ตลาดหุ้นมีความเสี่ยงที่จะปรับฐานมากขึ้นเรื่อยๆ

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 38 | คอลัมน์ Asset Allocation

ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรงในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ที่ได้อานิสงส์ จาก Fund Flows ไหลเข้าหลังจากผลประชามติ Brexit ในช่วงปลายเดือน มิ.ย. เรามองว่าจากนี้เป็นต้นไป ตลาดหุ้นมีความเสี่ยงที่จะปรับฐานมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากปัจจัยดังต่อไปนี้

1. Bond Yield เริ่มกลับมาเพิ่มขึ้น

หนึ่งในปัจจัยที่ผลักดันให้ตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นในในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ การคาดการณ์แนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลาง ทั่วโลกเพื่อจำกัดผลของ Brexit ซึ่งทำให้ Bond Yield ทั่วโลกปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ แต่นับตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ก.ค. เป็นต้นมา Bond Yield ทั่วโลกเริ่มพลิกกลับมาเป็นขาขึ้น นำโดย Bond Yield ของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของญี่ปุ่น ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก -0.29% ในช่วง ปลายเดือน ก.ค. มาอยู่ที่ -0.09% ในปัจจุบัน หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) สร้างความผิดหวังต่อตลาดด้วยการคงนโยบายอัตราดอกเบี้ย ติดลบที่ -0.1% ซึ่งผิดจากการคาดการณ์ของตลาดว่าจะลดดอกเบี้ยลงเป็น -0.2%

การเพิ่มขึ้นของ Bond Yield ในญี่ปุ่นส่งผลให้ Bond Yield ทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่รายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Non Farm Payrolls) 3 เดือนล่าสุดยังออกมาดี รวมทั้งคำกล่าวของนาง Janet Yellen ในการประชุมที่ Jackson Hole ก็ได้กล่าวย้ำว่าเศรษฐกิจ ของสหรัฐฯ ฟื้นตัวได้ดีขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ตลาดประเมินโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ภายในปีนี้เพิ่มขึ้นจากต่ำกว่า 40% เป็นเกือบ 60% ในปัจจุบัน

 

Bootstrap Image Preview
 
 

่่เรามองว่า Bond Yield ทั่วโลกมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีอีกหนึ่งเหตุการณ์สeคัญที่จะกeหนดทิศทางของ Bond Yield ได้แก่ การประเมินผลกระทบของนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น ซึ่งจะประกาศผลในการประชุมวันที่ 21 ก.ย. โดยผลการประเมินอาจส่งผลให้ BoJ มีการปรับเปลี่ยนวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตร หรือปรับเปลี่ยนอายุของพันธบัตรที่เข้าซื้อ และอาจมีการทบทวนการใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบอีกด้วย

2. Valuation ค่อนข้างแพงในหลายตลาด

การปรับตัวเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ Valuation ในหลายตลาดเริ่มแพงเทียบกับในอดีต เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ดัชนี S&P500 ซื้อขายที่ระดับ Forward P/E ที่ 17.2 เท่า ใกล้เคียงระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี เช่นเดียวกับ SET index ของไทย ซึ่งเทรดที่ระดับ Forward P/E 15.4 เท่า ส่วนดัชนี STOXX600 ของตลาดหุ้นยุโรปเทรดที่ระดับ Forward P/E 15.0 เท่า ในขณะที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังเทรดที่ระดับ Forward P/E ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 16.2 เท่า

 

Bootstrap Image Preview
 

 

นอกจากค่า P/E Ratio ของตลาดหุ้นที่สูงแล้ว ตลาด High Yield Bond ยังชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยง ที่จะปรับฐานเช่นกัน พิจารณาจากส่วนต่างของ ผลตอบแทน (Option-adjusted Spread: OAS) ของ High Yield Bond ในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน ซึ่งยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ และไม่ได้ปรับตัวขึ้นเพื่อ สะท้อนความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้น หลังราคาน้ำมันปรับตัวลงมาราว 20% ในช่วง 2 เดือน ที่ผ่านมา

 

Bootstrap Image Preview
 

 

เรามองว่า การเพิ่มขึ้นของ Bond Yield ซึ่งเป็นพื้นฐานของอัตราคิดลด (Discount Rate) ที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าเหมาะสมของสินทรัพย์ ทางการเงินทุกประเทศ จะส่งผลกดดันต่อ Valuation ของตลาดหุ้นที่อยู่ในระดับสูง และเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ตลาดหุ้นปรับฐาน

3. ผลกําไรของตลาดหุ้นยังหดตัว

รายงานผลประกอบการในไตรมาส 2/2016 ของบริษัทจดทะเบียนในดัชนี S&P500 ยังชี้ว่าผลประกอบการยังหดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน ซึ่งนับเป็นการหดตัวติดต่อการต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2015 โดยกลุ่มอุตสาหกรรมหลักๆ ที่มีผลกำไรหดตัวได้แก่ กลุ่มพลังงาน (-82% YoY) กลุ่มวัตถุดิบ (-9%) และกลุ่มการเงิน (-5%)

 

Bootstrap Image Preview
 

4. ความเสี่ยงในช่วงที่เหลือของปี

ซึ่งจะกดดันตลาดหุ้น ได้แก่

1.การบังคับใช้กฎเกณฑ์ใหม่สำหรับกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Mutual Funds) ในสหรัฐฯ ในวันที่ 14 ต.ค. ซึ่งส่งผลให้ดอกเบี้ย LIBOR เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. และเราคาดว่าจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเอกชนเพิ่มขึ้น, ดอกเบี้ย ของสินเชื่อประเภทดอกเบี้ยลอยตัวที่อ้างอิงกับ LIBOR เพิ่มขึ้น และอาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้นจากการขาด Liquidity ของดอลลาร์ฯ ในตลาด Eurodollar

2.การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ 8 พ.ย. ซึ่งเพิ่มความไม่แน่นอนทางการเมือง

3.การทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญของอิตาลี ในช่วงเดือน พ.ย. ซึ่งหากไม่ผ่านความเห็นชอบจากประชาชน ก็อาจจุดชนวนให้เกิดการล้ม รัฐบาล และเปิดโอกาสให้พรรค Five Star Movement (M5S) ที่มีนโยบายต่อต้านสหภาพยุโรปอาจชนะการเลือกตั้งและได้เป็นแกนนำในการจัดตั้ง รัฐบาลต่อไป

4.การประชุม FED ในวันที่ 20 ธ.ค. ซึ่งเราคาดว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ย 25bps