file

Market Wrap-Up

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 38 | คอลัมน์ SET Track

SET ไตรมาส 3/2016 (ระหว่างวันที่ 1 ก.ค. - 6 ก.ย. 2016) ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นแรงสูงสุด 1,558.32 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลงแรง ในเดือน ก.ย. เริ่มต้นเดือน ก.ค. ตลาดหุ้นไทยยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นจากผลของการที่เงินไหลออกจากอังกฤษและยุโรปจากการทำ Brexit ในเดือนที่ผ่านมาและแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของ BOE ประกอบกับแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ที่คาดว่าจะยังไม่ เพิ่มขึ้นในเร็วๆ นี้ ทำให้เม็ดเงินไหลมายังตลาดเกิดใหม่เพิ่มขึ้น และด้านราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงจาก 49 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง ต้นเดือนลดลงมาหลุด 42 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงปลายเดือน ก.ค. ต่อมาในเดือน ส.ค. ตลาดหุ้นไทยยังมีปัจจัยบวกให้ปรับตัวเพิ่มขึ้น ต่อหลังจากผลประกอบการ 2Q16 ของบริษัทที่เราวิเคราะห์ออกมาดีกว่าที่เราคาด และการลงประชามติผ่านร่างรัฐธรรมนูญและ คำถามพ่วงผ่านด้วยคะแนน 61% และ 58% ตามลำดับ ส่งผลให้ตลาดปรับตัวเพิ่มวันเดียวกว่า 23 จุด และเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ เพิ่มขึ้นสุทธิ 2 หมื่นล้านบาทใน 1 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ช่วงวันหยุดเทศกาลวันแม่ได้เกิดเหตุวินาศกรรมในบริเวณ 7 จังหวัดภาคใต้ ส่งผลกดดันตลาดเล็กน้อย ก่อนที่ในช่วงสิ้นเดือนจะเผชิญกับปัจจัยลบใหม่หลังจากที่ Janet Yellen ได้กล่าวในการประชุมที่ Jackson Hole ว่า FED มีความพร้อมที่จะขึ้นดอกเบี้ยหากการจ้างงานออกมาดี ทำให้ตลาดหุ้นกลับมามีความผันผวนเพิ่มขึ้นก่อนที่จะปรับตัว ลดลงแรงจากข่าวลือในเชิงลบภายในประเทศหลุด 1,500 จุดอีกครั้ง

ด้านการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ มียอดซื้อสุทธิที่ 8.09 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 3/2016 (ถึง 6 ก.ย.) เพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสที่ 3

04/07/2016: ตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นรับมาตรการของ ECB, BOE ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 และมายืนเหนือ 1,540 จุด ได้ครั้งแรกในรอบ 1 ปีโดยได้ปัจจัยบวกจากการส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจของ ECB, BOE เพื่อรับผลกระทบของ Brexit และดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหรัฐฯ และยุโรปที่ 53.2 และ 52.1 ตามลำดับซึ่งดีกว่าที่ตลาดคาด

11/07/2016: กระแสเงินทุนไหลเข้าต่อเนื่อง, ข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐฯ ดีกว่าคาด รายงานการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.87 แสนราย ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดที่ 1.75 แสนราย และเพิ่มจากเดือนก่อนที่ 1.1 หมื่นราย แสดงให้เห็นการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจโลก ทำให้หุ้นกลุ่มสื่อสารและธนาคารปรับตัวเพิ่มขึ้นและทำให้ SET เพิ่มขึ้นกว่า 12.7 จุด

14/07/2016: การประชุม BOE แม้จะไม่มีการปรับลดดอกเบี้ยแต่มีการส่งสัญญาณชัดเจน ตลาดคาดว่ามีโอกาสที่การประชุม BOE จะมีการ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจาก 0.5% เป็น 0.25% ทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้าตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามการประชุมมีเพียงแค่ การส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยเท่านั้น

20/07/2016: IMF หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจโลก, ผลสำรวจภาวะธุรกิจของยุโรปดิ่งฮวบดันเงินไหลเข้า EM ต่อ IMF ได้ปรับลดคาดการณ์ เศรษฐกิจโลกลง 0.1% เป็น 3.1% และ 3.4% สำหรับปี 2016-17 และผลการสำรวจความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (ZEW Economic Sentiment) ปรับตัวลดลงจาก 20.2 เป็น -14.7 ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 12.3 ส่งผลให้หุ้นในกลุ่ม TIP ปรับตัวเพิ่มขึ้นโดย SET ปรับตัวขึ้น 18 จุด พร้อมยอดต่างชาติซื้อสุทธิ 5.04 พันล้านบาท

27-28/07/2016: ผลประกอบการหุ้นขนาดใหญ่ดีกว่าคาดอีกทั้ง FED ยังมีมุมมองที่เป็นกลางต่อการขึ้นดอกเบี้ย แม้ตลาดหุ้นไทยจะมีปัจจัย กดดันจากการรอดูผลการลงประชามติ แต่ด้วยผลการประชุม FED ที่ยังมีทีท่ารอดูแนวโน้มเศรษฐกิจต่อและผลประกอบการของหุ้นใหญ่ เช่น SCC ที่ดีกว่าคาดทำให้ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 19 จุด

