“ภาวะสมองเสื่อม” ผู้ป่วย-ผู้ดูแล อยู่ร่วมกันอย่าง “เข้าใจ”

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 64 | คอลัมน์ Moment of Happiness

file

“สมองเสื่อม” เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย โดยเฉพาะพฤติกรรมและความคิดที่อาจเปลี่ยนไปเป็นคนละคน ดังนั้น “ผู้ดูแล” และสมาชิกในครอบครัวจึงต้องช่วยกันประคับประคองให้บุคคลที่รักได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติหรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งทั้งหมดต้องยึด “ความเข้าใจ” เป็นที่ตั้ง เมื่อเราใช้ความเข้าใจมาปรับใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่เคยเป็นภารกิจอันหนักหนา ก็จะแปรเป็น “ความสุข” และเป็นโอกาสสำคัญที่เราจะแสดงออกถึงความรักให้กับบุคคลสำคัญของครอบครัว

จินตนาการว่าผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม คือเด็กคนหนึ่ง

นพ.อิทธิพล ตะวันกาญจนโชติ แพทย์ผู้ชำนาญการระบบประสาทและภาวะสมองเสื่อม ได้มอบมุมมองดี ๆ เพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถทำหน้าที่แบบที่ไม่เคร่งเครียดจนเกินไปว่า ผู้ดูแลและสมาชิกในครอบครัวควรทำความเข้าใจว่า การกระทำที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมเกิดจากการรู้คิดที่ถดถอย ควรระงับอารมณ์โกรธและความหงุดหงิดของตัวเองไม่ให้แสดงออกมาจนไปกระทบจิตใจของผู้ป่วย และสมาชิกในครอบครัวท่านอื่น

“สำหรับผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม ผู้ดูแลมีความสำคัญที่สุดต่อการฟื้นฟูอาการของผู้ป่วย ผู้ป่วยแต่ละรายก็จะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป บางรายอาจมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในทางที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน เช่น ทะเลาะกับบุคคลในครอบครัว จำสิ่งต่าง ๆ ไม่ได้ นึกคำพูดไม่ออก ตักข้าวขึ้นมาแล้วโยนทิ้งลงพื้น เป็นต้น การที่ผู้ดูแลแสดงอาการหงุดหงิดหรือโกรธจะยิ่งเพิ่มบรรยากาศที่ไม่ดีให้กับครอบครัว และไม่ได้ช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น”

สิ่งที่คุณหมออยากให้ผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมทำคือ “อดทน” และ “เข้าใจ” ธรรมชาติของโรคและผู้ป่วยให้มากขึ้น โดยอาจจำลองว่าผู้ป่วยเป็นเด็กที่แม้แต่จะนำดินสอสีมาวาดกำแพง เราก็ยังรู้สึกเอ็นดูและไม่โกรธเคือง เมื่อผู้ป่วยที่เข้าสู่ภาวะสมองเสื่อมระยะท้าย ๆ ก็จะเข้าสู่การรักษาแบบประคับประคอง ซึ่งการดูแลผู้ป่วยระยะนี้ยิ่งใกล้เคียงกับการดูแลทารกระยะแรกเกิด คือ พาอาบน้ำ แต่งตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า ป้อนข้าว ผู้ดูแลควรประคับประคองจิตใจของผู้ป่วยให้มีความสุข นอนหลับได้ และทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ เพื่อลดอาการหงุดหงิดของผู้ป่วย

 

file

รู้เท่าทันสัญญาณเตือนแรก

สำหรับครอบครัวใดที่ผู้สูงอายุในบ้านยังคงมีสุขภาพแข็งแรงดี แต่ก็ไม่อยากประมาทกับภาวะสมองเสื่อมที่อาจกำลังดำเนินอยู่อย่างช้า ๆ สัญญาณเตือนที่สามารถสังเกตได้ในช่วงเริ่มต้นคือ อาการหลงลืมสิ่งของหรือการกระทำบางอย่าง เช่น ลืมกระเป๋าสตางค์ ลืมว่าจอดรถไว้ที่ไหน ลืมนัด ในบางกรณีเป็นเรื่องการสื่อสาร เช่น คิดคำไม่ออก ไม่สามารถพูดอย่างที่ใจคิดได้ ซึ่งทั้งหมดก่อให้เกิดความหงุดหงิด รำคาญ
โดยเราสามารถแบ่งภาวะสมองเสื่อมออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ภาวะสมองเสื่อมที่รักษาได้ ส่วนใหญ่เกิดจากโรคทางกาย เช่น ภาวะไทรอยด์ทำงานถดถอย อีกกลุ่มคือภาวะสมองเสื่อมที่รักษาไม่ได้ หรือภาวะถดถอยทางระบบประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับ 1 ของ “อัลไซเมอร์”
หากมองในแง่ของความรุนแรง สามารถแบ่งออกเป็น 

3 ระดับ คือ รุนแรงน้อย รุนแรงปานกลาง และรุนแรงมาก สำหรับระดับรุนแรงน้อยและปานกลาง รักษาได้ด้วยยา กิจกรรมบำบัด และการใช้เครื่องมือและนวัตกรรมทางการแพทย์ เช่น การกระตุ้นเซลล์ประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ TMS (Transcranial Magnetic Stimulation) ส่วนระดับรุนแรงมาก แพทย์จะรักษาตามอาการ เน้นประคับประคองการตอบสนองต่อการรู้คิดที่เหลืออยู่ให้คงไว้ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมพื้นฐานได้ เช่น รับประทานอาหารได้เอง นอนหลับได้ดี

เตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตที่ไม่อาจคาดเดา

เนื่องจากโรคภัยเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน หลายครอบครัวจึงต้องการเตรียมความพร้อมในกรณีที่ผู้สูงอายุในบ้านอาจเกิดภาวะสมองเสื่อมในอนาคต นอกจากค่าใช้จ่ายในการรักษา ยังมีค่าใช้จ่ายจำนวนมากที่อาจจะต้องเตรียมไว้ นั่นคือค่าจ้างผู้ดูแลในกรณีที่สมาชิกในครอบครัวไม่สามารถจัดการเองได้ทั้งหมด

และสิ่งที่อาจนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมการล่วงหน้าคือ การตรวจคัดกรองภาวะสมองเสื่อม เมื่อสังเกตเห็นสัญญาณเตือน ลูกหลานสามารถพาผู้สูงวัยไปรับบริการจากสถานพยาบาลที่มีความพร้อมได้ ไม่เพียงยืนยันความมั่นใจ แต่ยังมีส่วนช่วยให้การรักษาเกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด เพราะหากเริ่มได้เร็ว ก็ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้ในการหายขาด หรือสามารถประคับประคองภาวะบกพร่องของการรู้คิดอย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ตรวจคัดกรองภาวะสมองเสื่อมที่โรงพยาบาลเมดพาร์ค

“โรงพยาบาลเมดพาร์ค” อีกหนึ่งโรงพยาบาลที่พร้อมให้บริการตรวจคัดกรองภาวะสมองเสื่อม โดยแพทย์ผู้ชำนาญการ ด้วยการตรวจ 3 ขั้นตอน ได้แก่

1. การทำแบบทดสอบประเมินการรู้คิด

2. การตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุของโรคที่ก่อให้เกิดภาวะสมองเสื่อม 

ขอบคุณข้อมูลจาก : 

นพ.อิทธิพล ตะวันกาญจนโชติ

แพทย์ผู้ชำนาญการระบบประสาทและภาวะสมองเสื่อม โรงพยาบาลเมดพาร์ค

file