file

'เบทาโกs' ปรับปรุงคุณภาพชีวิตชุมชน ผ่านโมเดล Holistic Area-based Community Development

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 42 | คอลัมน์ Giving

Holistic Area-based Community Development หรือการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบองค์รวม คือการพัฒนาชุมชนในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และการศึกษา ได้กลายมาเป็นแผนแม่บท CSR ฉบับ “เบทาโกs” จนเกิดเป็น “โมเดลช่องสาริกา” ที่ผลักดันให้ชุมชนเข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
 

"เบทาโกร" หยิบเอาแนวคิด “การพัฒนา เชิงพื้นที่แบบองค์รวม” (Holistic Area Based Community Development) มาเป็นกรอบหลักในการเข้าไปดูแลชุมชน และ “โมเดลช่อง สาริกา” ก็ถือเป็นชุมชนต้นแบบที่ผลักดันให้เส้นทางของการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบองค์รวมเป็นสิ่งที่จับต้องได้ ใช้ได้จริงในชีวิตประจําวัน และเห็นผลลัพธ์ทําให้คุณภาพชีวิตของชุมชนดีขึ้น

คุณวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เครือเบทาโกร (Betagro Group) บอกว่าการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบองค์รวม เป็นกระบวนการเรียนรู้ของเบทาโกร ที่ลองผิดลองถูก และปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา โดยจุดยืนของแนวคิดนี้คือ การเข้าไปโฟกัสพื้นที่เป้าหมาย แล้วพัฒนาใน 5 เรื่อง ได้แก่ การศึกษา อาชีพ สุขภาพ สังคม และ สิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิต

CSR (Corporate Social Responsibility : ความรับผิดชอบสังคมขององค์กร) กลายเป็นก ระแสหลักของธุรกิจน้อยใหญ่ทุกวันนี้ ถือเป็น ส่วนหนึ่งของการทําธุรกิจให้ประสบความ สําเร็จอย่างยั่งยืน เพราะถ้าชุมชน สังคม และ สิ่งแวดล้อม ยืนอยู่ไม่ได้ ธุรกิจก็จะพลอยยืน อยู่ไม่ได้ไปด้วย

file

จึงมีธุรกิจจํานวนไม่น้อยที่กําหนดวาระ เฉพาะทางในการเข้าไปช่วยเหลือชุมชนและ สังคม เช่น การศึกษา สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และ อื่นๆ อีกมากมาย ที่เป็นความถนัดขององค์กร หรือเชื่อมโยงโดยตรงกับธุรกิจที่ทําอยู่ คุณวนัส ให้นิยามการทํา CSR แบบเข้าไปช่วยสังคมเป็น บางเรื่อง แต่ทําหลาย ๆ ที่ ว่าเป็นกลยุทธ์แบบ ดาวกระจาย คือ มีหลายประเด็น CSR ที่ กระจายตัวอยู่ในหลายพื้นที่

แต่แนวทางที่เบทาโกรเลือกทําคือ การเข้าไป ช่วยน้อยพื้นที่ แต่เต็มที่ในทุกเรื่อง ซึ่งก็ใช่ว่า การที่เบทาโกรจะเข้าไปช่วยในบางพื้นที่ แล้ว ทุกสิ่งจะเป็นไปได้หมด แต่ด้วยความไม่ยอมแพ้ ภายใต้หลักการเดียวกับการทําธุรกิจ ทําให้ เบทาโกรสามารถเปลี่ยนบางสิ่งที่ทําไม่ได้ ให้ เป็นไปได้ และเลือกที่จะเรียนรู้เติบโตไปกับมัน

“โมเดลช่องสาริกา" เปรียบเสมือน Workbased Learning ทั้งกับเบทาโกรและชุมชน ต.ช่องสาริกา อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี คือหัด ทําไปเรียนรู้กันไป ที่กว่าจะตั้งลําได้ก็เอาเลือด ตาแทบกระเด็น และเป็นอีกกรณีศึกษาที่น่า สนใจ ของการสร้างความร่วมแรงร่วมใจ ระหว่างธุรกิจและชุมชน ที่ช่วยกันแก้ปัญหา จนชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้

