file

ลงทุนตลาดหุ้นยุโรปน่าสนใจหรือยัง?

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 41 | คอลัมน์ Wealth Manager Talk

นับตั้งแต่ผลการลงประชามติของสหราชอาณาจักรว่าประชาชนส่วนใหญ่ออกเสียงให้สหราชอาณาจักร ออกจากสหภาพยุโรป (EU) หรือ Brexit นั้น นักวิเคราะห์หลายสำนักแนะนำว่าการลงทุนในตลาดหุ้นยุโรป ไม่น่าสนใจ เนื่องด้วยความเสี่ยงทางการเมืองของยุโรปมีมากขึ้น โดยผล Brexit อาจทำให้เกิดแนวคิดต่อต้าน สหภาพยุโรปแผ่กระจายไปยังประชาชนหลายๆ คนของประเทศในยุโรปมากขึ้น จนอาจเกิดกระแสเรียกร้อง ให้มีการจัดตั้งการลงประชามติเช่นเดียวกับสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ สถานะทางการเงิน ณ ขณะนั้นของธนาคารพาณิชย์ในยุโรป โดยเฉพาะอิตาลีมีหนี้เสีย (NPLs) ที่สูงจนเกินไปที่ 3.6 แสนล้านยูโร หรือคิดเป็น 16% ของสินเชื่อรวมทั้งประเทศ และข้อบังคับของ EU ในขณะนั้น (EU Bank Recovery and Resolution Directive) รัฐบาลอิตาลีไม่สามารถอัดฉีดเงินเพื่อช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์ที่มีปัญหาได้

 

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้นักวิเคราะห์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการลงทุน ในตลาดหุ้นยุโรป แต่เมื่อกลับมาประเมินอัตราผลตอบแทนของตลาดหุ้น ยุโรปกลับพบว่า ภายหลังจากเกิด Brexit จนถึงปัจจุบัน ตลาดหุ้นยุโรป มีอัตราผลตอบแทนถึง 26.12% เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดห้นุ ขนาดใหญ่ และตลาดหุ้นไทย เป็นอันดับ 2 รองจากตลาดหุ้นญี่ปุ่นเท่านั้น

นับว่าอัตราผลตอบแทนของตลาดหุ้นยุโรปต่างจากที่นักวิเคราะห์ ประเมินไว้อย่างมาก เนื่องจากภายหลัง Brexit นั้นมีสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านการเมืองรวมถึงด้านเศรษฐกิจที่สนับสนุน การปรับขึ้นของตลาดหุ้นได้ดังนี้

ด้านสถานการณ์การเมืองในยุโรป ในช่วงหลังจากเกิด Brexit ไป จนถึงผลการเลือกตั้งในสหรัฐฯ ที่นาย Donald Trump ได้รับเลือก ให้เป็นประธานาธิบดีนั้น กระแสต่อต้าน EU ในประเทศที่กำลังจะจัด เลือกตั้งมีมากขึ้น สะท้อนจากคะแนนความนิยมของพรรคการเมือง ที่ชูนโยบายต่อต้าน EU ที่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อเกิดการเลือกตั้งขึ้นในประเทศ ที่ผลสำรวจความนิยมพรรคการเมืองที่ต่อต้าน EU สูงกว่าพรรคอื่นๆ และมีความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การจัดทำประชามติเพื่อออกจาก EU นั้น กลับไม่ได้เลวร้ายตามผลสำรวจ อย่างเช่น การเลือกตั้งในประเทศ เนเธอร์แลนด์ พรรค Party of Freedom (PVV) ที่เน้นนโยบายต่อต้าน EU ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เนื่องจากได้จำนวนที่นั่งในสภาเพียง 20 ที่นั่ง หรือคิดเป็น 13.1% และพรรคการเมืองขนาดใหญ่อื่น ไม่ร่วมมือกับพรรค PVV ในการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้พรรค People’s Party for Freedom and Democracy (VVD) ซึ่งเป็นพรรคที่ได้รับ จำนวนที่นั่งในสภาเป็นอันดับ 1 ที่ 33 ที่นั่ง และเป็นพรรครัฐบาลเดิม มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลได้ง่ายกว่า

 

Bootstrap Image Preview
 

 

