file

“อรุโณชา ภาณุพันธุ์” นักจัดมือทอง ผู้ปลุกกระแสความเป็นไทย สร้างแรงกระเพื่อมต่อสังคม

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 45 | คอลัมน์ People

“สร้างสรรค์ แตกต่าง และแปลกใหม่” คือปรัชญาในการทำงานของ “หน่อง-อรุโณชา ภาณุพันธุ์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น
ในฐานะผู้จัดละครชื่อดังที่ในเวลานี้คงไม่มีใครไม่รู้จักด้วยปรัชญาที่ยึดมั่นมากว่า 30 ปี จึงไม่ต้องแปลกใจว่า ทำไมละครพีเรียดบุพเพสันนิวาสถึงได้ประสบความสำเร็จและสร้างแรงกระเพื่อมต่อสังคมไทย ปลุกกระแสชาตินิยม อีกทั้งสร้างห่วงโซ่เศรษฐกิจให้กับประเทศได้ถึงขนาดนี้ และเธอยังไม่หยุดที่จะท้าทายสิ่งใหม่ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าละครไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก กับแผนในการร่วมทุนสร้างละครร่วมกับประเทศจีนที่ถือเป็นบิ๊กโปรเจกต์ในปี 2562
เลยก็ว่าได้

เป็นที่รู้กันว่าเบื้องหลังเรตติ้งถล่มทลายที่แตะไปที่ 18.6 และบางตอนที่ออกอากาศพุ่งไปถึง 20 ของละคร “บุพเพสันนิวาส” มีผู้จัดละครหญิงคนเก่งอย่าง
“คุณหน่อง-อรุโณชา ภาณุพันธุ์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น จำกัด เป็นหัวเรือใหญ่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายของละครที่อยู่ท่ามกลางสมรภูมิโทรทัศน์ยุคดิจิทัลและพฤติกรรม ผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรับชมตามความต้องการและไลฟ์สไตล์ของตัวเองเป็นหลัก

สิ่งที่หล่อหลอมเธอมาจากกิจกรรมที่ร่วมทำกับครอบครัว คือการดูโทรทัศน์ ดูภาพยนตร์ และเธอก็ยังรักการอ่านหนังสือตั้งแต่เด็ก จนอ่านนิยายชื่อดังเรื่องเพชรพระอุมา ของพนมเทียน จนจบตอนอายุกว่า 10 ขวบ จนเป็นคนหนึ่งที่สามารถเสพสื่อบันเทิงหลากหลายประเภท คอมเมดี้ โรแมนติก ดราม่า หรือสยองขวัญ รวมทั้งได้หลายเชื้อชาติทั้ง จีน แขก ฝรั่ง

จากที่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรและมีเป้าหมายแน่ชัดว่าจะเรียนสาขาที่เกี่ยวกับการโทรทัศน์ แม้เรียนจบสายวิทย์-คณิตมา จึงเลือกเรียนคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนถึงวันนี้เธอบอกว่าเป็นคนหนึ่งที่โชคดีเพราะ “เราได้รักในสิ่งที่เรียน และโชคดีมากที่เรียนในสิ่งที่รัก และก็รักในสิ่งที่เราทำ หมายถึงการทำงานจนถึงทุกวันนี้”

เธอเริ่มต้นทำงานที่สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในฐานะ “ผู้กำกับรายการ” ผู้หญิงคนแรกของช่อง 3 มีหน้าที่กำกับรายการทั้งในส่วนของรายการประเภทต่างๆ และละครด้วย ทำให้ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ ทั้งรายการวาไรตี้เด็ก สารคดี และละคร รวมทั้งยังเป็นผู้กำกับรายการข่าวสดครั้งแรกของช่อง 3 อีกด้วย

นอกจากนั้น ยังได้รับรางวัลจากเวทีต่างๆ มากมาย ตั้งแต่รางวัลเมขลา ผู้กำกับรายการยอดเยี่ยม จากละครเรื่องแต่ปางก่อน ของคุณจิ๋ม-มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช และเรื่องสุดแต่ใจจะไขว่คว้า ละครแนวสะท้อนสังคมของ คุณยุวดี ไทยหิรัญ ซึ่งภายหลังถือเป็นเอกลักษณ์ของผู้จัดคนนี้

