จัดการภาษีด้วย “พีระมิดทางการเงิน” โค้งสุดท้ายก่อนจบปี 2565

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1669686900181

เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2565 กันแล้ว ซึ่งในเดือนธันวาคมนี้ก็จะเป็นเดือนสุดท้ายของการหาตัวช่วยเพื่อประหยัดภาษี โดยมีทางเลือกที่หลากหลายทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่าย และค่าหย่อนในรายการต่างๆที่ช่วยประหยัดภาษี โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือทางการเงิน นอกจากจะเปิดโอกาสในการช่วยบริหารจัดการภาษีให้ต่ำลง อีกทั้งเรายังจะได้เงินก้อนนั้นกลับมาในอนาคตอีกด้วย เช่นการลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีอย่างกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ก็ล้วนเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพื่อเปิดโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงในระยะยาว รวมถึงกลุ่มของผลิตภัณฑ์ประเภทประกันชีวิตและประกันสุขภาพนอกจากจะได้ประโยชน์ด้านภาษีแล้ว ยังได้รับความคุ้มคลองจากการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตอีกด้วย 

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราควรซื้ออะไร เท่าไหร่ และควรซื้ออะไร ก่อน – หลัง ให้เหมาะสมกับตัวเอง แน่นอนว่าเป็นคำถามที่มีความเป็นปัจเจกในแต่ละตัวบุคคล แต่ก็จะมีหลักการที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย นั่นคือ “พีระมิดทางการเงิน” หรือ Financial Pyramid ซึ่งบ่งชี้ถึงลำดับความสำคัญในเรื่องการบริหารการเงินตั้งแต่ ความจำเป็นพื้นฐานและการจัดการความเสี่ยง (Basic Needs และ Risk Management), การเก็บสะสม (Accumulation) และ การลงทุน (Investment) โดยหากเราสามารถบริหารจัดการเงินในหมวดต่างๆได้ดี จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินและมีสุขภาพทางการเงินทีดีจนกระทั่งเราจากโลกนี้ไป

เริ่มจากความจำเป็นพื้นฐานและการจัดการความเสี่ยง ซึ่งเป็นประเด็นของความ  “แน่นอน” ในขั้นตอนนี้นอกจากที่เราจะมีเงินสำรองฉุกเฉินราว 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือนแล้ว เรายังต้องมีความคุ้มครองจากผลิตภัณฑ์ประเภทประกัน ทั้งในด้านชีวิตและสุขภาพ ที่ให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาล หรือหากเราเสียชีวิต คนที่อยู่ข้างหลังก็ยังจะได้รับเงินก้อนเพื่อใช้ชีวิตต่อไป ซึ่งการซื้อประกันสุขภาพสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อนำมารวมกับเบี้ยประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000  บาท

หลังจากที่เรามีฐานของพีระมิดเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นการเก็บออมเงินเพื่อเป้าหมายต่างๆ (Accumulation) รวมถึงการลงทุนเพื่อให้เงินได้งอกเงย (Investment) โดยเราอาจแบ่งเป้าหมายต่างๆตามกรอบระยะเวลา เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการและเราสามารถจับคู่ทางเลือกทางการลงทุนให้เหมาะสมกับเป้าหมายต่างๆได้ โดยพิจารณาจากความเสี่ยงและผลตอบแทน และหากเรามีกรอบระยะเวลาที่นานเพียงพอ อาทิ 10 ปีขึ้นไปการเลือกกองทุนลดหย่อนภาษีอย่างกองทุน SSF และ/หรือ RMF จะมีประประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากทั้ง SSF และ RMF มีนโยบายการลงทุนที่เปิดกว้างและหลากหลาย ทำให้เราสามารถเลือกลงทุนได้ตามที่ต้องการ

แต่อย่างไรก็ดี ทั้งการซื้อ SSF และ RMF เพื่อลดหย่อนภาษี จะมีข้อจำกัดในเรื่องของวงเงินที่เราสามารถซื้อได้ โดยเราสามารถซื้อ SSF เพื่อลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมินแต่ไม่เกิน 200,000 บาท ในขณะที่ RMF เราสามารถลดหย่อนได้สูงสุดถึง 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวม SSF,กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข., กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันบำนาญแล้วจะต้องไม่เกิน 500,000 บาทเช่นเดียวกัน

จะเห็นได้ว่าเรามีทางเลือกที่หลากหลายในการช่วยบริหารภาษีให้ลดลง ซึ่งการใช้พีระมิดทางการเงินมาประยุกต์จะช่วยให้เราสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของเราได้ แต่อย่างไรก็ดีในแต่ละทางเลือกจะมีข้อบังคับ หรือกฎเกณฑ์ และรายละเอียดที่แตกต่างกัน เราจึงต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนการตัดสินใจ เพื่อที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดทั้งในมุมของภาษีที่ประหยัดได้และประโยชน์จากผลิตภัณฑ์นั้นๆ

บทความล่าสุด

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า