file

“สานต่อกลยุทธ์ สู่องค์กรยั่งยืน” พันธกิจซีอีโอคนใหม่กลุ่มทิสโก้ “สุทัศน์ เรืองมานะมงคล”

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 39 | คอลัมน์ Exclusive

เมื่อหน้าปฏิทินไทยเข้าสู่ศักราชใหม่ ปีระกา 2560 กลุ่มทิสโก้ได้มีการเปลี่ยนผ่าน ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงตามแผนการสืบทอด ตำแหน่ง โดยคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติ แต่งตั้ง “คุณสุทัศน์ เรืองมานะมงคล” ขึ้นดำรง ตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) กลุ่มทิสโก้ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา ขณะที่ “คุณอรนุช อภิศักดิ์ศิริกุล” ได้รับการแต่งตั้งเป็น ประธานคณะกรรมการ บริหาร ดูแลด้านการวางกลยุทธ์ และพัฒนา โครงสร้างระบบไอทีสารสนเทศของกลุ่มทิสโก้ ตามกลยุทธ์ระยะยาวของบริษัทเพื่อเสริมสร้าง ความเข้มแข็งและความยั่งยืนให้กับองค์กร

เส้นทางการทำงานของคุณสุทัศน์ เรียกได้ ว่าเป็น “ลูกหม้อ” ที่เติบโตมาพร้อมๆ กับทิสโก้ ผ่านประสบการณ์ทำงานในธุรกิจหลักของกลุ่ม ทิสโก้ ทั้งธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ จัดการกองทุน และธุรกิจธนาคาร โดยล่าสุด ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร ทิสโก้ เป็นเวลา 8 ปี รวมประสบการณ์ทำงาน กับกลุ่มทิสโก้ ยาวนานถึง 28 ปี

“การได้ร่วมงานกับทิสโก้ ผมเรียกว่าเป็น... โชคชะตา” คุณสุทัศน์สะท้อนความรู้สึก เมื่อได้ ย้อนเล่าประสบการณ์ทำงานตั้งแต่วันแรกที่ ทิสโก้ (ปี พ.ศ. 2532)

หลังจบปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาเบนเข็มไปศึกษาต่อปริญญาโททางด้านการเงิน ที่สหรัฐอเมริกา และสามารถคว้าปริญญาโท มาได้ถึง 2 ใบ ทั้งสาขาบริหารธุรกิจ (MBA) ที่ Western Illinois University และการเงิน การธนาคาร จาก University of Wisconsin (Madison) สหรัฐอเมริกา

ทิสโก้เป็นหนึ่งในบริษัทที่ครอบครัวเขา แนะนำให้มาสมัครงาน ทั้งที่ยอมรับว่าไม่ได้ รู้จักทิสโก้มากมายนัก แต่ด้วย“โชคชะตา” คุณสุทัศน์จึงตัดสินใจยื่นใบสมัครมาที่นี่

“เป้าหมายระยะยาว คือการทำให้บริษัทแข็งแรงอย่าง ยั่งยืน เพื่อส่งต่อให้กับคนรุ่นหลังได้ ส่วนระยะสั้น ก็เดินตามแผนธุรกิจที่วางไว้ ไม่มีอะไรที่ต้องห่วง เพราะ Culture ที่ดีอย่างหนึ่งของเราคือ ผู้บริหารระดับ หน่วยงานต่างๆ เกือบ 200 คนของทิสโก้มีความเข้มแข็ง และเป็นกำลังสำคัญในการบริหารจัดการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยผู้บริหารระดับสูง คอยกำกับดูแล ภาพรวม กำหนดนโยบายและตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ”

 

หลังจากผ่านการสอบข้อเขียนที่ได้ชื่อว่าหิน ที่สุดของที่นี่ ผู้สมัครชื่อ “สุทัศน์ เรืองมานะมงคล” ก็เป็นที่กล่าวขวัญในองค์กร ว่าเป็นผู้ทำคะแนน สอบข้อเขียนได้สูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา เขาถูก เรียกตัวเข้าสัมภาษณ์ทันทีในวันรุ่งขึ้นต่อหน้าผู้บริหารระดับสูงทั้งคณะ พร้อมกับข่าวดีทันที เช่นกันว่า “ได้งาน” ที่นี่ ซึ่งนอกจาก “โชคชะตา” อย่างที่เจ้าตัวย้ำอยู่เสมอ แม้แต่การออกตัวว่า “เป็นเพราะโชคช่วย” ทว่าสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลย ก็คือ ความสามารถของตัวเขาที่โดดเด่นมา ตั้งแต่ต้น จนได้ร่วมงานกับทิสโก้

