file

“อิ่ม” แบรนด์ข้าวระดับพรีเมียม ยกระดับชีวิตชาวนาไทย ด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 39 | คอลัมน์ Giving

 เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทีมงาน TRUST ได้มีโอกาสร่วมทริปเยี่ยมชาวนาผู้ผลิตข้าว อินทรีย์ ภายใต้แบรนด์ “อิ่ม” ที่บ้านหนองหิน ต.โคกก่อ อ.เมือง จ.มหาสารคาม ซึ่งเป็น เวลาเดียวกับที่ชาวนาทั่วประเทศกำลังเผชิญกับ สถานการณ์ราคาข้าวตกต่ำ แต่สำหรับที่นี่ นอกจากทีมงานจะได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น ด้วยผ้าขาวม้าคาดเอวแบบอีสานแท้ๆ แล้ว + ภาพ อาทิตย์ กัณฐัศว์กำพล เรายังสัมผัสได้ถึงความสุขของชาวบ้านที่ ไม่รู้สึกกังวลกับราคาข้าว นับเป็นหมู่บ้าน ต้นแบบที่พิสูจน์ให้เห็นว่า “ชาวนาไทย” สามารถกินดีอยู่ดีได้ แม้จะปลูกข้าวโดยไม่ใช้ สารเคมีก็ตาม... 

ย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปีก่อน ชาวชุมชนบ้าน หนองหินมีความเป็นอยู่ยากลำบากไม่ต่าง จากชาวนาทั่วไป ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่นอกเขต ชลประทาน จึงปลูกข้าวได้ปีละครั้งเท่านั้น ทำให้ได้ผลผลิตน้อย แม้ปีไหนได้ผลผลิตดี ก็มักถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลางที่มักอ้าง เรื่องความชื้นและสิ่งปลอมปน ขณะที่ชาวนา ต้องแบกรับต้นทุนการปลูกที่พุ่งสูงขึ้น จากทั้ง ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย และค่ายาฆ่าแมลง 

เมื่อขายข้าวได้น้อย จึงจำเป็นต้องกู้หนี้ ยืมสินมาลงทุนปลูกข้าวในฤดูกาลต่อไป จนกลาย เป็นวังวนหนี้สินไม่รู้จักจบสิ้น สภาพบีบบังคับ เช่นนี้ทำให้ชาวนาหลายรายตัดสินใจละทิ้ง อาชีพของบรรพบุรุษเข้ามาขายแรงงานในเมือง จนชาวนาใน จ.มหาสารคาม ลดลงไปถึง 20% 

จุดนี้เองที่คุณกรณ์ จาติกวณิช ในฐานะ ประธานโครงการเกษตรกรเข้มแข็ง ซึ่งเป็น โครงการที่มีเป้าหมายสนับสนุนให้ชาวนาไทย อยู่ดีกินดี มีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ ได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของ ชาวนาบ้านหนองหิน จึงพบว่า ชาวบ้านมีแนวคิด ที่จะเลิกพึ่งพาสารเคมีซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ และต้องการฟื้นฟูพันธุ์ข้าวท้องถิ่นอยู่แล้ว แต่ก็ยัง คงติดปัญหาตรงที่กลัวได้ผลผลิตน้อยจนทำให้ ขายข้าวไม่ได้ราคานั่นเอง โครงการเกษตรเข้มแข็ง จึงมีแนวคิดว่า “ถ้าสามารถเลือกพันธุ์ข้าวท้องถิ่น มาพัฒนาด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ปลอดสารเคมี พร้อมกับเพิ่มมูลค่าด้วยการทำแพ็กเกจและ แบรนด์ดีๆ ก็น่าจะสามารถยกระดับข้าวท้องถิ่น ของที่นี่ให้เป็นสินค้าระดับพรีเมียมได้ นำพาให้ ชาวบ้านขายข้าวได้ราคามากขึ้น และมีความ กินดีอยู่ดีตามไปด้วย” 