ขณะที่ผลการเลือกตั้งประเทศฝรั่งเศส นาย Emmanuel Macron ที่มีนโยบายเป็นกลาง ไม่ได้ต่อต้าน EU เป็นฝ่ายได้รับเลือกให้เป็น ประธานาธิบดีเหนือนาง Marine Le Pen ที่เน้นนโยบายต่อต้าน EU เช่นกัน และผลการเลือกตั้งฝรั่งเศสทำให้สถานการณ์การเมืองของ เยอรมันที่จะจัดการเลือกตั้งในวันที่ 24 ก.ย. นี้ดีขึ้น โดยผลสำรวจความ นิยมล่าสุดพบว่า พรรค Christian Democratic Union (CDU) ที่มี นาง Angela Merkel นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันและผู้ท้าชิงในการ เลือกตั้งรอบนี้ มีคะแนนความนิยมอยู่ที่ 36% รวมถึงพรรค Social Democratic Party (SPD) ที่มีนาย Martin Schulz เป็นตัวแทนของ พรรคได้รับความนิยมที่ 28% ส่วนพรรค Alternative for Germany (AfD) ซึ่งมีนโยบายต่อต้าน EU นั้น มีคะแนนเพียง 9% เท่านั้น ทำให้ ณ ปัจจุบัน สถานการณ์การเมืองในภูมิภาคยุโรปเริ่มผ่อนคลายลง หลังจากการเลือกตั้งไปแล้ว 2 ประเทศ

ด้านเศรษฐกิจนั้น ถึงแม้นักวิเคราะห์ประเมินว่า หลังจากเกิด Brexit อาจทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปชะลอตัวลง แต่ตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาจนถึงปัจจุบันสวนทางกับที่นักวิเคราะห์ ประเมินไว้ โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม (Composite PMI) ของ ยูโรโซนที่เป็นดัชนีชี้วัดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต ตั้งแต่ เดือน ต.ค. นั้นเพิ่มขึ้นมาต่อเนื่อง จนล่าสุดเดือน พ.ค. อยู่ที่ 56.8 จุด โดย PMI ที่มีค่ามากกว่า 50 จุด บ่งชี้ว่ามีการขยายตัวของกิจกรรมทาง เศรษฐกิจ และข้อมูลปัจจุบันเป็นค่าที่มากที่สุดในรอบ 6 ปี สอดคล้อง กับแนวโน้มการรายงานผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 1 ปี 2017 ที่ออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้มาก โดยภาพรวมของบริษัท จดทะเบียนที่คำนวณอยู่ใน MSCI Europe พบว่ากำไรของบริษัท จดทะเบียนเติบโต 19.7% ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้เพียง 15.3% ซึ่งทิศทางการฟื้นตัวเศรษฐกิจในยุโรปเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ตลาดหุ้น กลุ่มยุโรปทุกประเทศมีผลตอบแทนที่สูงเป็นลำดับต้นๆ เมื่อเทียบกับ ตลาดหุ้นชั้นนำทั่วโลก

ยิ่งไปกว่านั้น ตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับแรงหนุนจากการกระตุ้นเศรษฐกิจ ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) อยู่ โดยในปัจจุบัน ECB คงอัตราดอกเบี้ย ที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ -0.4% เพื่อกระตุ้นการปล่อย สินเชื่อ รวมถึงการเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจด้วย QE ในวงเงิน 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนไปจนถึง ธ.ค. 2017 และนาย Mario Darghi กล่าวว่ายังเปิดโอกาสที่จะขยายระยะเวลา QE รวมถึงนโยบาย การเงินแบบผ่อนคลายอื่นๆ ต่อไป ถ้าเงินเฟ้อยังไม่เติบโตสู่ระดับ 2% อย่างยั่งยืน

ด้านภาคธนาคารพาณิชย์ในยุโรปนั้น ผลการทดสอบสภาวะวิกฤติ (Stress Test) สำหรับธนาคารในยุโรปจำนวน 51 แห่งพบว่า มีเพียง ธนาคาร Monte dei Paschi ของอิตาลี และ Allied Irish ของไอร์แลนด์ เท่านั้นที่เมื่อทดสอบกรณีเกิดสภาวะวิกฤติในระยะเวลา 3 ปี สัดส่วน เงินกองทุนขั้นที่ 1 ของธนาคารทั้ง 2 แห่ง ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ ECB กำหนด ไว้ที่ 4.5% (-2.4% และ 4.3% ตามล􀁬ำดับ) และกว่า 75% ของธนาคาร ที่รับการทดสอบ สามารถดำรงสัดส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 ได้มากกว่า 8% ทำให้ความกังวลในภาคธนาคารของยุโรปลดลงไป

 

Bootstrap Image Preview
 

 