“หลังจากกลับไปเรียนต่อจนจบปริญญาโท ใบที่ 2 ผมก็มารายงานตัวเข้าทำงาน ก็ถือว่า โชคดีอีก ที่เข้ามาก่อนคนอื่นในรุ่นนั้น เลยได้ มาเริ่มงานที่แผนก Underwriting (การจำหน่าย และรับประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์) ซึ่ง บังเอิญเป็นงานที่ชอบพอดี เลยตั้งใจทำและ ทำได้ดี จึงได้รับโอกาสจากหัวหน้างานมา เรื่อยๆ...ก็นับว่าเป็นโชค” เขาบอก

หนึ่งในผลงานสร้างชื่อคือการเป็นหนึ่งใน ทีมผู้รับผิดชอบการจัดจำหน่ายและรับประกัน การจัดจำหน่ายห้นุรัฐวิสาหกิจที่ออกเสนอขาย แก่ประชาชนเป็นครั้งแรกในประเทศไทย นั่นคือ “หุ้นการบินไทย” เมื่อปี พ.ศ. 2535 ในวันที่ยังไม่มี อินเทอร์เน็ต ไร้ซึ่งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ ทันสมัยเฉกเช่นปัจจุบัน แน่นอนว่าการรวบรวม ใบจองหุ้นการบินไทยจากทั่วประเทศ ที่มี ผู้สนใจจองซื้อมากกว่าจำนวนหุ้นที่จำหน่าย กว่า 10 เท่า แล้วมาสุ่มเลือก (Random) เพื่อ กระจายหุ้นให้เกิดความเป็นธรรม คืองานหนัก ที่สุดสำหรับพวกเขาในตอนนั้น

“ตอนนั้นการติดต่อสื่อสารไม่เหมือนทุกวันนี้ คอมพิวเตอร์ก็ยังมีใช้น้อยมาก แต่ที่เราทำดีลนี้สำเร็จลงได้ มาจากจุดแข็งของทิสโก้ นั่นคือ ทุกคนต่างร่วมมือร่วมใจกันเป็นทีม สมัยนั้น แผนกผมมีแค่ 8 คน แต่งานระดับนี้ไม่มีทาง สำเร็จได้ด้วยคนแค่นี้ ตอนนั้นเราได้เพื่อนร่วมงาน เกือบ 100 คน จากต่างแผนกสมัครใจมาช่วยกัน โดยไม่ได้กะเกณฑ์ ไม่มีโอที เสาร์-อาทิตย์ ก็มาช่วยกัน ทำกันถึงเที่ยงคืนก็มี เราใช้เวลา ทำงานนี้อยู่ 2 อาทิตย์เต็มๆ เหตุการณ์นี้ทำให้ ผมประทับใจในความมีน้ำใจของคนทิสโก้ เป็นอย่างมาก”

ความประทับใจแรกที่สะท้อนผ่านเพื่อน ร่วมงานและวัฒนธรรมองค์กรทิสโก้ จึงซื้อใจ คนอย่างเขาให้รู้สึกผูกพันกับที่นี่ และยิ่งตอกย้ำ ความรู้สึกนั้นให้ชัดเจนขึ้นอีกครั้ง เมื่อเข้าสู่ “วิกฤติต้มยำกุ้ง ” ปี พ.ศ. 2540 ปีทีาเข้ากล่าวว่า เป็นวิกฤติที่ไม่มีวันลืม

ระหว่างการปิดตัวไปของสถาบันการเงิน นับร้อยแห่งจากพิษวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ทิสโก้ กลับเป็น 1 ใน 3 ของสถาบันการเงินที่รอดพ้น จากวิกฤติการณ์ครั้งนั้น

“ผมเชื่อว่าทิสโก้เป็นองค์กรที่มีคนดีเยอะ เป็นพิเศษ เป็นองค์กรที่สร้างสรรค์คนดีมานาน มาก ต้องยกเครดิตให้ผู้บริหารรุ่นแรกๆ ที่ร่วมกัน ก่อตั้งบริษัทนี้มา ถ้าไม่มีความดีสะสมกันมา เราคงจะรอดได้ยากในวิกฤติที่หนักขนาดนั้น”