จากการปรึกษาหารือร่วมกันระหว่าง โครงการฯ และกล่มุ ชาวบ้าน แนวคิดดังกล่าวจงึ ตกผลึกมาเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องปลอดสารฯ คัดพิเศษ ภายใต้แบรนด์ “อิ่ม” ที่ประกอบไปด้วย ข้าวกล้องพันธุ์พื้นเมืองจากทุ่งกุลาร้องไห้ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ 105 ข้าวหอม มะลิแดง และข้าวหอมนิล ผสมกันบรรจุอยู่ใน ถุงสุญญากาศอย่างดี โดยมีกลุ่มชาวนาเป็นผู้ ดูแลขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่ “ต้นน้ำ-กลางน้ำ- ปลายน้ำ” หมายถึงปลูกเอง เกี่ยวเอง ดูแลการ สีข้าวเอง และแพ็กใส่ถุงเอง และเน้นการขาย ให้ถึงมือลูกค้าโดยตรง เพื่อลดการพึ่งพาจาก คนกลางโดยใช้หลักคิด “From Farm to Fork” หรือ “จากนาสู่จาน” เพื่อให้ชาวนาเป็นผู้รับ รายได้จากมือผู้บริโภคที่พร้อมซื้อหาสินค้า คุณภาพ เปิดทางให้ชาวชุมชนมีรายได้มากขึ้น มีชีวิตความเป็นอยู่ในทางที่ดี สามารถพึ่งพา ตนเองได้ มีศักดิ์ศรี และมีความเข้มแข็ง ขณะเดียวกัน ผู้ซื้อยังมั่นใจได้ว่ามีส่วนร่วม โดยตรงในการช่วยเหลือให้วิถีชีวิตชาวนามี ความยั่งยืน และยังได้บริโภคข้าวที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษอีกด้วย

รายได้ถึงมือชาวนา

เป้าหมายของโครงการเกษตรเข้มแข็งคือ การสนับสนุนให้บ้านหนองหินลดการพึ่งพา จากภายนอก ดังนั้น ขั้นตอนแรกในการบริหาร จัดการคือ “การดึงชาวนาให้พ้นจากวังวนหนี้” ด้วยการให้ชาวนายืมเงินลงทุนล่วงหน้า 4,000 บาทต่อไร่ ซึ่งจะครอบคลุมต้นทุน การผลิตในทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การจัดหา เมล็ดพันธุ์ข้าว ปุ๋ยอินทรีย์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการผลิต โดยชาวนาไม่ต้องไปกู้เงินที่อื่นอีก

“เมื่อก่อน ชาวนาจะตากข้าวจนแห้งแล้วก็เอาไปขายโรงสี เขารู้สึก ว่าโรงสีคือลูกค้า จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับคุณภาพของข้าว มากนัก เพราะขาดความรู้สึกเชื่อมโยงกับผู้บริโภคโดยตรง แต่พอให้ขายข้าวเอง ได้สัมผัสกับลูกค้าเอง ชาวนารู้สึกรับผิดชอบ ต่อผู้ทานข้าวมากขึ้น และใส่ใจกับคุณภาพของข้าวตามไปด้วย”

เมื่อชาวนาได้ผลผลิตแล้ว โครงการฯ จะ รับซื้อข้าวเปลือกในราคาที่คำนวณว่าเป็นธรรม ต่อชาวนา คือข้าวหอมมะลิ 105 ที่อัตรา ความชื้นต่ำกว่า 15% จะรับซื้อในราคา 20,000 บาทต่อตัน ส่วนข้าวหอมมะลิแดง และข้าวหอม มะลินิลที่อัตราความชื้นต่ำกว่า 15% จะอยู่ 25,000 บาทต่อตัน ซึ่งชาวนาจะคืนเงินลงทุน ล่วงหน้าที่โครงการฯ ให้ยืมมาในขั้นตอนการ ขายนี้ ทำให้ชาวนามีรายได้ที่แน่นอน 