1-3/08/2016: หุ้นไทยผันผวนกังวลการลงร่างประชามติ ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงกว่า 26 จุด ในช่วงต้นของสัปดาห์จากแรงขายทำกำไร หลังหุ้นขึ้นมายืนเหนือ 1,500 จุด เนื่องจากกังวลการลงประชามติหลังมีข่าวนักการเมืองหลายฝ่ายออกมาแสดงท่าทีคัดค้านและมีผู้ที่แสดงออก ถึงการไม่เห็นด้วยถูกจับกุมทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลถึงความขัดแย้ง ก่อนที่ตลาดจะเริ่มรีบาวด์และรอดูผลการทำประชามติในช่วงสุดสัปดาห์

08/08/2016:ปรับตัวขึ้นแรงรับผลการผ่านร่างประชามติ ผลการทำประชามติในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมามีผลออกมาในเชิงบวกโดยประชาชน “เห็นชอบ” ร่างรัฐธรรมนูญและ ส.ว. โหวตเลือกเลือกนายกฯ 61% และ 58% ตามลำดับ ส่งผลให้ความชัดเจนทางการเมืองและการเลือกตั้ง ชัดเจนขึ้นทำให้มีแรงซื้อหุ้นไทยเข้ามาดันดัชนีขึ้นกว่า 25 จุด สูงสุดในรอบ 16 เดือน

15/08/2016: เหตุวินาศกรรมช่วงวันแม่กดดันSET เล็กน้อย ในช่วงเทศกาลวันแม่แห่งชาติได้เกิดเหตุวินาศกรรมใน 7 จังหวัด โดยเน้นจังหวัด ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวส่งผลให้มีทั้งผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยโดนกดดันเล็กน้อย

16-17/08/2016: เกิดแรงขายทำกำไรหลังจาก FED เริ่มพูดถึงการขึ้นดอกเบี้ย แม้ว่า GDP ไทยในช่วง 2Q16 จะโตขึ้น 3.5% ดีกว่าที่เราคาด แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยดัชนีที่ปรับขึ้นมามากและปัจจัยลบรอบตัวที่เพิ่มขึ้นจากเหตุวินาศกรรมและการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็น 55% ในเดือน ธ.ค. จากเดิม 42% ทำให้แนวโน้มการไหลเข้าของ Fund Flow ชะลอตัวลง

18/08/2016: รายงานการประชุม FED ยังมีคนที่ไม่มั่นใจในการฟื้นตัว จากรายงานการประชุม FED ทำให้เห็นว่ายังมีกรรมการบางท่านที่ยัง ต้องการที่จะรอดูตัวเลขทางเศรษฐกิจเพื่อความชัดเจนก่อนที่จะมีการขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ตลาดหุ้นไทยรีบาวด์ขึ้นมาได้ 15 จุด จากวันก่อนหน้า

22-26/08/2016: แกว่งแคบรอดูการประชุมที่JacksonHole แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ FED เป็นสิ่งที่นักลงทุนทั่วโลกจับตามองซึ่งหากการ ขึ้นดอกเบี้ยเกิดขึ้นไวกว่าคาดจะส่งผลให้กระแสเงินไหลออกจากประเทศกลุ่ม EM ทำให้ในสัปดาห์นี้หุ้นไทยปรับตัวในกรอบแคบโดยมีปัจจัยอื่น เข้ามากระทบเล็กน้อยคือการทยอยขึ้นเครื่องหมาย XD และการประกาศจัดงาน Thailand Focus ในวันที่ 31 ส.ค. - 2 ก.ย.

29/08/2016: FED เริ่มส่งสัญญาณในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ FED เริ่มมีมุมมองที่เป็นบวกต่อการขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้น โดยให้ความเห็นว่า ตลาดแรงงานจะเป็นปัจจัยที่จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ ทำให้โอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 65% ในเดือน ธ.ค. จากเดิม 57%

01/09/2016: รายงานการจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐฯออกมาตามคาดแต่การส่งออกไทยถูกปรับลงจากก่อนหน้า ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชน ของสหรัฐฯ อยู่ที่ 1.77 แสนตำแหน่งในเดือน ส.ค. ดีกว่าที่ตลาดคาดที่ 1.75 แสนราย ส่งผลบวกต่อแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ FED อีกทั้ง ยังมีปัจจัยจากภายในประเทศคือกระทรวงพาณิชย์ได้ออกมาปรับตัวเลขการส่งออกลดลงจากเดิมที่ -4.4% แก้เป็น -6.4% อย่างไรก็ตาม เรายังเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังจะดีขึ้นทำให้เราเพิ่มเป้า GDP จากเดิม 3.0% เป็น 3.4%

05/09/2016: นักลงทุนสถาบันเริ่มเทขายทำกำไรลดความเสี่ยง แม้ว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ จะออกมาแย่ กว่าคาดที่ 1.51 แสนราย ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 2.75 แสนราย แต่ด้วยปัจจัยลบภายในประเทศและความเสี่ยงจากการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ทำให้เกิดแรงเทขายหุ้นไทยอย่างหนัก โดยลดลง 28.96 จุด หลุด 1,500 อีกครั้ง

06/09/2016: ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐฯ ทำให้แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ FED เริ่มลดลงอีกครั้ง แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ย ของ FED ปรับตัวลดลงหลังจากที่การจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดทำให้โอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยลดลงเป็น 52% ในเดือน ธ.ค. จากเดิม 65% ในสัปดาห์ก่อนหน้า ทำให้ตลาดหุ้นไทยรีบาวด์ขึ้นมาเล็กน้อย