ความดีในแบบทิสโก้ ที่ผู้บริหารรุ่นก่อนได้ ปูทางไว้ คือ เน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนและ มั่นคง มองธุรกิจในระยะยาว ไม่หลงไหลไปกับ ความหอมหวานในช่วงสั้นๆ ที่แม้จะทำให้โตเร็ว กำไรเร็ว แต่เอาตัวไม่รอดในท้ายที่สุด

“ตอนผมเริ่มทำงาน ทิสโก้เป็นบริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่ง ก่อนวิกฤติเรา หล่นไปอยู่อันดับ 7 ตอนนั้นทุกคนก็บอกทิสโก้ แย่แล้ว โตสู้คนอื่นไม่ได้ เราต้องชื่นชมผู้บริหาร ในตอนนั้น (คุณปลิว มังกรกนก กรรมการ อำนวยการบริษัทในขณะนั้น) บริหารบริษัท อยู่ในภาวะนั้นต้องเจอแรงกดดันมาก แต่ท่าน ก็ยังมั่นคง ทำในสิ่งที่เชื่อว่าถูกต้อง ทำให้ ในวันที่ทุกคนแย่กันหมด ทิสโก้กลับรอดมาได้ สมัยนั้นถ้าเราแข่งเป็นที่หนึ่งกับคนอื่น ผมเชื่อว่า คงไม่มีวันนี้ ก็นับเป็นบทเรียนวา่ การก้าวในจังหวะ ที่ถูกต้องและเหมาะกับตัวเรานั้นสำคัญมาก และแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนขายาว บางคน ขาสั้นแต่แข็งแรง เราอาจเป็นคนตัวเล็กๆ แต่ แข็งแรง และวิ่งไปได้เรื่อยๆ”

การได้เรียนรู้จากวิกฤติครั้งนั้น ยิ่งตอกย้ำ ความเชื่อของเขาว่า สิ่งที่ผู้บริหารรุ่นก่อน ของทิสโก้คิดและทำ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งพิสูจน์ ให้เห็นเป็นรูปธรรมแล้วว่า “ยั่งยืน” กว่าชัยชนะ ในระยะสั้น

“ธุรกิจเปรียบเหมือนการวิ่งมาราธอน ไม่ใช่ วิ่งเอาเร็ว 100 เมตร 200 เมตร เพื่อเป็นที่หนึ่ง แต่พอผ่านไปสักระยะก็หมดแรง ผมมองว่า เราไม่จำเป็นต้องเป็นที่หนึ่งในทุกๆ เรื่อง วิ่งใน ความเร็วในจังหวะก้าวที่เหมาะกบั เรา คนอื่น อาจแซงไปก่อน แต่เราจะยังรักษาระดับอยู่ได้ ในระยะยาว ขอแค่อย่าหลงทาง” เขาบอก ความเชื่อในวิถีแบบทิสโก้

จากวันแรกที่เข้าทำงานในทิสโก้ สั่งสมความ ประทับใจไปพร้อมกับประสบการณ์ที่เฉียบคมมากขึ้นในการทำงาน จนขยับสู่ตำแหน่ง ผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กร ในวันที่ได้ สวมหมวกซีอีโอคือปีที่เขามีอายุงานครบ 28 ปี พอดิบพอดี

“ระบบอีเพย์เมนต์ของรัฐบาลจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างความสะดวกสบาย และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมทางการเงินให้กับประชาชน กลุ่มทิสโก้ก็จะดำเนิน ธุรกิจไปในทางเดียวกัน โดยในปีนี้ เราจะเปิดตัวบริการธุรกรรมทางการเงินผ่านมือถือ Mobile Banking Application เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าทิสโก้”

 

เพราะเติบโตและเชื่อในรากฐานอันดีของ องค์กร เมื่อถามถึงวิสัยทัศน์ขับเคลื่อนทิสโก้ใน ยุคของผู้นำอย่างเขา คุณสุทัศน์จึงตอบแค่ว่า จะสานต่อนโยบายที่ผ่านมา และดำรงวัฒนธรรม ที่ดีของทิสโก้ให้ส่งต่อถึงคนรุ่นหลังต่อไป