ในขั้นตอนการสีข้าว โครงการฯ ได้หารือ ร่วมกับชาวนาในการเปลี่ยนวิธีการผลิต เพื่อไม่ให้โดนกดราคาข้าว จึงได้ข้อสรุปให้ เปลี่ยนกระบวนการผลิตจากเดิมที่ชาวนาจะนำ ข้าวเปลือกไปขายให้กับโรงสี แล้วโรงสีจึง ดำเนินการสีข้าวและขายข้าวต่อไป เป็นการจ้าง โรงสีให้สีข้าวในช่วงที่มีการสั่งซื้อข้าวเข้ามาแล้ว โดยชาวนาเป็นผู้ดำเนินการขายข้าวเอง ด้วย วิธีการนี้ชาวนาจึงไม่จำเป็นต้องเร่งสีข้าวเพื่อ ขายในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว จึงไม่เกิดภาวะข้าว ล้นตลาดจนราคาตกต่ำ ในขณะเดียวกันชาวนา ยังสามารถรักษาคุณภาพ ความหอม ความสด ของข้าวไว้ในเปลือกจนถึงวินาทีสุดท้าย อีกทั้ง ชาวนายังมีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งโรงสีชุมชน ที่มีมาตรฐานเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของ วิสาหกิจในชุมชนของชาวนาเองอีกด้วย 

เมื่อสีข้าวเปลือกเป็นข้าวสารแล้ว ชาวชุมชน บ้านหนองหินจะรีบบรรจุข้าวใส่ถุงพลาสติก สุญญากาศเพื่อรักษาคุณภาพของข้าวให้เก็บไว้ ได้นาน ไม่เก่า ไม่ชื้น อีกทั้งยังกันมอดขึ้นอีกด้วย และเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ดูพรีเมียม จึงมีการใส่ ในถุงผ้าขาวม้าทอมือที่เย็บและผลิตโดยกลุ่ม แม่บ้านในชุมชน ที่ทำในช่วงเวลาว่างจากการ รอเก็บเกี่ยวผลผลิต ถือเป็นการสร้างรายได้ เสริมให้เกษตรกรอีกทางหนึ่ง 

ท้ายสุดคือการคืนกำไรกลับสู่ท้องนา โดย โครงการฯ จะจัดสรรกำไรในลักษณะการปันผล กลับไปให้ชาวนา เพื่อเป็นทุนสำหรับการผลิต หรอื การลงทนุ ที่เกี่ยวขอ้ งสำหรับฤดูกาลถัดไป

เสริมทัพด้วยการตลาดสมัยใหม่

คุณกรณ์ จาติกวณิช เล่าว่า การสนับสนุน ให้ชาวนาเป็นผู้ขายข้าวด้วยตนเองเป็นขั้นตอน สำคัญในการตัดตอนพ่อค้าคนกลาง โครงการฯ จึงเลือกใช้เครื่องมือการตลาดสมัยใหม่อย่าง E-Commerce เป็นช่องทางให้ชาวนาเข้าถึง ผู้บริโภคได้โดยตรง จึงไม่ต้องแบ่งรายได้ให้ พ่อค้าคนกลาง และเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ข้าว จึงพัฒนาแบรนด์ข้าว “อิ่ม” ไม่ใช่ในฐานะ



รูป 1. ปัจจุบันการเกี่ยวข้าวที่นี่ยังใช้แรงงานคนเป็นหลัก
รูป 2. ข้าวเปลือกปลอดสารฯ จากน้ำพักน้ำแรงชาวนา
รูป 3. การตีข้าวเพื่อแยกเมล็ดออกจากรวง
รูป 1. โรงสีข้าวชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง
รูป 2. คณะผู้ร่วมเดินทางเยี่ยมชุมชนบ้านหนองหิน
รูป 3. คุณกรณ์ จาติกวณิช และ คุณจิราภรณ์ อินทะสร้อย


ข้าวถุงทั่วไปที่หาซื้อได้ตามท้องตลาด แต่ใน ฐานะสินค้าพรีเมียมสำหรับให้เป็นของขวัญใน โอกาสพิเศษต่างๆ และในปีนี้โครงการฯ ยังใช้ กลยุทธ์เสนอขายข้าวให้แก่บริษัทต่างๆ สำหรับ แจกเป็นของขวัญปีใหม่อีกด้วย ซึ่งปรากฏว่า ได้รับเสียงตอบรับจากบริษัทห้างร้านต่างๆ อย่างดีทีเดียว 

