file

"ทิสโก้" ผู้นำองค์กรต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 38 | คอลัมน์ Exclusive

 

ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป ธนาคารทิสโก้ บล.ทิสโก้ และ บลจ.ทิสโก้ เป็น 4 ใน 9 บริษัทกลุ่มแรกที่ได้รับการต่ออายุ (Re-certify) ใบรับรองการมีนโยบายและแนวปฏิบัติตามเกณฑ์ โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Collective Action Coalition Against Corruption หรือ CAC) สะท้อนความมุ่งมั่นของกลุ่มทิสโก้ที่ประกาศตนร่วมต่อต้าน การทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ ยืนหยัดเป็นองค์กรโปร่งใส ร่วมสร้างสังคมใสสะอาดให้กลับคืนสู่ประเทศไทยได้อีกครั้ง

การทุจริตคอร์รัปชัน เป็นประเด็นปัญหา สำคัญของประเทศไทย ที่ต้องอาศัยความร่วมมือ จากทุกฝ่าย ในการร่วมกันเยียวยาแก้ไข ไม่เพียง แต่ฝ่าย “ผู้รับ” อย่างภาครัฐ แต่ต้องรวมถึง ฝ่าย “ผู้ให้” อย่างภาคเอกชนด้วย

ที่มาของโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาค เอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Collective Action Coalition Against Corruption หรือ CAC) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2553 โดยความ ร่วมมือขององค์กรธุรกิจชั้นนำอย่าง สมาคม ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) สภาหอการค้าไทย สภาหอการค้าร่วม ต่างประเทศในประเทศไทย (JFCCT) สมาคม บริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมธนาคารไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย สภาอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย พร้อมเหล่าองค์กรเอกชนที่ ร่วมประกาศเจตนารมณ์ “ไม่เอาคอร์รัปชัน”

“ภาคเอกชนมองว่าปัญหาคอร์รัปชันเป็น อุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ บริษัท เหล่านี้จึงต้องการเข้ามาช่วยแก้ปัญหา เขา ต้องการการแข่งขันที่เป็นธรรม ไม่สนับสนุน การให้สินบนเพื่อให้ได้ธุรกิจ รวมถึงต้องการ รักษาภาพพจน์ และความน่าเชื่อถือของการทำธุรกิจในประเทศไทยไว้ เพราะถ้าปัญหา คอร์รัปชันยังรุนแรง ก็จะบั่นทอนความน่าเชื่อ ถือของไทยในเชิงธุรกิจลงด้วย”

คำบอกเล่าจาก “ดร.บัณฑิต นิจถาวร” กรรมการและเลขานุการ โครงการแนวร่วม ปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการ ทุจริต ซึ่งผลลัพธ์หลังดำเนินโครงการไป 6 ปี พบว่า ในปี 2559 มีบริษัทเข้าร่วมประกาศ เจตนารมณ์ไปแล้วกว่า 700 บริษัท (ข้อมูล ณ สิงหาคม 2559) และในจำนวนนี้มี 177 บริษัท ที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการแนวร่วม ปฏิบัติ ว่ามีนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการ ป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันครบตามเกณฑ์ ของคณะกรรมการ CAC เรียกว่าความสำเร็จ มาไกลกว่าวันเริ่มต้น ที่มีคนเข้าร่วมประกาศ เจตนารมณ์เพียง 23 บริษัท เท่านั้น

กลุ่มทิสโก้ คือหนึ่งในภาคเอกชนที่เข้าร่วม โครงการ CAC ตั้งแต่ในปีก่อตั้ง และเป็นบริษัท ในกลุ่มแรกที่ได้รับการรับรองว่ามีนโยบาย มีระบบควบคุมภายใน และมีแนวปฏิบัติป้องกัน การทุจริตคอร์รัปชัน ตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการ CAC กำหนด หลังเปิดรับการ รับรอง (Certification) เมื่อปี 2556 ประกาศ ความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ในทุกรูปแบบ ซึ่งไม่เพียงอยู่ในนโยบาย ทว่า กลายเป็นวิถีปฏิบัติของทิสโก้ไปแล้ว

