file

ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในปี 2017 จะแตกต่างไปจากปี 2016 เป็นอย่างมาก

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 39 | คอลัมน์ Asset Allocation

Bootstrap Image Preview

 

Bootstrap Image Preview
 

 

กำไรบริษัทจดทะเบียนจะกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี

 

เรามองว่า เงินเฟ้อและเศรษฐกิจที่เร่งตัวขึ้นในปี 2017 นี้ จะส่งผลให้กำไร ของบริษัทจดทะเบียนทั่วโลกที่ไม่ขยายตัวมาตั้งแต่ปี 2014 สามารถกลับมา ขยายตัวได้อีกครั้ง โดยอุตสาหกรรมหลักที่ฉุดรั้งการเติบโตของกำไรในปี 2016 ได้แก่ กลุ่มธนาคาร (-3.2%) ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ และกลุ่มพลังงาน (-52.8%) ที่ถูกกดดันจากราคาน้ำมัน และทำให้กำไรหดตัวแรง ในปีที่ผ่านมา แต่ในปี 2017 แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่กลับเป็นขาขึ้น และการ ฟื้นตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะช่วยให้กำไรใน 2 อุตสาหกรรมนี้ฟื้นตัวขึ้น และทำให้กำไรของตลาดหุ้นโลกกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี

เรายังคงแนะนำ Overweight ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และอินเดีย

การเร่งตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจและการกลับมาขยายตัวของผลกำไร ของบริษัทจดทะเบียนเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี น่าจะทำให้ปี 2017 เป็นอีกปีที่ดี ของตลาดหุ้น โดยเรายังคงคำแนะนำ Overweight ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่จะได้ประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของนาย Trump ส่วนตลาดหุ้น ญี่ปุ่น ยังมีปัจจัยบวกจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่า ประกอบกับ Valuation ที่ยังถูก และการเติบโตของกำไรที่ต่อเนื่อง ส่วนตลาดหุ้นอินเดียที่ปรับฐานจากผลกระทบ ของการยกเลิกการใช้ธนบัตร น่าจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวเพียงระยะสั้น แต่ใน ระยะยาวศักยภาพในการเติบโตของเศรษฐกิจและกำไรยังอยู่ในเกณฑ์ดี

 

ความเสี่ยงที่สำคัญในปี 2017 ได้แก่

 

1) Bond Yield ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเร็วอาจส่งผลกระทบต่อ Valuation ของตลาดหุ้น Bond Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่นาย Trump ชนะการเลือกตั้งในวันที่ 8 พ.ย. เนื่องจากนโยบายการคลัง เช่น การลดภาษี และเพิ่มการลงทุนภาครัฐ จะส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐฯ ขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น และจำเป็นต้องออกพันธบัตรเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นแรงกดดันให้ Bond Yield ในสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นตามราคาน้ำมันหลัง OPEC บรรลุข้อตกลงลดการผลิตน้ำมัน

Bond Yield ที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อ Valuation ของตลาดหุ้น เนื่องจากเป็นอัตราคิดลดที่ใช้อ้างอิงในการคำนวณมูลค่าเหมาะสม ของตราสารทางการเงิน เราประเมินผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของ Bond Yield โดยใช้ Fed Model ซึ่งเปรียบเทียบ Earning Yield (สัดส่วนกำไร สุทธิต่อราคาหุ้น หรือส่วนกลับของค่า P/E Ratio) กับ Yield พันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐฯ โดยในปัจจุบัน Earning Yield ของดัชนี S&P500 อยู่ที่ราว 5% (Trailing P/E ที่ 20 เท่า) ในขณะที่ Yield พันธบัตร 10 ของสหรัฐฯ อยู่ที่ราว 2.5% ทำให้ส่วนต่างระหว่าง Earning Yield และ Bond Yield อยู่ที่ 2.5%

เราประเมินว่าส่วนต่างระหว่าง Earning Yield กับ Bond Yield ที่เหมาะสมควรอยู่ที่ประมาณ 2% โดยอ้างอิงจากช่วงปี 2004-2007 ซึ่งเป็นช่วง ที่เศรษฐกิจฟื้นตัวจาก Dot Com Crisis และ Fed เริ่มทยอยขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งเป็นช่วงที่ใกล้เคียงกับภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน จากสมมติฐานดังกล่าว เราสรุปได้ว่า Valuation ของตลาดหุ้นจะยังไม่ได้รับผลกระทบตราบใดที่ Yield พันธบัตร 10 ของสหรัฐฯ ยังไม่เพิ่มสูงเกินกว่า 3% (Earning Yield ทรงตัวที่ 5% เท่ากับในปัจจุบัน หักด้วย Bond Yield 3% ทำให้เหลือส่วนต่างที่ 2% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสม ซึ่งหาก Bond Yield เพิ่มขึ้นเกินกว่า 3% จะทำให้ส่วนต่างเหลือไม่ถึง 2% ซึ่งเรามองว่าต􀁬่ำเกินไป และอาจทำให้ Valuation ของตลาดหุ้นต้องปรับลดลง)

 

Bootstrap Image Preview
 

2) ปัญหาการเมืองและการเลือกตั้งในยุโรป ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้น โดยเฉพาะในช่วงการเลือกตั้งของเนเธอร์แลนด์ ในวันที่ 15 มี.ค. และการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ในวันที่ 23 เม.ย.

3) ราคาน้ำมันที่อาจกลับมาลดลงหากผู้ผลิตน้ำมันไม่ลดการผลิตตามที่ตกลง ราคาน้ำ มันปรับตัวขึ้นแรงในช่วงต้นเดือน ธ.ค. หลังผ้ผู ลิตน้ำ มันในกล่มุ OPEC ร่วมกับรัสเซีย และผ้ผู ลิตน้ำ มันรายใหญ่อื่นๆ ตกลงลดปริมาณ การผลิตน้ำมันในปีหน้า ซึ่งจะทำให้อุปทานน้ำมันดิบลดลงต่ำกว่าอุปสงค์ ส่งผลให้สต็อกน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูงเริ่มปรับตัวลดลง

อย่างไรก็ดี แนวโน้ม การลดลงของอปุทานน้ำมันดิบอาจไม่เป็นตามที่คาดเนื่องจากยังมีความเสี่ยงที่ประเทศสมาชิกจะไม่ลดการผลติ น้ำมันลง ตามที่ตกลงกัน รวมทั้งแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการผลิต Shale Oil จากสหรัฐฯ อาจทำให้อุปทานเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดและกดดันราคาน้ำมัน ให้ปรับตัวลดลงในปีหน้า

 

Bootstrap Image Preview
 

4) ปัญหาเงินทุนไหลออกจากจีน เราคาดว่าค่าเงินหยวนจะมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องจาก 6.9 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในปัจจุบันเป็น 7.4 หยวน ต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นปี 2017 ซึ่งค่าเงินหยวนที่อ่อนค่าลง ประกอบกับเศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า อาจส่งผล ให้เงินทุนไหลออกจากจีนอย่างต่อเนื่อง และกดดันการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก

 

Bootstrap Image Preview