การขายข้าวโดยตรงนอกจากจะช่วยให้ ชาวนาได้รับรายได้มากขึ้นเพราะไม่ต้องผ่าน พ่อค้าคนกลางแล้ว การได้สัมผัสกับผู้บริโภค โดยตรงยังกระตุ้นให้ชาวนามีความรู้สึกรับผิดชอบ ต่อผู้บริโภคตามไปด้วย 

“เมื่อก่อน ชาวนาจะตากข้าวจนแห้งแล้วก็ เอาไปขายโรงสี เขารู้สึกว่าโรงสีคือลูกค้า จึงไม่ ได้ให้ความสำคัญกับคุณภาพของข้าวมากนัก เพราะขาดความรู้สึกเชื่อมโยงกับผู้บริโภค โดยตรง แต่พอให้ขายข้าวเอง ได้สัมผัสกับ ลูกค้าเอง ชาวนารู้สึกรับผิดชอบต่อผู้ทานข้าว มากขึ้น และใส่ใจกับคุณภาพของข้าวตาม ไปด้วย” คุณกรณ์กล่าว

คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

คุณจิราภรณ์ อินทะสร้อย หรือที่เราเรียก อย่างเป็นกันเองว่า “พี่จิ” ผู้นำกลุ่มเกษตรกร บ้านหนองหิน เล่าถึงชีวิตก่อนที่ชุมชนจะรวมตัว กันตามแนวทาง “โครงการเกษตรเข้มแข็ง” ว่า ปัญหาของชาวชุมชนบ้านหนองหินคือไม่มีเงิน สำหรับลงทุนทำนาในแต่ละรอบของปี จำเป็น ต้องกู้เงิน ซึ่งคนที่มีเครดิตดีหน่อยก็จะกู้ยืมเงิน จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) ถ้าเครดิตไม่ดีก็ต้องกู้ยืมหนี้นอกระบบ หากปีไหน น้ำน้อย ข้าวไม่งาม ก็ไม่มีเงินไปคืน แถมปีหน้าต้อง กู่เงินมาลงทุนใหม่ อีกถึงปีไหนน้ำดีได้ข้าวงาม แต่พอเอาไปขายโรงสี โรงสีก็จะหักเปอร์เซ็นต์ ทำให้ขายข้าวไม่ได้ราคา สุดท้ายชาวนาก็ไม่มี รายได้ที่แน่นอน แถมยังจมอยู่กับวังวนการเป็นหนี้ 

การได้รับเงินลงทุนล่วงหน้าจากโครงการฯ เป็นการช่วยชาวนาตัดตอนวงจรหนี้ ทำให้ชาวนา มีทุนทำนาไม่ต้องไปกู้เงินใคร เมื่อได้ผลผลิต แล้วจึงค่อยหักเงินส่วนนี้ออกตอนขายข้าวให้ โครงการฯ ในทำนองเดียวกัน การปลูกข้าว เกษตรอินทรีย์ยังทำให้ได้ต้นทุนลดลง แถมการ ขายข้าวในฐานะสินค้าพรีเมียม ก็ทำให้ขายได้ ราคามากขึ้นด้วย พี่จิยกตัวอย่างว่า ตนทำนา อยู่ประมาณ 40 ไร่ ก็ได้ 4 แสนบาท หนี้สิน ก็ลดลง เริ่มเห็นโอกาสลืมตาอ้าปากมากขึ้น 

“พอโครงการเกษตรเข้มแข็งเข้ามาให้เงิน ลงทุนล่วงหน้า รู้สึกดีใจมากๆ หลังจากเข้า โครงการฯ ได้ 3 ปี ก็รู้สึกชีวิตดีขึ้น โครงการฯ ช่วยทำตลาดให้มีออเดอร์เป็นของขวัญปีใหม่ พวกเรารวมกลุ่มช่วยกันแพ็กถุงข้าวจนถึงเที่ยงคืน ทุกวัน ถึงแม้จะเหนื่อยแต่ก็มีความสุข เพราะ ไม่ว่าอย่างไรปีนี้เราก็มีรายได้แน่นอน” พี่จิเล่า 