เบทาโกรเริ่มต้นแนวคิด CSR จากความ ไม่รู้อะไรเลยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว จากกรอบความคิดง่ายๆ ว่าบริษัทเป็นธุรกิจที่โตมากับเกษตรกร และชุมชนจึงอยากทําธุรกิจที่พัฒนาชุมชนไปพร้อมกันด้วย จากความคิดที่เรียบง่ายแต่พอลงมือทําจริง ไม่มีอะไรมาง่ายๆ เหมือนปอกกล้วย จึงต้องอาศัยแรงจาก “สมาคมพัฒนาประชากร และชุมชน" (PDA) เข้ามาปฏิบัติงานด้านการ พัฒนาชุมชนตําบลช่องสาริกาโดยเฉพาะ ทําให้เบทาโกรเริ่มจับติดแนวคิดที่เป็นทฤษฎี การจัดการชุมชน

ผ่านไป 4 ปี พอเข้าสู่ปี 2555 บริษัทก็เริ่ม พัฒนาแนวทางCSR ของตัวเอง โดยผนวกเอา จุดแข็งของการทําธุรกิจ ที่ว่าด้วยเรื่องของการปรับปรุงกระบวนการผลิตในโรงงาน (หลักไค เซ็น) เอามาขยายผลการประกอบอาชีพหลักของคนในชุมชนตําบลช่องสาริกา จากการมองว่าการที่ธุรกิจเข้าไปส่งเสริมอาชีพหลัก จะทําให้ชุมชนมีโอกาสพึ่งตัวเองได้มากกว่า

เมื่อเบทาโกรเข้าไปลุยงาน CSR เต็มตัว ภายใต้การดูแลของ “สํานักกิจกรรมเพื่อ สังคม” (Corporate Social Contribution - CsC) ในพื้นที่ช่องสาริกา ก็พบว่ายังมีอีก หลายองค์ประกอบที่ทําให้คนในชุมชนมีความ เป็นอยู่ที่ดี นอกเหนือจากอาชีพหลัก และการ สางปมปัญหาจากปัจจัยทางด้านอาชีพหลัก เพียงด้านเดียวอาจจะไม่ได้แก้ปัญหาของ คนในชุมชน เบทาโกรจึงเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ลองศึกษาเพิ่มเติมและได้เห็นว่าปัญหาในชุมชนมีความเชื่อมโยงกัน ต่อมาจึงได้ขยายผลไปทําในเรื่องสุขภาพเพิ่มขึ้น โดยในเบื้องต้นโฟกัสกลุ่มเป้าหมาย เด็กป่วย กับผู้ป่วยติดเตียง

file

“อยู่ไปอยู่มาทีมงานเริ่มตกผลึกความคิด อีกว่า การส่งเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกเหนือจากเรื่อง การศึกษา อาชีพ และ สุขภาพแล้วควรเพิ่มเติมเรื่องของ สังคม และ สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ครบ loop วงจรการหาเลี้ยงชีวิตและการใช้ชีวิต สุดท้ายจึงครบองค์ประชุมตามหลักการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบองค์รวม”

ในขณะที่เบทาโกรใช้กลยุทธ์การบริหาร งานแบบญี่ปุ่น “ไคเซ็น” (Kaizen) เข้ามาลด หรือเลิกขั้นตอนส่วนเกินในระบบผลิตของ โรงงาน พยายามปรับปรุงทุกอย่างให้ดีขึ้นแม้ เพียงเล็กน้อย เมื่อคุณวนัสเอามาประยุกต์ใช้ กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน เขาเลยตั้งชื่อเรียกเป็นเวอร์ชั่นแบบไทยๆ ว่า “วิชาปรับปรุงงาน” หนึ่งในกรณีศึกษาคลาส สิกของไคเซ็นคือ โตโยต้า ประเทศไทย เคย หยิบเอาหลักการเดียวกันนี้ ไปปรับปรุงการทํา แกงไตปลา เพื่อสร้างอาชีพให้กับชุมชน เป็นการช่วยโดยไม่หวังผลแบบเดียวกับเบทา โกร และต่างก็อยู่ภายใต้เป้าหมายเดียวกันคือ อยากช่วยให้สังคมและประเทศชาติดีขึ้น

"วิชาปรับปรุงงานเป็นหลักการพื้นฐาน เราสามารถเริ่มต้นเองได้ โดยไม่ต้องไปหาของดี จากที่ไหนเราแค่เอาคนที่เก่งที่สุดที่เรามีอยู่มาสอนคนอื่นๆ แค่นี้ก็จะช่วยยกมาตรฐาน โดยรวมให้ดีขึ้นแล้ว” คุณวนัสกล่าว