เหตุการณ์ต่างๆ ทั้งด้านการเมืองหรือด้านเศรษฐกิจที่กล่าวไป ข้างต้นจะดูเหมือนว่าตลาดหุ้นยุโรปสดใส สามารถลงทุนได้ แต่ถ้า ประเมินอนาคตนั้นยังมีเหตุการณ์หลายอย่างที่การลงทุนในตลาดหุ้น ยุโรปยังคงมีความเสี่ยงอยู่หลายประการ ดังนี้

ถึงแม้การเลือกตั้งทั่วไปของประเทศเยอรมันที่จะจัดขึ้นในวันที่ 24 ก.ย. นี้ น่าจะเป็นนาง Merkel ที่จะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อไปอีกสมัย แต่สถานการณ์การเมืองในอิตาลียังคงมีความเสี่ยง โดย นาย Matteo Renzi ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค Democratic Party (PD) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลปัจจุบัน ทำให้พรรค PD ขาดเสถียรภาพไป และมีโอกาสที่พรรค PD จะยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ให้เร็วขึ้นจากเดิมที่คาดว่าจะเลือกตั้งในช่วงเดือน พ.ค. 2018 โดยคะแนน ความนิยมของพรรค PD เมื่อต้นเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมานำพรรค Five Star Movement (M5S) ที่ชูนโยบายต่อต้านสหภาพยุโรปอยู่เพียง 2.2% ผลที่เกิดขึ้นอาจทำให้รัฐบาลในอนาคตอาจขาดเสถียรภาพ ในการดำเนินนโยบายและอาจทำ ใหก้ ารเติบโตทางเศรษฐกจิ ของอิตาลี ช้ากว่าประเทศอื่นๆ ในยุโรป รวมไปถึงการแก้ปัญหาภาคธนาคาร ของอิตาลีจะเป็นไปอย่างยากลำบากยิ่งขึ้นจนอาจฉุดการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซน เนื่องจากขนาดเศรษฐกิจของอิตาลี ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของกลุ่ม (คิดเป็น 16% ของ GDP ยูโรโซน)

ในด้านเศรษฐกิจนั้น ถึงแม้กำไรในไตรมาสที่ 1 ปีนี้ที่บริษัท จดทะเบียนรายงานออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ แต่ระดับดัชนีของ STOXX 600 อยู่ที่บริเวณ 15.4 เท่าในปัจจุบัน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต 10 ปีย้อนหลังราว 20% เพราะฉะนั้นตลาดหุ้นยุโรปที่ซื้อขายกัน ณ ปัจจุบันยังมีราคาแพงกว่าในอดีตถึง 20% ซึ่งนับว่าไม่น่าลงทุน

 

Bootstrap Image Preview
 
ยิ่งไปกว่านั้น ตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับ แรงหนุนจากการกระตุ้นเศรษฐกิจ ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) อยู่ โดยในปัจจุบัน ECB คงอัตราดอกเบี้ย ที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ -0.4% เพื่อกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อ รวมถึงการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ เศรษฐกิจด้วย QE ในวงเงิน 6 หมื่นล้าน ยูโรต่อเดือนไปจนถึง ธ.ค. 2017

นอกจากนี้ประเทศกรีซยังมีความเสี่ยงฐานะทางการคลังของ ประเทศ ซึ่งในเดือน ก.ค. กรีซมีกำหนดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในยุโรป คิดเป็นมูลค่า 8.3 พันล้านยูโร ซึ่งมากที่สุดในปีนี้และกลุ่มเจ้าหนี้ ยังตกลงกันไม่ได้ว่าจะปล่อยเงินกู้รอบที่ 3 ให้แก่กรีซเพื่อให้กรีซมีเงิน ไปชำระหนี้ในเดือนดังกล่าวหรือไม่

ถึงแม้ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจของยูโรโซนจะบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจ กลุ่มยูโรโซนเติบโตดีขึ้นมากในรอบหลายปี จนทำให้นักลงทุนเกิด ความสงสัยว่าตลาดหุ้นยุโรปสามารถกลับเข้าไปลงทุนได้แล้วหรือยัง เมื่อพิจารณาจากข้อมูลข้างต้นแล้วพบว่าสถานการณ์ในอนาคตทั้งด้าน การเมืองหรือด้านเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปยังมีความไม่แน่นอน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการลงทุน รวมไปถึงมูลค่าหุ้นของกลุ่มยูโรโซน ที่ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับในอดีต การกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นยุโรป ช่วงเวลานี้จึงอาจยังไม่ใช่จังหวะการลงทุนที่ดีนัก