ปัจจุบัน สมาชิกโครงการฯ ที่บ้านหนองหิน มีอยู่ด้วยกัน 26 ครัวเรือน คิดเป็นพื้นที่นา 350 ไร่ พี่จิคาดว่า ปีนี้จะได้ข้าวเปลือก 120 ตัน เมื่อสี เป็นข้าวสารก็จะเหลือ 70 ตัน ซึ่งโครงการฯ ได้หา ตลาดไว้ให้แล้ว 35 ตัน ทำให้ชาวบ้านมีกำลังใจ ในการทำงานอย่างมากจากรายได้ที่เข้ามา 

อย่างไรก็ตาม สมาชิกที่มีอยู่ในปัจจุบัน ลดลงจากปีแรกของโครงการฯ ที่ 40 ครัวเรือน เนื่องจากติดเงื่อนไขว่าสมาชิกทุกคนต้องช่วยกัน ดูแลกระบวนการผลิตในทุกขั้นตอน ซึ่งสมาชิก

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปุ๋ยเคมี
+ การใช้ปุ๋ยเคมีทำให้ได้ผลผลิตดีกว่าแต่ถือเป็นต้นทุนที่สูง
+ ชาวนากลัวข้าวไม่งามจึงต้องใช้ปุ๋ยเคมี
+ โดยเฉลี่ยข้าว 1 ไร่จะต้องใช้ปุ๋ยถึง 30 กก. ใส่ตอนลงกล้า ตอนข้าวตั้งท้อง และตอนออกรวง
+ ปุ๋ยอินทรีย์จะเห็นผลช้ากว่าปุ๋ยเคมี
+ หากปรับมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปีแรกๆ ผลผลิตจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด ชาวนาจึงไม่ค่อยกล้าเปลี่ยน
+ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จะเห็นรายได้เพิ่มขึ้นในปีที่ 2-3 ตามต้นทุนที่ลดลง

1. กิจกรรมเกี่ยวข้าวบ้านหนองหิน 2. การแพ็กข้าวใส่ถุงสุญญากาศเพื่อรักษาคุณภาพของข้าว

“พอโครงการเกษตรเข้มแข็งเข้ามาให้เงินลงทุน ล่วงหน้า 4,000 บาทต่อไร่ ก็รู้สึกดีใจมากๆ ปัจจุบัน โครงการฯ ทำตลาดให้ ชาวบ้านก็รวมกลุ่มช่วยกัน แพ็กถุงข้าวจนถึงเที่ยงคืนทุกวัน ถึงแม้จะเหนื่อย แต่ก็ดีใจ เพราะไม่ว่าอย่างไรปีนี้ก็มีรายได้แน่นอน”

 

บางรายไม่พร้อม บางบ้านเป็นแค่ 2 ตายาย ซึ่งทำทุกอย่างตามเงื่อนไขไม่ไหว จึงถอนตัว ออกไปแต่ก็ยังคงปลูกข้าวอินทรีย์อยู่ และหาก ปีไหนมีคนสั่งซื้อข้าว “อิ่ม” มากจนทางโครงการฯ ผลิตไม่ทัน ก็จะมาขอฝากขายด้วย 

“การให้ชาวนาดูแลกระบวนการผลิตเอง ทุกขั้นตอน ในความเป็นจริงไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ ไม่ใช่ว่าทุกบ้านจะมีศักยภาพพร้อม แต่ทาง โครงการฯ ต้องเคร่งครัดต่อกติกาที่มีร่วมกัน คือ “ลงทุน ลงแรง ที่สำคัญที่สุดคือ ลงใจ” และเกษตรกรต้องรวมกลุ่มกันให้ได้เพื่อสร้าง ความแข็งแกร่ง แต่ปัญหาก็คือ จะใช้เครื่องมือ อะไรให้เกษตรกรรวมตัวกัน จึงต้องค่อยๆ ปรับ แนวทางไปเรื่อยๆ” คุณกรณ์กล่าว พร้อมเสริมว่า อย่างน้อยสิ่งที่โครงการฯ ทำได้สำเร็จตอนนี้คือ ทำให้ชาวบ้านเห็นประโยชน์ของการปลูกข้าว อินทรีย์แล้วต้นทุนลดลง ถึงแม้จะมีเกษตรกร บางรายออกจากโครงการฯ ไปแล้ว ก็ยังคง ปลูกข้าวตามวิถีเกษตรอินทรีย์อยู่ ลูกหลานกลับบ้าน...ครอบครัวใกล้ชิด เมื่อชาวบ้านหนองหินมีรายได้เพิ่มขึ้น ลูกหลานก็เริ่มกลับมาช่วยพ่อแม่ทำนา ครอบครัวจึงมีโอกาสได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา 
 

