Valuation ของตลาดหุ้นยังแพง แม้จะเกิดเหตุการณ์ Bank Run

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 64 | คอลัมน์ Asset Allocation

file

การประกาศขายขาดทุนพันธบัตรของธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) เพื่อเสริมสภาพคล่องในช่วงต้นเดือนมีนาคม ทำให้ประชาชนตื่นตระหนกแห่ถอนเงินฝาก (Bank Run) จนทางการสหรัฐฯ ต้องประกาศมาตรการเสริมสภาพคล่องโดยเร่งด่วน

เหตุการณ์ Bank Run เป็นสัญญาณเตือนว่าการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมาอาจมากเกินไป จนเริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ส่งผลให้สินทรัพย์ในตลาดตอบสนองในเชิง Risk-off มอง Fed อาจต้องเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ราคาสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างพันธบัตรและทองคำปรับเพิ่มขึ้นสูง สวนทางกับราคาสินทรัพย์เสี่ยงอย่างน้ำมัน

อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้น (S&P500) กลับไม่ตอบรับเช่นนั้น โดยยังมีการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างทรงตัว ปรับลดลงไม่ถึง -5% ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ และฟื้นตัวกลับสู่ระดับ 4,000 จุด หรือช่วงก่อนเหตุการณ์เป็นที่เรียบร้อย ส่วน Valuation ก็ยังอยู่ในระดับที่สูงมาก Earnings Yield Gap ซึ่งประเมินโดยใช้ Forward Earnings Yield ของ S&P500 (หรือส่วนกลับของค่า P/E) หักลบด้วย Bond Yield 10 ปีสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 2.3% ซึ่งต่ำกว่าช่วงที่เกิดวิกฤตในอดีตเป็นอย่างมาก

TISCO ESU ประเมินว่าระดับที่ตลาดหุ้น Price-in ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย (Recession) คือที่ Earnings Yield Gap สูงกว่า 3.5% ขึ้นไป ซึ่งเทียบเคียงได้ว่าดัชนี S&P500 อาจต้องปรับลดลงอีกราว 15 - 20% สู่ระดับ 3,500 จุด ถึงจะสะท้อนความเสี่ยง Recession

file
file

นโยบายการเงินใช้เวลานานในการส่งผ่านผลกระทบไปยังเศรษฐกิจ 

Fed สาขา Kansas City ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อและอัตราว่างงาน หลังการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย พบว่าอัตราเงินเฟ้อ (Core PCE) จะใช้เวลาประมาณ 6 - 12 เดือน ในการปรับลดลงสูงสุด หลังการปรับขึ้นดอกเบี้ย 1% ส่วนอัตราว่างงาน (Unemployment Rate) จะใช้เวลานานกว่า โดยจะยังปรับลดลงต่อในช่วง 6 เดือนแรก ก่อนจะกลับมาเพิ่มขึ้นหลังจากนั้น และจะเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วง 20 - 26 เดือน หลังการปรับขึ้นดอกเบี้ย

file
file

เหตุการณ์ Bank Run เพิ่มความเสี่ยง Hard Landing

การประชุม Fed ในเดือนมีนาคม ซึ่งเกิดขึ้นหลัง SVB ล้ม ระบุ Fed ยังคงคาดว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยสู่ระดับ 5.1% เท่ากับการประชุมครั้งก่อน ถึงแม้จะเกิดเหตุการณ์ Bank Run แต่อัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่สูงกว่าเป้าหมายเป็นอย่างมาก ทำให้ Fed ยังจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด  

จากผลการศึกษาข้างต้นชี้ว่า ยิ่ง Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ยสูงเท่าไหร่ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจก็จะยิ่งรุนแรง และยาวนานขึ้นเท่านั้น โดยเหตุการณ์ Bank Run นอกจากจะเป็นสัญญาณเตือนเริ่มต้นว่าเศรษฐกิจกำลังเข้าใกล้ Recession แล้ว ก็ไม่ได้ยับยั้งการปรับขึ้นดอกเบี้ยด้วย ซึ่งนับเป็นการเพิ่มความเสี่ยง Hard Landing ดังนั้น เราแนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย ตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง

file