“เป้าหมายระยะยาว คือการทำให้บริษัท แข็งแรงอย่างยั่งยืน เพื่อส่งต่อให้แก่คนรุ่นหลังได้ ส่วนระยะสั้น ไม่มีอะไรที่ต้องห่วงเลย เพราะ Culture ที่ดีอย่างหนึ่งของเราคือ ผู้บริหาร ระดับหน่วยงานต่างๆ เกือบ 200 คนของเรามี ความเข้มแข็ง และเป็นกำลังสำคัญในการ บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ้บู ริหาร ระดับสูงอย่างเรา คอยกำกับดูแลภาพรวม กำหนดนโยบาย และตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ”

สำหรับกลยุทธ์ระยะสั้นในปีนี้ ยังคงมุ่ง ขยายฐานลูกค้าทุกกลุ่ม รวมถึงขยายไปยัง ตลาดใหมๆ่ ที่ยังมีการเติบโตทั้งหลุ่มลูกค้า รายย่อย ลูกค้าบรรษัท และลูกค้าธนบดี รักษา จุดยืนในการเป็น “Top Advisory House” ที่ ตอบโจทย์ทุกความต้องการทางการเงินอย่าง ครบวงจร มุ่งเน้นการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยงที่รอบคอบ ตลอดจนการ รักษาคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีเพื่อการเติบโตอย่าง มีคุณภาพ เสาะหาพันธมิตรทางธุรกิจ และ สร้างความร่วมมือระหว่างสายธุรกิจเพื่อเพิ่ม โอกาสในการเข้าถึงลูกค้า และเพื่อตอบรับ ระบบอีเพย์เมนต์หรือพร้อมเพย์ตามนโยบาย ของรัฐบาล พัฒนาแพลตฟอร์มมุ่งสู่การเป็น “Digital Banking” อย่างสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2561 ตามแผนเดิมที่วางไว้

“ระบบอีเพย์เมนต์ของรัฐบาลจะช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพ สร้างความสะดวกสบาย และ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมทางการเงิน ให้กับประชาชน กลุ่มทิสโก้ก็จะดำเนินธุรกิจ ไปในทางเดียวกัน โดยในปีนี้ เราจะเปิดตัว บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านมือถือ Mobile Banking Application เพื่อเพิ่มความสะดวก ให้กับลูกค้าทิสโก้

ในบทบาทของผู้บริหารนอกเหนือจาก ความรับผิดชอบตัวเลขทางธุรกิจแล้ว เขาบอกว่า คือการเป็นขวัญและกำลังใจให้พนักงาน ทั้งการเป็นตัวอย่างที่ดีในการทำงานและการ ดำ เนินชีวิต เพื่อให้คนร่นุ นี้ส่งมอบวัฒนธรรม ความดีในแบบทิสโก้ ไปสู่คนรุ่นหลังได้

“ผมเชื่อว่า ในชีวิตการทำงาน ความรู้ทาง วิชาการที่เรียนมาเป็นแค่ 10-15% ที่เหลือ เราต้องขวนขวายเอง ต้องเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ รู้ช้า รู้น้อย ไม่เป็นไร แต่สำคัญว่าต้อง รู้จริง ซึ่งผมเชื่อว่าคนทิสโก้ส่วนใหญ่ก็เป็น อย่างนั้น ส่วนที่ถามถึงทัศนคติในการทำงาน ก็ต้องมีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรมจริยธรรม ขอให้ เป็นคนดี เมื่อเกษียณออกไปแล้วมีคนพูดถึงเรา ในทางที่ดีมากกว่าไม่ดี”

ในวันนี้การบริหารธุรกิจการเงินไม่ใช่เรื่องง่าย ในยุคที่ความสามารถในการทำกำไรถูกจำกัด ลงเรื่อยๆ ซ้ำการแข่งขันยังรุนแรง ยิ่งมีข้อมูล ข่าวสารที่รวดเร็ว ผู้คนเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ธุรกิจก็ยิ่งแข่งขันกันสูงขึ้น ผู้บริหารที่เชื่อในเกม มาราธอนบอกเราว่า ไม่ว่าธุรกิจจะเจอแรงกดดัน หนักแค่ไหน ทิสโก้ก็ยังคงมุ่งทำธุรกิจด้วยความ รับผิดชอบสูงสุดต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน ทุกกลุ่ม โดยไม่ได้เน้นแค่ตัวเลขการเติบโต แต่เน้นความต่อเนื่องและยั่งยืนในธุรกิจเป็นสำคัญ เพราะเขาถือว่า นี่เป็นความรับผิดชอบ ที่ผู้บริหารในอุตสาหกรรมการเงินมีต่อคน รุ่นหลัง

