file

การลงทุนในประเทศกลับมาเป็นเครื่องยนต์สําคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปี 2018

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 43 | คอลัมน์ @ ECON

การลงทุนภาครัฐมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นตั้งแต่ 1Q18 นำโดยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการที่ประมูลแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2017 จะเริ่มเข้าสู่ระยะก่อสร้าง อาทิ รถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง รถไฟฟ้าสายสีเหลืองและรถไฟฟ้าสายสีชมพู นอกจากนี้ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการจะเข้าสู่ช่วงประมูล โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน EEC ที่คาดว่ารัฐบาลจะเร่งดำเนินการเป็นพิเศษ เพื่อให้สอดรับกับการประกาศใช้ พ.ร.บ. EEC ในช่วง 1Q18 นอกจากนี้ เราคาดว่าการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (Thailand Future Fund) และการปรับปรุง พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างจะได้บทสรุปที่ชัดเจน และส่งผลให้การลงทุนภาครัฐสามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่นมากขึ้น


แผนภาพที่ 1: เม็ดเงินลงทุนกว่า 2.4 แสนล้านบาทจะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ สูงกว่าปี 2017 ราว 3 เท่า
 

file


Source: Ministry of Transport, Office of Transport and Traffic Policy and Planning, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)
 

การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวชัดเจนขึ้น

การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากนักลงทุนมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นจากกระบวนการของการจัดการเลือกตั้งที่มีความคืบหน้าตามกำหนดการ เราคาดว่าการลงทุนภาคเอกชนจะกลับมาขยายตัวสูงขึ้นในช่วงที่รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง สะท้อนได้จากในช่วงปี 2000-2016 สัดส่วน FDI ที่เข้ามาลงทุนในไทยต่ออาเซียนในช่วงที่รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 15.4% สูงกว่าช่วงที่รัฐบาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง 2 เท่า นอกจากนี้ การลงทุนภาคเอกชนจะเร่งตัวขึ้นจากการลงทุนใน EEC โดยเฉพาะการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรม เป้าหมายที่รัฐบาลได้ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนหลายประการเพื่อดึงดูดให้นักลงทุนไทยและนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน
 

แผนภาพที่ 2: สัดส่วนของ FDI ของไทยในอาเซียนในช่วงที่รัฐบาลมาจาก การเลือกตั้งสูงกว่าช่วงที่รัฐบาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง 2 เท่า

 

file


Source: UNCTAD, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)
 

 

ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจะส่งผลบวกต่อการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทย

ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจะช่วยหนุนกำลังซื้อของประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างป ระเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง มาเลเซียและรัสเซีย ซึ่งมีสัดส่วนราว 10.9% ของมูลค่าส่งออกรวม และมีสัดส่วนราว 17.8% ของรายได้จากการท่องเที่ยว สำหรับสินค้าส่งออกที่คาดว่าจะขยายตัวดี แบ่งออกเป็นสองกลุ่มหลักๆ ได้แก่ กลุ่มแรก สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ น้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันประมาณ 15% ของมูลค่าส่งออกรวม และกลุ่มที่สองสินค้าส่งออกในกลุ่มรถยนต์และส่วนประกอบ ซึ่งเราเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวการส่งออกรถกระบะไปตะวันออกกลางที่เริ่มกลับมา ขยายตัวดีขึ้น


แผนภาพที่ 3: การส่งออกและการท่องเที่ยวของประเทศคู่ค้าที่มีรายได้หลักจากน้ำมันมีแนวโน้ม ขยายตัวดีขึ้นตามราคาน้ำมัน
 

file


Source: Department of Tourism, MoC, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)

Note: Figures in parentheses are ranking in 2016

เราปรับเพิ่มประมาณการ GDP ปี 2017 เป็น +3.9% และปี 2018 เป็น +4.1%

เราปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2017 ที่+3.9% จากเดิม +3.6% เนื่องจากการส่งออกและการท่องเที่ยวขยายตัวดีขึ้นตามเศรษฐกิจโลก การลงทุนภาคเอกชนเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว การบริโภคภาคเอกชนทยอยฟื้นตัว แต่ยังไม่กระจายตัวมากนัก อย่างไรก็ดี การลงทุนภาครัฐชะลอตัว เนื่องจากรัฐบาลเร่งเบิกจ่ายงบประมาณไปในช่วงก่อนหน้า และการบังคับใช้ พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างที่เข้มงวด ส่งผลให้การลงทุนในหลายโครงการมีความล่าช้า เราประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2018 ไว้ที่ +4.1% เพิ่มขึ้นจาก +3.8% โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ประกอบกับการลงทุนในประเทศทั้งการลงทุนภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชนมีแ นวโน้มเร่งตัวขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่งและกระจายตัวมากขึ้น


แผนภาพที่ 4: เราปรับเพิ่มประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ +3.9% ในปี 2017 และ +4.1% ในปี 2018

 

file

 

Source: Department of Tourism, Ministry of Commerce (MoC), National Economic and Social Development Board (NESDB), TISCO Economic Strategy Unit (ESU)