“ทิสโก้มีนโยบายที่ชัดเจนเรื่องการไม่ สนับสนุนการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ เริ่มตั้งแต่การปลูกฝังจิตสำนึก ไปจนถึงการ ปฏิบัติตามแนวทางอย่างเป็นรูปธรรมใน ทุกระดับตั้งแต่ “ผู้บริหาร” จนถึง “พนักงาน” โดยมองว่า ประเทศชาติจะขับเคลื่อนไปอย่าง เข้มแข็งได้ หากได้รับความร่วมมือจากองค์กร ทุกภาคส่วน ซึ่งทิสโก้ในฐานะองค์กรภาคเอกชน มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นพลังสำคัญในการขจัด ปัญหาดังกล่าวให้หมดไปจากสังคม”

 

Bootstrap Image Preview
 
“ทิสโก้มีนโยบายที่ชัดเจนเรื่องการไม่สนับสนุนการทุจริต คอร์รัปชันในทุกรูปแบบ เริ่มตั้งแต่การปลูกฝังจิตสํา นึก ไปจนถึง การปฏิบัติตามแนวทางอย่างเป็นรูปธรรมในทุกระดับตั้งแต่ ‘ผู้บริหาร’ จนถึง ‘พนักงาน’ โดยมองว่า ประเทศชาติจะขับเคลื่อน ไปอย่างเข้มแข็งได้ หากได้รับความร่วมมือจากองค์กรทุกภาคส่วน ซึ่งทิสโก้ในฐานะองค์กรภาคเอกชน มีความมุ่งมั่นที่จะเป็น พลังสํา คัญในการขจัดปัญหาดังกล่าวให้หมดไปจากสังคม”

คำกล่าวของ คุณอรนุช อภิศักดิ์ศิริกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทิสโก้ สะท้อน จุดยืนขององค์กรในการเลือกอยู่ข้างเดียวกับ ความถูกต้อง ซึ่งเป็นที่มาของการประกาศ เจตนารมณ์ร่วมกับ CAC ตั้งแต่ในปีแรก พร้อม เดินหน้าปฏิบัติตามคำประกาศตามเจตนารมณ์ โดยมีการออกเป็นนโยบายการต่อต้านการ ทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นรูปธรรม พร้อม สื่อสารให้พนักงานในทุกหน่วยงานได้เข้าใจ และร่วมทำกิจกรรมกับทาง CAC มาอย่าง ต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็สร้างจิตสำนึกให้ พนักงานตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาเป็นสมาชิกของ ทิสโก้ ผ่านการสื่อสารค่านิยมองค์กรทั้ง 6 ข้อ ซึ่ง 1 ในนั้น คือ เรื่อง “ความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม” (Integrity) เพื่อสร้าง “คนเก่ง คนดี” ในแบบ ทิสโก้ ให้มาปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ลาขาดจากคำว่า ทุจริตคอร์รัปชัน ตั้งแต่ต้น

บทพิสูจน์ความต่อเนื่องของเจตนารมณ์จาก การได้รับการต่ออายุใบรับรอง (Recertification) ยังคงมีความท้าทายรอยู่ข้างหน้า หลังใบประกาศ การรับรองซึ่งมีอายุ 3 ปี ถึงคราวครบกำหนด ซึ่งบริษัทที่จะยื่นต่ออายุ จะต้องกลับเข้าสู่ กระบวนการรับรองตั้งแต่ต้นอีกครั้ง ที่สำคัญ ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนกระบวนการรับรอง ตามที่ CAC ใช้อยู่ ณ เวลานั้นๆ ด้วย นั่นเท่ากับ ความยากของการถูกรับรองจะทวีขึ้นทุกปี แต่นั่น ก็ไม่ได้หยุดความตั้งใจจริงของทิสโก้ ที่จะให้ความ ร่วมมือในการเข้ากระบวนการรับรองตามรอบ ที่ CAC กำหนด เพื่อรักษามาตรฐานการเป็น องค์กรโปร่งใส มีแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่งตอกย้ำหน้าที่ ของภาคเอกชนที่ตระหนักรู้ และพร้อมให้ความ สำคัญกับการแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง

“ผลจากการเข้าร่วมโครงการ เราพบว่า พนักงานมีความตระหนักในเรื่องนี้มากขึ้น ทุกคนเริ่มมีมุมมองเดียวกัน ในการที่จะร่วม เป็นส่วนหนึ่งของสังคมช่วยลดปัญหาการทุจริต คอร์รัปชันลง”