“สำหรับผู้บริหารองค์กร เมื่อพ้นตำแหน่ง ไปแล้ว ตัวเองไม่ต้องอยู่รับผิดชอบ แต่จะ กลายเป็นคนรุ่นหลังที่อยู่รับแทนเรา ถ้าผมทำ อะไรผิดไปนิดหน่อย วันนี้มันอาจยังไม่ส่งผล ทันที แต่จะเป็นตัวอย่างให้ทุกคนผิดกันคนละนิด หลายปีเข้าก็จะไปถึงจุดที่ไม่ดี ธุรกิจธนาคาร ทำให้โตไม่ใช่เรื่องยาก ง่ายมากที่จะโต แต่การ ทำให้โตอย่างมั่นคงในระยะยาวยากกว่า” เขาย้ำ

นั่นคือเหตุผลที่เขาเลือกที่จะโตในวิถีเดิม แบบทิสโก้ ที่ฝังรากลึกมาตั้งแต่ต้น

ถามผมว่า วัฒนธรรมองค์กรของทิสโก้ เป็นแบบไหน...ผมมองว่าเราเป็นเหมือนครอบครัว เหมือนเพื่อนฝูง ที่ถูกสเปคกัน เราต่างแชร์ คุณค่าร่วมกัน คนของเราเป็นคนดี มีคุณธรรม มีส่วนดีมากกว่าไม่ดี และที่สำคัญคือ รู้จริง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่หล่อหลอมมาจากผู้บริหาร ที่ดีในอดีต ทำให้เราผ่านพ้นทุกวิกฤติมาได้”

หนทางข้างหน้ายังต้องรอเวลาพิสูจน์ แต่ จากประสบการณ์ในอดีตให้ความมั่นใจแก่ผู้นำ อย่างเขาว่า ก้าวย่างอย่างทิสโก้ คือเหตุผลที่ ทำให้ธุรกิจยังแข็งแกร่ง และพร้อมจะเติบโต อย่างยั่งยืน

เส้นทางสู่ TISCO CEO

คุณสุทัศน์ เรืองมานะมงคล ร่วมงานกับทิสโก้มาเป็นเวลากว่า 28 ปี นับเป็นผู้บริหารที่มี ประสบการณ์เกือบทุกสายงานของทิสโก้ ทั้งยังมีส่วนร่วมในพัฒนา การสำคัญๆ ของบริษัทมาโดยตลอด

คุณสุทัศน์เริ่มต้นการทำงานกับบริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้ ใน ปี พ.ศ. 2532 กับตำแหน่ง Executive Trainee แผนก Underwriting (การจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์) คร่ำหวอดและ เก็บเกี่ยวประสบการณ์ในวงการหลักทรัพย์มาเป็นเวลากว่า 13 ปี จนก้าวสู่ตำแหน่ง “ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ” บล.ทิสโก้ หลังจากนั้นจึงได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลธุรกิจสินเชื่อบรรษัท การลงทุนด้านหลักทรัพย์ และ Treasury (ธุรกิจบริหารเงิน) ให้แก่กลุ่มทิสโก้ในฐานะ “รองผู้อำนวยการบริหารกลุ่มทิสโก้” เป็นเวลา 3 ปี ก่อนขยับไปดูแลธุรกิจหลักทรัพย์จัดการกองทุนเป็นเวลา 4 ปี ในตำแหน่ง “กรรมการ ผู้จัดการ” บลจ.ทิสโก้ คุณสุทัศน์ดำรงตำแหน่ง “กรรมการผู้จัดการใหญ่” ธนาคารทิสโก้เป็นเวลา 8 ปี ก่อนที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดในฐานะ “ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทิสโก้” มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. พ.ศ. 2560

คุณสุทัศน์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโท หลักสูตร MBA (Finance) ณ Western Illinois University และหลักสูตร MS in Finance มหาวิทยาลัย University of Wisconsin (Madison)