Trade หุ้นอย่างไร หาก Trump ชนะเลือกตั้ง?

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1722332584793

นับตั้งแต่ปลายเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา สถานการณ์การหาเสียงเลือกตั้งของสหรัฐฯ เริ่มมีความเข้มข้นมากขึ้น หลังจากการประชันวิสัยทัศน์ครั้งแรกระหว่าง 2 ผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ในวันที่ 28 มิ.ย. ที่ผ่านมา Donald Trump สามารถเอาชนะ Joe Biden ได้ในการดีเบต ต่อเนื่องด้วยเหตุการณ์ลอบยิง Trump ที่รัฐ Pennsylvania ซึ่งทำให้ Trump ได้รับบาดเจ็บแต่สามารถเอาชีวิตรอดมาได้ ทั้งสองเหตุการณ์สำคัญได้ส่งผลบวกให้คะแนนความนิยมของ Trump พุ่งสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและทิ้งห่าง Biden อย่างต่อเนื่อง จนล่าสุด Biden ได้ประกาศ “ถอนตัว“ จากการลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและพร้อมหนุน “Kamala Harris” รองประธานาธิบดีให้เป็นตัวแทนของพรรค Democrats ในการสู้ศึกเลือกตั้ง 2024 

ความคาดหวังที่ Trump จะชนะเลือกตั้ง ส่งผลให้ตลาดการเงินเริ่มมีการตอบรับในประเด็นดังกล่าว เห็นได้จากกลุ่มหุ้นที่ได้ประโยชน์จากนโยบายของ Trump เริ่มมีการเคลื่อนไหว Outperform ตลาดอย่างชัดเจน ภายใต้ธีมการลงทุนที่เรียกว่า “Trump Trade” ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ธีม ดังนี้

Trade Policy

สหรัฐฯ ยังคงมีความพยายามที่จะกีดกันจีนในการก้าวขึ้นมาเป็นเศรษฐกิจเบอร์หนึ่งของโลกอย่างต่อเนื่องด้วยการทำ “สงครามการค้า” ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ Trump ได้ประกาศว่า เตรียมสานต่อนโยบายการ “ปรับขึ้นภาษีศุลกากร” ด้วยการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนขึ้นสูงถึง 60% รวมถึงจะปรับขึ้นภาษีนำเข้ากับทุกประเทศที่ส่งสินค้าไปขายที่สหรัฐฯ 10%  

จากการศึกษาข้อมูลย้อนหลังไปในอดีต ในช่วงที่ Trump ดำรงตำแหน่งสมัยแรกในปี 2017-2019 พบว่า ตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในช่วงเวลาดังกล่าวคือ “ตลาดหุ้นอินเดียและตลาดหุ้นเวียดนาม” โดยตลาดหุ้นอินเดีย +55% และ ตลาดหุ้นเวียดนาม +43% เนื่องจากทั้งสองประเทศได้รับประโยชน์จากเทรนด์การโยกย้ายฐานการผลิตออกจากจีน มีจุดยืนที่เป็นกลางในเวทีการค้าโลกตลอดจนมีความได้เปรียบด้านค่าแรงที่ถูก ดังนั้น ตลาดหุ้นเวียดนามกับอินเดีย จึงเป็นตลาดหุ้นที่มีโอกาสจะ Outperform ตลาดหุ้นประเทศอื่นในยุคของ Trump อีกครั้ง 

Tax Policy

แนวทางการดำเนินนโยบายภาษีของ Trump คือ “คงภาษีของคนอเมริกันไว้ในระดับต่ำ” โดย Trump มีแผนที่จะ “ตรึงภาษีนิติบุคคลไว้ที่ระดับ 21%” และต้องการที่จะต่ออายุอัตราภาษีดังกล่าวที่กำลังจะหมดลงในปี 2025 ออกไปเป็นการถาวร นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะ “คงภาษีบุคคลธรรมดา” ไว้ที่ระดับเดิม เพื่อสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศ นโยบายทางด้านภาษีของ Trump จึงเป็นผลบวกโดยตรงต่อกำไรบริษัทจดทะเบียนของสหรัฐฯและทำให้ “ตลาดหุ้นสหรัฐฯ” มีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อ โดยเฉพาะหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมถึงหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรม Consumer Discretionary ที่อิงกับการใช้จ่ายของภาคประชาชน  

Energy Policy

นโยบายด้านพลังงานของ Trump เน้นสนับสนุนอุตสาหกรรมพลังงานแบบดั้งเดิม อย่างเช่น น้ำมัน ถ่านหิน โดยสนับสนุนให้เพิ่มพื้นที่การสำรวจขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวมถึงให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและให้เงินอุดหนุนแก่ธุรกิจพลังงานฟอสซิล อีกทั้งยังมีแผนที่จะยกเลิกกฏหมาย Inflation Reduction Act ที่มุ่งเน้นการสนับสนุนธุรกิจพลังงานสะอาดของรัฐบาล Biden เพื่อลดการใช้จ่ายทางด้านงบประมาณกว่า 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้น หุ้นกลุ่ม Energy อย่างเช่น Oil & Gas จึงเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากการเข้ามาของ Trump 

Financial Deregulation

อีกหนึ่งนโยบายเรือธงของ Trump ก็คือ การผ่อนปรนกฎหมายและข้อบังคับต่างๆในอุตสาหกรรมการเงิน โดยการยกเลิกบางส่วนของกฎหมาย Dodd-Frank ซึ่งเป็นกฏหมายที่เข้ามาควบคุมภาคธนาคารของสหรัฐฯ อย่างเข้มงวดหลังเกิดวิกฤต Subprime ปี 2008 ยกตัวอย่างเช่น การห้ามสถาบันการเงินทำธุรกรรมการเก็งกำไรบางประเภท หรือ การจำกัดค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตที่สถาบันการเงินเรียกเก็บ ดังนั้น นโยบาย Financial Deregulation ของ Trump จึงถือเป็นประโยชน์ต่อรายได้และกำไรของกลุ่มสถาบันการเงินของสหรัฐฯ ให้กลับมามีแนวโน้มเติบโต 

Healthcare Policy 

Trump มักให้การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ประเภทต่าง ๆ รวมถึงเพิ่มความโปร่งใสในธุรกิจประกันสุขภาพและโรงพยาบาล เพื่อป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค อีกทั้ง Trump ยังมีความพยายามที่จะแทนที่นโยบาย Affordable Care Act (Obamacare) ของรัฐบาล Democrats ด้วยนโยบายสาธารณสุขที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพกว่า ดังนั้น เรามองว่าหุ้นกลุ่ม Healthcare น่าจะได้รับประโยชน์จากนโยบายสาธารณสุขของ Trump โดยเฉพาะ “หุ้นกลุ่ม Biotechnology” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในฐานะผู้ผลิตและคิดค้นยานวัตกรรม 

จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าการเลือกตั้งสหรัฐฯจะสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินหรือไม่ ประธานาธิบดีจะเป็นใคร โอกาสในการลงทุนยังคงมีอยู่เสมอ หากนักลงทุนสามารถวิเคราะห์แนวทางการดำเนินนโยบายและเข้าลงทุนก่อนที่ตลาดจะรับรู้ การสร้างผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยมในยุคของ Trump อาจไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

บทความโดย ภาคภูมิ พีรยวัฒนา AFPT™

Senior Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

บทความล่าสุด

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า