ความเปลี่ยนแปลงของพนักงาน คือผลลัพธ์ เชิงบวกที่องค์กรได้รับจากโครงการน้ำดี ซึ่ง แผนในอนาคต ทิสโก้ยังมองที่จะขยายผลเรื่อง การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันไปสู่คู่ค้า ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน เริ่มจากการชักชวนให้ผู้เกี่ยวข้องได้มาร่วมเป็น ส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน โดยมีจดหมายสื่อสารไปยังทุกฝ่าย เพื่อให้รับรู้ถึงการเข้าเป็นสมาชิกแนวร่วม ปฏิบัติฯ CAC ของทิสโก้ และมีนโยบายด้าน การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันอย่างชัดเจน เพื่อหวังให้คู่ค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในฐานะ พันธมิตรที่ทิสโก้ให้ความสำคัญ จะได้เข้ามา ตระหนักรู้ในเรื่องนี้มากขึ้น และเลือกอยู่ในวิถี เดียวกันกับทิสโก้ คือไม่เอาการทุจริตคอร์รัปชัน รวมถึงหากพบเจอพฤติกรรมของพนักงาน หรือธุรกรรมที่น่าสงสัยและไม่เหมาะสม ก็มี ช่องทางให้แจ้งเบาะแสถึงทิสโก้ได้โดยตรงด้วย

เพื่อใช้พลังของทุกฝ่ายที่อยู่ร่วมในห่วงโซ่ ธุรกิจของทิสโก้มาช่วยกันผลักดัน จนขยับขยาย เป็นแนวร่วมที่ใหญ่ขึ้น เพื่อสร้างสังคมปลอด ทุจริตคอร์รัปชัน ให้เกิดขึ้นได้จริงในประเทศไทย

“ทิสโก้เป็นสถาบันการเงิน เรามีส่วนสำคัญ ทางเศรษฐกิจ และตระหนักดีว่า เราเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม จึงแสดงความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือ สังคมที่เราอยู่ โดยร่วมสร้างสังคมที่ดี เพื่อส่งมอบ ให้กับลูกหลานของเราต่อไป วันนี้เราอาจยัง เป็นปลาฝูงเล็กที่ว่ายอยู่ในกระแสน้ำแห่ง ธรรมาภิบาล แต่เชื่อว่าในอนาคตปลาฝูงนี้จะ ใหญ่ขึ้น และเมื่อทุกคนมาอยู่ในฝูงเดียวกันหมด ประเทศไทยก็จะปลอดจากปัญหาการทุจริต คอร์รัปชันได้อย่างแท้จริง”

เพื่อร่วมสร้างสังคมที่ใสสะอาด ปราศจาก การทุจริตคอร์รัปชัน ด้วยความร่วมมือกันของ ทุกฝ่าย ที่อยู่ในน่านน้ำสายเดียวกันนี้

“ทิสโก้ ESG เพื่อสังคม” นวัตกรรมการลงทุน เพื่อ CSR ยั่งยืน

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 38 | คอลัมน์ Exclusive

Bootstrap Image Preview
 

การทำดีเพื่อสังคม ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ “ให้แล้วหมดไป” แต่ยังมีอีกทางเลือกที่จะทำให้เม็ดเงินทุกบาททุกสตางค์ ที่ลงไปนั้นยังคงอยู่ และหมุนเวียนสู่การสนับสนุนสังคมได้อย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับ “กองทุนเปิด ทิสโก้ ESG เพื่อสังคม” มิติใหม่ของการลงทุน ที่ตกผลึกจากแนวคิด Philanthropic Investment เลือกลงทุนในหุ้นน้ำดี ESG100 ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ เพื่อสนับสนุนการทำ CSR อย่างยั่งยืน

แนวคิด Philanthropic Investment หรือ “การลงทุนสุนทาน” เป็นการลงทุนรูปแบบใหม่ ที่กำลังได้รับความนิยมในต่างประเทศ เมื่อ องค์กรต่างๆ เริ่มตระหนักว่า การบริจาคช่วยเหลือ สังคมในลักษณะ “ให้เปล่า” แบบสูญเงินต้นนั้น อาจไม่ใช่คำตอบที่ดีนักของการทำเพื่อสังคม อย่างยั่งยืน

การลงทุนสุนทาน จึงเข้ามาตอบโจทย์นี้ ด้วยรูปแบบการลงทุนระยะยาวในหลักทรัพย์ ของกิจการที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้าน ESG นั่นคือ สิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) โดยผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจะถูกนำมาจัดสรร ช่วยเหลือสังคม ขณะที่ทุนหรือเงินต้นนั้นยังคงอยู่ ทำให้องค์กรต่างๆ สามารถวางแผนช่วยเหลือ สังคมได้อย่างต่อเนื่อง มีงบประมาณสนับสนุนโครงการในระยะยาว และยั่งยืนขึ้น

