file

Market Wrap-Up

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 39 | คอลัมน์ SET Track

SET ไตรมาส 4/2016 (ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. - 8 ธ.ค. 2016) ประเทศไทยเผชิญความสูญเสียครั้งใหญ่ในเดือน ต.ค. โดยในช่วงแรกของเดือน ตลาดหุ้นฟื้นตัวจากแรงกดดันของปัญหาธนาคารในยุโรปที่เริ่มผ่อนคลายลง ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และผลประกอบการ 3Q16 ที่ดี ทำให้ดัชนีขึ้นไปทดสอบ 1,520 จุด แต่ในภายหลังข่าวการประชวรและการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ส่งผลให้นักลงทุนตกใจเทขายหุ้นไทยอย่างหนัก ปรับตัวแตะจุดต่ำสุดที่ 1,343 จุด ก่อนที่จะรีบาวด์อย่างรวดเร็ว แต่ยังมีบรรยากาศช่วงไว้ทุกข์คอยกดดัน

ขณะที่การเลือกตั้งของสหรัฐฯ ในต้นเดือน พ.ย. นาย Donald Trump พลิกโผชนะนาง Hillary Clinton ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว โดย USD Index เพิ่มขึ้นสูงสุดนับจากปี 2003 เมื่อรวมกับการที่ Fed เริ่มออกมาส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยในเดือน ธ.ค. ส่งผลให้กระแสเงินทุนเริ่มไหลออกจากประเทศไทยและประเทศอื่นๆ กลับไปยัง สหรัฐฯ ด้านราคาน้ำมันกลับมาเพิ่มขึ้นทะลุ 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ อีกครั้ง หลังการประชุมกลุ่ม OPEC ในช่วงสิ้นเดือน พ.ย. สามารถตกลงลดกำลัง การผลิตลงเป็น 32.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดิม 33.8 ล้านบาร์เรล ส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มพลังงานของไทย รวมถึงในช่วงปลายเดือน พ.ย. ภาครัฐได้ออกนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวและคาดว่าจะมีแผนกระตุ้นช้อปปิ้งช่วงสิ้นปี หนุนแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในเดือน ธ.ค. เริ่มฟื้นตัวขึ้น
 

ด้านการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ พลิกกลับมามียอดขายสุทธิที่ 5.2 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 4/2016 (ถึง 8 ธ.ค.) หลังจากที่มียอดซื้อ สะสม 3 ไตรมาสติดต่อกันรวม 1.32 แสนล้านบาท
 

  1. 04/10/2016 : สถานการณ์ความกังวลธนาคารในยุโรปเริ่มผ่อนคลายลง ราคาหุ้นของ Deutsche Bank ปรับตัวเพิ่มขึ้น 14% หลังจากที่ธนาคารมีความ คืบหน้าในการเจรจาค่าปรับกับกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ เหลือเพียง 5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากเดิมที่ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ ความเสี่ยงของกลุ่มธนาคารในยุโรปลดลง

  2. 10-13/10/2016 : ข่าวอาการประชวรและการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในช่วงต้นสัปดาห์ได้มีข่าวเกี่ยวกับ อาการประชวรเริ่มทรุดลงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลและเริ่มเทขายหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในวันที่ 10 ต.ค. ปรับตัวลดลงกว่า 47 จุด และปรับตัวลดลงต่ำสุดในวันที่ 12 ต.ค. โดยดัชนีปรับตัวลดลงไปต่ำสุดที่ 1,343.13 ก่อนที่จะมีข่าว การเสด็จสวรรคตในช่วงเย็นของวันที่ 13 ต.ค.

  3. 13/10/2016 : รายงานการประชุม Fed ครั้งก่อน และ OPEC ประเมินมีอุปทานน้ำมันส่วนเกิน รายงานการประชุม Fed ครั้งก่อน (20-21 ก.ย.) เริ่มแสดงถึงแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคตเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง หลังจากที่ OPEC มองว่าแม้จะมีการลดกำลังการผลิต แต่ยังมีอุปทานส่วนเกินของน้ำมัน

  4. 14/10/2016 : ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ช่วงไว้ทุกข์และงดการจัดกิจกรรมต่างๆ ทางภาครัฐได้ขอความร่วมมือกับทางภาคเอกชนในการงดจัดงานรื่นเริง และกิจกรรมต่างๆ รวมถึงขอความร่วมมือให้ประชาชนแต่งกายเพื่อไว้ทุกข์ แต่จากตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงแรงในช่วงที่ผ่านมาเกิดการรีบาวด์ หลังสถานการณ์เริ่มชัดเจนขึ้น ส่งผลให้หุ้นส่วนใหญ่เริ่มฟื้นตัวขึ้น เว้นแต่กลุ่มสื่อและโฆษณา การจัดอีเว้นต์ ที่ได้รับผลกระทบในระยะสั้น

  5. 19/10/2016 : เลขาธิการกลุ่ม OPEC ย้ำจำกัดการผลิตน้ำมันและ GDP Q3 ของจีนที่โตตามคาด ราคาน้ำมันในตลาดโลกกลับมายืนเหนือ 50 ดอลลาร์ สหรัฐฯ/บาร์เรล ได้อีกครั้งหลังจากที่ OPEC เผยว่ามีแผนในการเจรจาเพื่อปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มลงในช่วงปลายเดือน ในขณะที่ GDP Q3 ของจีนโต 6.7% ตามที่ตลาดคาดเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นในภูมิภาค