เครื่องมือการจัดการอีกตัวหนึ่งที่เบทาโกร เอามาเสริมทีมกับไคเซ็นคือ “วิชาอุดมคติ" (Ideal Management) หมายถึงการบริหารจัดการเพื่อให้ไปถึงจุดอุดมคติของเรื่องนั้น ๆ ซึ่งก็คือ จุดที่ดีที่สุดเปรียบเทียบง่ายๆ คือ ไคเซ็นเป็นตัวเลขเป้าหมายการปรับปรุงงาน เช่น ตั้งเป้าลดของเสีย 3% หรือ 5% แต่อุดมคติจะสอนให้มองจากขวาไปซ้าย หาค่าอุดมคติที่ดี ที่สุดว่าคืออะไร เอาไปหักออกจากข้อจํากัดแล้วค่อยไปตั้งเป้าหมาย เป็นการคํานวณความ เป็นไปได้ มองว่ามันทําได้ถึงลงมือทําไม่ใช่ความคิดแบบคุยโวบ้าบินโดยปราศจากข้อ สมมติฐาน

file

เบทาโกรถอดบทเรียน 7 กลยุทธ์ขับเคลื่อนการพัฒนา หลังผ่านร้อนผ่านหนาวกับ “โมเดลช่อง สาริกา”

1. การเตรียมทีมงานของเบทาโกร

ให้มีความเข้าใจ และมองเป้าหมาย หรือภาพสุดท้ายที่อยากให้ชุมชนเป็น โดยไม่ลงราย ละเอียดของกิจกรรม แต่สร้างความเข้าใจกับทีมงานให้เห็นภาพรวมร่วมกันว่าอยากทําอะไรให้ชุมชนเพื่อนําไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี แล้วจึงเริ่มวางแผนงานกิจกรรมย่อยในขั้นตอนถัดไป ด้วยการเตรียมทีมงานนี้ทําให้ทีมมองเห็นภาพรวมที่ชัดเจน

2. การสร้างความสนิทสนม

เป็นจุดเริ่มต้นในการเข้าไปคลุกคลีกับชุมชน โดยผ่านกิจกรรมชุมชน เช่น ธนาคาร ชุมชนทําให้เกิดความคุ้นเคยระหว่างทีมงานกับชาวบ้าน และระหว่างชาวบ้านกับชาวบ้านที่ช่วยสร้างการรวมกลุ่มของคนในชุมชนเกิดกิจกรรมต่างๆ ตามมา นอกจากนี้การสร้างความสนิทสนมยังทําให้เกิดความไว้ใจ เปิดใจ และอยากทํางานพัฒนาร่วมกันสังเกตจาก ปัญหาเชิงลึกบางเรื่องที่ไม่สามารถทราบได้จากการทําแบบสํารวจ นอกจากนั้นจากการทํากิจกรรมร่วมกัน ทีมงานยังสามารถสอดแทรกการทํางานอย่างมีระบบชวนให้คิดให้ทําอย่างสร้างสรรค์

3. การวิเคราะห์และทําความเข้าใจปัญหา

เป็นการวิเคราะห์เชิงระบบ เพื่อทําความ เข้าใจปัญหาด้วยการมองภาพรวมปัญหาจาก ข้อเท็จจริง แล้วนํามาวิเคราะห์ หากระบวน การในการพัฒนา โดยใช้หลักวิชาการประกอบ เช่น การวิเคราะห์ปัญหาผลผลิตในการเพาะ ปลูกมันสําปะหลัง ด้วยการศึกษาขั้นตอนการ เพาะปลูกเดิม เปรียบเทียบวิธีการเพาะปลูกตามหลักวิชาการว่า ขั้นตอนใดทําถูกต้องแล้ว หรือขั้นตอนใดควรปรับปรุง รวมถึงการวิเคราะห์ธาตุในดินว่ามีสารใดอยู่บ้าง จากนั้นจึงค่อยเติมธาตุที่จําเป็นเข้าไป เป็นต้น