“ตอนนี้ทุกๆ 3 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ของ เม็ดเงินลงทุนในโลก จะมี 1 เหรียญ ที่ใช้ข้อมูล ด้าน ESG มาประกอบการพิจารณาการลงทุน ซึ่งถือว่า มีนัยสำคัญมาก”

คำบอกเล่าจาก “ดร. พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์” ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ สะท้อนการ ลงทุนที่คำนึงถึงเรื่อง ESG ในการประเมินผล การดำเนินงานของบริษัทต่างๆ เป็นแนวทางใน การคัดเลือกและบริหารการลงทุน เพื่อตอบโจทย์ การลงทุนที่ยั่งยืน (Sustainable Investment) ซึ่งนักลงทุนทั่วโลกทุกวันนี้ ต่างให้การตระหนักถึง

ขณะที่ประเทศไทย “สถาบันไทยพัฒน์” ก็มีการจัดอันดับหลักทรัพย์ด้านการพัฒนาที่ ยั่งยืนของธุรกิจไทย ภายใต้ชื่อ “ESG100” โดยรวบรวมหุ้น 100 บริษัทที่จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งวิเคราะห์แล้วว่า โดดเด่น ทั้งด้านผลการดำเนินงาน และ ESG โดยในปี 2559 พบว่ามีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ทั้ง 100 บริษัท อยู่ราว 6.7 ล้านล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 50.7 เมื่อเทียบกับทั้งตลาด

ผลผลิตจากแนวคิดการลงทุนสุนทาน กลายมาเป็นต้นกำเนิดของ “กองทุนเปิด ทิสโก้ ESG เพื่อสังคม” ที่มีนโยบายลงทุนระยะยาว ในหลักทรัพย์หรือตราสารของกิจการในดัชนี ESG100 เน้นผลตอบแทนสม่ำเสมอ โดยที่ เงินต้นยังคงอยู่ เพื่อนำไปทำประโยชน์สู่สังคม ได้อย่างต่อเนื่อง

“คุณสาห์รัช ชัฎสุวรรณ” ผู้อำนวยการ สายการตลาด ธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลและ กองทุนรวม บลจ.ทิสโก้ บอกว่า ที่ผ่านมา ทิสโก้ ให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ ต่อสังคมมาโดยตลอด เราใช้ความรู้ความ เชี่ยวชาญของทิสโก้มาแบ่งปันสู่สังคม ด้วยการ ให้ความรู้ทางการเงินแก่เยาวชนและชุมชน จัดโครงการค่ายการเงินทิสโก้ และอบรมความรู้ การวางแผนการเงินแก่ชุมชนต่างๆ เพื่อปลูกฝัง ทัศนคติการออมและการสร้างวินัยทางการเงิน รวมทั้งการให้โอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียน ที่ขาดแคลน ผ่านมูลนิธิทิสโก้เพื่อการกุศล ซึ่ง ดำเนินการมากว่า 35 ปี

 

Bootstrap Image Preview
 
“ประเด็นด้าน ESG จะทวีความสํา คัญมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ผลจากการทํา ดีขององค์กรต่างๆ จะเริ่ม เห็นชัดขึ้นว่า ไม่ใช่แค่สร้างการยอมรับในสังคม แต่ยังสามารถสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจได้อย่างดีด้วย”

ด้วยจุดยืนที่เข้มแข็งนี้ จึงเป็นที่มาของการ จัดตั้งกองทุนเปิดทิสโก้ ESG เพื่อสังคมขึ้น โดยเริ่มจากผู้ลงทุนหลักคือ กลุ่มทิสโก้ ซึ่งเป็น หลักทรัพย์ที่อยู่ใน ESG100 ถึง 2 ปีซ้อน ร่วมกับ 5 บริษัทชั้นนำ ซึ่งทุกองค์กรต่างมี เจตนารมณ์ร่วมกันว่า ผลตอบแทนที่เกิดขึ้น จากการบริหารกองทุน จะนำกลับไปทำโครงการ CSR ตามปณิธานของแต่ละองค์กร ขณะที่ บลจ.ทิสโก้ ในฐานะผู้จัดการกองทุน ก็จะใช้ ความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการกองทุนนี้ ให้ได้ผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่ ผู้ลงทุนจะสามารถนำดอกผลไปทำคุณประโยชน์ สู่สังคมได้อย่างต่อเนื่อง

