรม” โดยเน้นไปที่กลุ่มสถาบันการเงิน (Financials) และ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย (Consumer Discretionary)

2. Domestic-Oriented Countries

Trump ได้ประกาศว่าพร้อมจะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจีนเป็น 60% และ 10% สำหรับทุกประเทศ กลุ่มประเทศที่น่าสนใจในการลงทุนจึงต้องเป็นประเทศที่ “ความเสี่ยงจากภายนอกต่ำ ความแข็งแกร่งจากภายในสูง” กล่าวคือ เป็นประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯไม่สูงเกินไป และ ยังมีเศรษฐกิจภายในที่แข็งแกร่ง เช่น มีสัดส่วนการบริโภคภายในประเทศที่ใหญ่เมื่อเทียบกับ GDP ตัวเอง โดยประเทศที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินเดียและเวียดนาม เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าไม่เกิน 1.5% ของ GDP สหรัฐฯ เปรียบเทียบกับประเทศอย่างจีน เม็กซิโกและแคนาดาที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าสูงถึง 2-3.5% ของ GDP สหรัฐฯ นอกจากนี้ กลุ่มประเทศดังกล่าวยังมีสัดส่วนการบริโภคภายในประเทศที่ใหญ่เกิน 50% ของ GDP ตัวเอง ซึ่งสามารถลดแรงกระแทกจากนโยบายกีดกันทางการค้าได้

3. Asset Shield

ด้วยสถานการณ์ตลาดที่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูงจากการดำเนินนโยบายของ Trump ที่อาจนำไปสู่เงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น ตลอดจนความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ที่นักลงทุนจะต้องมีในพอร์ตเพื่อลดความผันผวนและ Hedge ความเสี่ยงเงินเฟ้อ

นอกจากนี้ นโยบายการเงินทั่วโลกที่อยู่ในทิศทางผ่อนคลายยังเป็นโอกาสให้นักลงทุนสามารถกระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์อื่น ๆ ที่ได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกที่เข้าสู่วัฎจักรขาลง ได้แก่

ราสารหนี้ต่างประเทศ (Global Bond) ซึ่งราคามักจะปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลง โดยเราแนะนำให้เน้นลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีอายุสั้นไม่เกิน 3 ปี ที่มี Credit rating อยู่ในระดับ Investment grade ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ต่ำและยังได้รับประโยชน์จากนโยบายการลดภาษีนิติบุคคล ที่จะทำให้บริษัทมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งขึ้นจนนำไปสู่การปรับเพิ่ม Credit rating ในอนาคต

รัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ (Global REITs) เน้นลงทุนในกลุ่ม REITs ที่ได้ประโยชน์จาก Megatrend ที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงพร้อมกับกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอ เช่น กลุ่ม Data Center และ Industrial

สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงอาจไม่ใช่เป็นเพียงแต่ความเสี่ยงและความผันผวน แต่หากยังเป็นโอกาสในการทำกำไรของนักลงทุนได้เช่นกัน เราเชื่อว่าหากนักลงทุนมีกลยุทธ์เตรียมพร้อมรับมือและจัดพอร์ตการลงทุนกระจายความเสี่ยงเป็นอย่างดี ก็สามารถ “Beating The Wind of Change” ที่จะเกิดขึ้นในปี 2025 ได้อย่างแน่นอน

บทความโดย ภาคภูมิ พีรยวัฒนา AFPT™

Senior Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

บทความล่าสุด

ปรับพอร์ตลงทุน สู้ศึกครึ่งปีหลัง 2025

เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังปี 2025 สถานการณ์การลงทุนทั่วโลกยังคงเผชิญความท้าทายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากความไม่แน่นอนในการเจรจาภาษีนำเข้าของสหรัฐฯกับคู่ค้า รวมถึงสงครามในตะวันออกกลางที่กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง ทำให้การคาดเดาทิศทางเศรษฐกิจและจับจังหวะตลาดเป็นเรื่องที่ยาก

อ่านต่อ >>

เลือกประกันโรคร้ายแรงให้รอดจากค่าใช้จ่ายอัลไซเมอร์ 

เมื่อพูดถึงเหตุผลของการมีประกันโรคร้ายแรงเพื่อคุ้มครองค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสุขภาพ เรามักจะคิดถึงโรคที่มีผลร้ายแรงแบบเฉียบพลันจนถึงแก่ชีวิต หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, ทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มโรคข้างต้นทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เมื่อปี 2021 พบสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs กว่า 80%

อ่านต่อ >>

Super Stocks ปลดล็อกพอร์ตลงทุน ข้ามวัฏจักรเศรษฐกิจ

ในโลกการลงทุนที่ตลาดหุ้นผันผวนรุนแรงจนกลายเป็น “New Normal” นักลงทุนจำนวนไม่น้อยเริ่มยกธงขาวยอมแพ้และยอมรับว่า การพยายามจับจังหวะตลาดหรือคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจ อาจไม่ใช่คำตอบที่ยั่งยืนอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม มีกลยุทธ์การลงทุนหนึ่งที่เรียบง่าย แต่ทรงพลัง ซึ่งได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าสามารถสร้างผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยมในระยะยาว โดยไม่ต้องจับจังหวะตลาดหรือปรับพอร์ตตามวัฏจักรเศรษฐกิจ คือ การลงทุนในหุ้นที่เรียกว่า “Super Stocks

อ่านต่อ >>

ปรับพอร์ตลงทุน สู้ศึกครึ่งปีหลัง 2025

เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังปี 2025 สถานการณ์การลงทุนทั่วโลกยังคงเผชิญความท้าทายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากความไม่แน่นอนในการเจรจาภาษีนำเข้าของสหรัฐฯกับคู่ค้า รวมถึงสงครามในตะวันออกกลางที่กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง ทำให้การคาดเดาทิศทางเศรษฐกิจและจับจังหวะตลาดเป็นเรื่องที่ยาก

อ่านต่อ >>

เลือกประกันโรคร้ายแรงให้รอดจากค่าใช้จ่ายอัลไซเมอร์ 

เมื่อพูดถึงเหตุผลของการมีประกันโรคร้ายแรงเพื่อคุ้มครองค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสุขภาพ เรามักจะคิดถึงโรคที่มีผลร้ายแรงแบบเฉียบพลันจนถึงแก่ชีวิต หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, ทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มโรคข้างต้นทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เมื่อปี 2021 พบสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs กว่า 80%

อ่านต่อ >>

Super Stocks ปลดล็อกพอร์ตลงทุน ข้ามวัฏจักรเศรษฐกิจ

ในโลกการลงทุนที่ตลาดหุ้นผันผวนรุนแรงจนกลายเป็น “New Normal” นักลงทุนจำนวนไม่น้อยเริ่มยกธงขาวยอมแพ้และยอมรับว่า การพยายามจับจังหวะตลาดหรือคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจ อาจไม่ใช่คำตอบที่ยั่งยืนอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม มีกลยุทธ์การลงทุนหนึ่งที่เรียบง่าย แต่ทรงพลัง ซึ่งได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าสามารถสร้างผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยมในระยะยาว โดยไม่ต้องจับจังหวะตลาดหรือปรับพอร์ตตามวัฏจักรเศรษฐกิจ คือ การลงทุนในหุ้นที่เรียกว่า “Super Stocks

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า