ลูกหลานกลับบ้าน...ครอบครัวใกล้ชิด 

เมื่อชาวบ้านหนองหินมีรายได้เพิ่มขึ้น ลูกหลานก็เริ่มกลับมาช่วยพ่อแม่ทำนา ครอบครัวจึงมีโอกาสได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันอีกครั้ง คุณนุจรีภรณ์ อินทะสร้อย ลูกสาว ของพี่จิ เล่าให้ฟังว่า เมื่อ 2-3 ปีก่อน ตอนที่ ตนเรียบจบใหม่ๆ ไม่คิดจะกลับมาช่วยที่บ้าน ส่วนหนึ่งเพราะมองไม่เห็นหนทางว่าการ กลับมาเป็นเกษตรกรจะช่วยจุนเจือรายได้ ครอบครัวของตนได้อย่างไร จึงตั้งใจหา ประสบการณ์ทำงานในสายที่เรียนมา 

“ถ้าเป็นเมื่อ 2-3 ปี ก่อนก็พูดได้เลยว่ายัง ไม่พร้อม ตัวเราเองก็เพิ่งเรียนจบใหม่อยาก ทำงานก่อน ที่บ้านก็ยังเป็นหนี้ ยังไม่เห็นว่าการ กลับมาเป็นชาวนาจะช่วยแบ่งเบาภาระทาง บ้านได้อย่างไร แต่พอโครงการเกษตรเข้มแข็ง เข้ามาช่วยวางแนวทางเกษตรอินทรีย์ได้ไม่นาน ก็ตัดสินใจกลับมาช่วย เมื่อก่อนได้แต่ถามแม่ ว่าขายข้าวพอใช้หนี้ไหม เดี๋ยวนี้แม่มีเงินพอ จ่ายดอกเบี้ยแล้วก็ยังคืนเงินต้นได้อีกด้วย” 

ในอนาคตโครงการเกษตรเข้มแข็งวาง แนวทางให้เกษตรกรบ้านหนองหินรับช่วงต่อ ดูแลการตลาดได้ด้วยตนเองทั้งหมด เมื่อรุ่นลูก ที่ได้รับการศึกษาในระบบสมัยใหม่มาแล้ว มีความพร้อมที่จะนำความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมา ต่อยอดปรับปรุงการตลาดให้ดียิ่งขึ้น ถึงตอนนั้น ชาวชุมชนบ้านหนองหินก็จะยืนหยัดได้ด้วย ตนเอง... 

…นี่คือตัวอย่างโครงการที่ผสมผสานวิถี เกษตรอินทรีย์กับการตลาดสมัยใหม่ได้อย่าง ลงตัว และยังช่วยยกระดับรายได้เกษตรกรได้ อย่างยั่งยืน


ข้าว “อิ่ม” 1 ถุงหนึ่งขนาด 1 กก. จะประกอบด้วยข้าวปลอดสารฯ คัดพิเศษ พันธุ์พื้นเมืองจากทุ่งกุลาร้องไห้ 3 ชนิด ได้แก่ ข้าวกล้องหอมมะลิ 105 ข้าวกล้องหอมมะลิแดง และข้าวกล้องหอมนิล ผสมกันบรรจุใน ถุงสุญญากาศอย่างดีเพื่อรักษาคุณภาพของข้าวให้สดใหม่ พร้อมกับแพ็กเกจถุงหิ้วลายผ้าขาวม้า ที่เป็นสินค้า OTOP ของที่นี่ เหมาะสำหรับมอบเป็นของขวัญในทุกช่วงเทศกาล และทุกโอกาส ผู้สนใจผลิตภัณฑ์ข้าว “อิ่ม” สามารถติดตาม ข้อมูลหรือสั่งซื้อได้ทาง www.immrice.com หรือโทรสั่ง ข้าวผ่านเบอร์โทรศัพท์
0 2308 0555