“กองทุน ทิสโก้ ESG เพื่อสังคม ไม่ได้ตั้งขึ้น ด้วยวัตถุประสงค์ด้านการลงทุนเพียงอย่างเดียว เท่านั้น ทว่ายังร่วมสนับสนุนการช่วยเหลือสังคม แบบยั่งยืน โดยเม็ดเงินที่ผู้ลงทุนนำมาลงทุนนั้น จะยังคงอยู่ตลอดไป ขณะเดียวกันผลตอบแทน ที่เกิด สามารถนำไปทำกิจกรรมเพื่อสังคมได้ อย่างต่อเนื่องด้วย จึงตอบโจทย์ความยั่งยืน ของการทำเพื่อสังคมได้อย่างแท้จริง”

“คุณนิพจน์ ไกรลาศโอฬาร” ผู้จัดการ กองทุน บลจ.ทิสโก้ ในฐานะผู้จัดการกองทุน เปิดทิสโก้ ESG เพื่อสังคม บอกถึงแนวโน้มใน อนาคตว่า ประเด็นด้าน ESG จะทวีความสำคัญ มากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ผลจากการทำดีขององค์กร ต่างๆ จะเริ่มเห็นชัดขึ้นว่า ไม่ใช่แค่สร้างการ ยอมรับในสังคม แต่ยังสามารถสร้างการเติบโต ให้กับธุรกิจได้อย่างดีด้วย

“จากนี้จะเริ่มเห็นเทรนด์การลงทุนที่เน้น ESG มากขึ้น และจะมีกองทุนในลักษณะนี้ เพิ่มขึ้นอีกมาก เบื้องต้นเราคาดหวังว่า กลุ่มองค์กร จะเริ่มสนใจการลงทุนตามคอนเซปต์นี้ ถึงที่สุด แล้วเมื่อผลตอบแทนดีจริงๆ ก็จะเริ่มเรียกความ สนใจจากนักลงทุนรายย่อยให้เข้ามามากขึ้น จนกลายเป็น Snowbal Effect ไปเรื่อยๆ” เขาบอก

ในอนาคต ทิสโก้เตรียมออกกองทุน ESG เพื่อขายให้กับนักลงทุนรายย่อย โดยที่ผู้ลงทุน จะยังได้ผลตอบแทนเหมือนการลงทุนทั่วไป ทว่า เงินในกองทุนนี้จะไปลงกับบริษัทที่ทำเรื่อง ESG ซึ่งเท่ากับได้ลงทุนและช่วยสังคมไปพร้อมกันด้วย;

ส่วนไทยพัฒน์เอง ก็เตรียมเสนอโมเดล “กองทุนธุรกิจเพื่อสังคม” (Social Business Venture) ที่ได้แนวคิดมาจาก “มูฮัมหมัด ยูนุส” ผู้ก่อตั้งธนาคารเพื่อคนจน “กรามีน” และ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ โดยหวัง จับมือกับองค์กรที่สนใจ ร่วมก่อตั้งกองทุนธุรกิจ เพื่อสังคม แล้วลงไปทำประเด็นทางสังคม ในมิติต่างๆ โดยที่เงินทุนไม่หาย แถมยังสามารถ หมุนเวียนกลับไปช่วยสังคมได้อย่างต่อเนื่องด้วย

“การจะทำเรื่องนี้ให้ประสบความสำเร็จ ได้นั้น ต้องสร้างให้เกิดระบบนิเวศ (Ecosystem) วันนี้เรามีของให้เลือกมากขึ้น เริ่มมีนักลงทุนที่ ใส่ใจในเรื่อง ESG เยอะขึ้น ก็ดีใจที่ได้ทิสโก้เป็น พาร์ทเนอร์ เพราะตั้งแต่ตลาดทุนเกิดขึ้น ในบ้านเรา ทิสโก้ก็เป็นผู้นำในการร่วมผลักดัน จนมีการเติบโต วันนี้เรามีเรื่อง ESG ผมคิดว่า ทิสโก้ ก็เป็นผู้นำในการผลักดันให้เกิด ESG ในบ้านเราเช่นเดียวกัน ซึ่งความร่วมมือเช่นนี้ สำคัญมาก” ดร. พิพัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย

เพื่อเปลี่ยนการลงทุน มาสู่การให้อย่างมี กลยุทธ์ ตอบโจทย์ “ความยั่งยืน” ได้ทั้งธุรกิจ สังคม และโลก