  6. 20/10/2016 : การประชุมของ ECB มีมติคงอัตราดอกเบี้ยตามคาด ECB มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและเงินฝากไว้ที่ 0% และ -0.4% ตามลำดับ แต่ยังไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับมาตรการ QE จำนวน 8 หมื่นล้านยูโร ที่กำลังจะสิ้นสุดในเดือน มี.ค. 2017

  7. 26/10/2016 : ราคาน􀁬้ำมันปรับตัวลดลง กังวลการประชุม OPEC และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าต่อเนื่อง ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงหลุด 50 ดอลลาร์ สหรัฐฯ/บาร์เรล กังวลการประชมุ OPEC ว่าจะไม่สำเร็จประกอบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าต่อเนื่อง และกระแสเงินทุนที่ไหลออกจาก ตลาดหุ้นไทยกดดัน SET

  8. 01/11/2016 : คณะรัฐมนตรีอนุมัติรถไฟรางคู่ 3 สายมูลค่า 5.5 หมื่นล้านบาท ครม. มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินโครงการรถไฟรางคู่ โดยใช้ระยะเวลา 5 ปีและใช้วิธีการประมูลแบบ E-auction ในเส้นทาง 1) นครปฐม - หัวหิน 2) หัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์ และ 3) ลพบุรี - ปากน้ำโพ (ใช้เวลา 6 ปี) โดยมีมูลค่ารวม 5.5 หมื่นล้านบาท

  9. 03-04/11/2016 : ความเสี่ยงการเลือกตั้งของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ความนิยมของนาย Donald Trump เพิ่มขึ้นสูสีนาง Hillary Clinton ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ทำให้นักลงทุนเริ่มกังวลต่อนโยบายของนาย Trump ที่ค่อนข้างสุดโต่งต่างจากนาง Clinton ในขณะที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงหลุด 45 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ บาร์เรล ทำจุดต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์

  10. 09/11/2016 : นาย Trump ชนะการเลือกตั้งสหรัฐฯ หลังจากที่ทางสหรัฐฯ ได้มีการเลือกตั้งในวันที่ 8 พ.ย. ผลการนับคะแนนปรากฏว่านาย Trump ชนะนาง Clinton ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยเกิดการ Panic ในระยะสั้น โดยปรับตัวลดลงระหว่างวันกว่า 23 จุดและรีบาวด์กลับมาในช่วงท้ายตลาด

  11. 11-14/11/2016 : กระแสเงินทุนไหลออกรุนแรงจากนโยบายสุดโต่งของนาย Trump จากนโยบายที่จะเน้นกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศของนาย Trump ที่เพิ่มขึ้นและแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ทำให้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องและสูงสุดในวันที่ 11 พ.ย. มียอดขายสุทธิ 3.7 พันล้านบาท และขายต่อเนื่องรวมทั้งเดือน พ.ย. 3.69 หมื่นล้านบาท

  12. 21/11/2016 : รายงาน GDP 3Q16 ของไทยออกมาต่ำกว่าคาด สภาพัฒน์รายงาน GDP ช่วง 3Q16 ของไทยโต 3.2% YoY ต่ำกว่าที่เราคาดไว้ที่ 3.5% ทำให้ภาครัฐจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม เพื่อให้สามารถโตได้ตามเป้า

  13. 22-23/11/2016 : กองทุน LTF&RMF เปิดใหม่ ราคาน้ำมันฟื้นตัว ปรับประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขึ้น ตลาดหุ้นไทยได้รับปัจจัยบวกจากรอบด้าน ทั้งเม็ดเงินของกองทุน LTF-RMF ที่เปิดใหม่ไหลเข้าตลาด ราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 45 ดอลลาร์ฯ/บาร์เรล เป็น 48 ดอลลาร์ฯ/บาร์เรล เนื่องจาก นักลงทุนมองว่า OPEC จะลดกำลังการผลิตลงในการประชุมช่วงสิ้นเดือน และ DB ได้ปรับประมาณการของ GDP สหรัฐฯ ขึ้นสำหรับปี 2017-18F จาก 1.7% และ 1.9% เป็น 2.3% และ 3.5% ตามลำดับ

  14. 29/11/2016 : ครม. ออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวช่วงปีใหม่ หลังจากที่ GDP Q3 ของไทยต่ำกว่าคาด และ Q4 มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบ จากบรรยากาศในช่วงไว้ทุกข์ ทำให้ ครม. เผยว่า จะมีมาตรการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ โดยได้ประกาศว่าค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ในเดือน ธ.ค. สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 1.5 หมื่นบาท แต่มาตรการช้อปช่วยชาติยังไม่เข้า ครม.

  15. 30/11/2016 : การประชุม OPEC บรรลุข้อตกลงลดกำลังการผลิต การประชุมวันที่ 30 พ.ย. กลุ่ม OPEC บรรลุข้อตกลงในการลดก􀁬ำลังการผลิตลง 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เหลือ 32.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน นับเป็นการลดกำลังการผลิตครั้งแรกนับจากปี 2008 อีกทั้งรัสเซียยังประกาศที่จะร่วมมือในการ ลดกำลังการผลิต ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นทันทีกว่า 9%

  16. 08/12/2016 : ECB ยืดอายุมาตรการ QE ต่อไปอีก 9 เดือน การประชุม ECB มีมติขยายเวลามาตรการ QE ออกไปอีก 9 เดือน มากกว่าตลาดคาดไว้ ที่ 6 เดือน แต่อย่างไรก็ตามมีการปรับลดวงเงิน QE จากเดิมเดือนละ 8 หมื่นล้านยูโร เป็น 6 หมื่นล้านยูโร ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2017 เป็นต้นไป แต่ยัง ส่งสัญญาณพร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมหากมีความจำเป็น