4. วางแผนโดยจัดการขั้นพื้นฐาน

ป็นการลงรายละเอียดกิจกรรมย่อยต่างๆ ลงในแผน เพื่อปรับปรุงงานด้วยการปรับปรุง ไปทีละเล็กทีละน้อยตามกําลังของแต่ละราย

file

5. การลงมือปฏิบัติตามแผนกิจกรรม ที่วางไว้

พร้อมให้แนวทางปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ตามหลักการ PDCA (Plan-do-check-act) โดยดึงความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น มหาวิทยาลัย องค์กรท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในด้านองค์ความรู้ หรือเทคโนโลยีใหม่ ในขณะที่ชาวบ้านกําลังปรับปรุงงาน

6. การขยายผลในพื้นที่

เบทาโกรมีเป้าหมายขยายผลในพื้นที่ให้ได้ ร้อยละ 80 ทั้งในด้านปริมาณ (จํานวนครัวเรือน จํานวนเกษตรกร) และด้านคุณภาพ (ผลผลิต ต่อไร่ กําไรครัวเรือน) เพื่อเป็นชุมชนต้นแบบที่สร้างผลกระทบผลเชิงบวก (impact) ต่อชุมชน และสามารถถอดบทเรียนนําไปขยายผลสู่พื้นที่อื่นได้ ช่วยลดระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่อื่นให้สั้นลง ใช้ทรัพยากรคนน้อยลง เพิ่มประสิทธิภาพงานให้มากขึ้น ตามแนวคิดผลิต ภาพ (Productivity)

7. ขยายงานผ่านเครือข่ายเบทาโกร

คือการนําเอาบทเรียนจากโมเดลของสาริกา ไปขยายผลสู่พื้นที่อื่นต่อไป ด้วยความร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆ เช่น สํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ (สํานักงาน กปร.) มูลนิธิปิดทองหลังพระ และสถาบันการศึกษา เป็นต้น

file

วิชาปรับปรุงงานเป็นหลักการพื้นฐาน เราสามารถเริ่มต้นเองได้ โดยเราแค่เอาคนที่เก่งที่สุดที่เรามีอยู่มาสอนคนอื่นๆ แค่นี้ก็จะช่วยยกมาตรฐานโดยรวม ให้ดีขึ้นแล้ว

คุณวนัสบอกว่า การทํา CSR ถ้าอยากให้ ต่อเนื่องและยืนระยะอยู่ได้ อย่าทําอะไรแบบเดิมๆ เหมือนที่เคยทํามา เพราะมันเป็นความเคยชินลองหาอะไรที่ฉีกไปจากเดิม เช่น แบ่งพื้นที่บางโซนเอามาโฟกัส และลงมือทําอย่างเข้มข้น เพื่อหาข้อเปรียบเทียบว่ามันเหมือนหรือต่างจากสิ่งที่เคยทํามาหลายปีอย่างไร ให้เริ่มจากเล็กๆ เหมือนกับที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านสอนว่า อย่าเพิ่งไปเชื่อว่ามันดีให้ลองทําดูก่อน

“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกเรื่อง เพราะเป็นหลัก สากล แต่โดยส่วนตัวแล้วผมมองว่าจะเวิร์ก สําหรับเกษตรกรรายย่อย เพราะสิ่งที่มีพลัง ที่สุดสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดกับคนเล็ก ๆ ในสังคมมากกว่า ถ้าเอาเรื่องเดียวกันไปบอกกับคนในวงการการเงินว่าอย่าใช้จ่ายเกินตัว จะมีความเสี่ยงสูงต้องมีภูมิคุ้มกันก็เป็นหลักสากลที่ทุกคนรับรู้กันอยู่แล้ว" ผู้บริหารกล่าว

“โมเดลช่องสาริกา” หรือแนวทาง “การพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบแบบองค์รวม” นับเป็นแผนแม่บทฉบับเล็ก ๆ ที่เป็นความพยายาม และความตั้งใจจริงของหนึ่งองค์กรภาคเอกชนที่นําเอาศักยภาพองค์กร มาก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชนและสังคม และเป็นแนวทางที่พร้อมจะแบ่งปันให้กับภาคเอกชนรายอื่นๆ ที่สนใจได้ทดลองนําไปปฏิบัติต่อไป

file

สิ่งที่เบทาโกรเลือกทำคือ การเข้าไปช่วยน้อยพื้นที่แต่เต็มที่ในทุกเรื่อง