แต่สิ่งที่ทำให้รู้สึกประทับใจถึงทุกวันนี้คือ การผลิตสารคดีพิเศษ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ
5 รอบ ที่ทำตั้งแต่เขียนสคริปต์ ไปถ่ายทำกันที่เมืองโลซาน สวิตเซอร์แลนด์ และได้ออกอากาศทางทีวีพูล อีกทั้งมีการแปลทั้งหมด 3 ภาษา ไทย อังกฤษ และฝรั่งเศส เพื่อมอบให้กับสถานทูตในหลายประเทศอีกด้วย

 

file

 

ผลจากละครได้เกิดผลที่ผู้ผลิตเองก็คาดไม่ถึงหลายเรื่อง ซึ่งน้อยครั้งมากที่จะเห็นทิศทางทางสังคมที่ดีไปในทางเดียวกัน และเกิดห่วงโซ่เศรษฐกิจต่อเนื่องกับคนไทย ตั้งแต่การแต่งกายชุดไทย จนเสื้อผ้าไทยแบบสำเร็จรูปและเครื่องประดับอื่นๆ ขาดตลาด
 

สิ่งเหล่านี้ล้วนมาจากหลักปรัชญาที่กำหนดขึ้นมาตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทเลยว่า บรอดคาซท์ฯ คือ “คุณภาพอยู่ที่การคิดอย่างสร้างสรรค์ แต่คุณภาพของเรานั้น ต้องสร้างสรรค์เพื่อสังคม”

สำหรับเรื่องบุพเพสันนิวาส นี่คือที่สุดของละครที่ทำมาทั้งหมด เพราะตลอดระยะเวลา 1 เดือนครึ่งที่ละครออกอากาศ ผลจากละครได้เกิดผลที่ผู้ผลิตเองก็คาดไม่ถึงหลายเรื่อง ซึ่งน้อยครั้งมากที่จะเห็นทิศทางทางสังคมที่ดีไปในทางเดียวกัน และเกิดห่วงโซ่เศรษฐกิจต่อเนื่องกับคนไทย ตั้งแต่การแต่งกายชุดไทย จนเสื้อผ้าไทยแบบสำเร็จรูปและเครื่องประดับอื่นๆ ขาดตลาด หรือการนำชุดไทยไปแต่งเมื่อไปเที่ยวต่างประเทศ การช่วยเพิ่มการขยายตัวเศรษฐกิจให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือแม้ละครจบแล้วก็มีคนไปเที่ยววัดไชยวัฒนาราม เฉลี่ยเพิ่มขึ้นวันละ 3 หมื่นคน จากเดิมเฉลี่ยวันละ 1,000 คน อีกทั้งเด็กนักเรียนเลือกเรียนคณะโบราณคดีของมหาวิทยาลัยศิลปากร เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

แม้กระทั่งการพลิกโฉมงานสัปดาห์หนังสือ หนังสือที่เกี่ยวข้องกับละครบุพเพสันนิวาสขายดี รวมไปถึงยอดการซื้อหนังสือจินดามณี ขายได้เป็นหมื่นเล่มและยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ และยังมีการซื้อหนังสือประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและเป็นการ ทำละครเรื่องแรกที่ผู้จัดและทีมนักแสดงมีโอกาสได้เข้าพบท่านนายกรัฐมนตรี

“ความยากของเรื่องนี้มีอยู่มาก เพราะเป็นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ไม่เคยมีใครทำ หลายตัวละครมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ แต่เธอรู้สึกโชคดีที่ทุกองค์ประกอบที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับละครเรื่องนี้ ต่างให้ความสำคัญกับหลักความถูกต้องและความสวยงาม ตั้งแต่ผู้ประพันธ์ใช้เวลาวิจัยข้อมูล 3 ปี เขียนอีก 1 ปี รวมทั้งหมด 4 ปี อาจารย์แดง ศัลยา ผู้เขียนบทโทรทัศน์ก็ใช้เวลาหาข้อมูลอีก 2-3 ปี ฝ่ายเสื้อผ้า ทำผม ฝ่ายศิลป์ที่ดูฉาก ทุกส่วนล้วนทำงานกันหนัก ทำการศึกษา วิจัย สเก็ตช์ ดีไซน์ภาพออกมาให้อิงและเหมาะสมกับความเป็นจริงมากที่สุด”

ขณะที่โลกออนไลน์ทั้งทวิตเตอร์มีการทวิตถึงบุพเพสันนิวาส Impression ถึง 8,300 ล้านครั้ง จนติดอันดับหนึ่งของทวิตเตอร์โลก (World Trend Twitter) ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับฝรั่งกันมาก ยอดการดูย้อนหลังก็ทะลุไปแล้วกว่า 200 ล้านครั้ง มีผลงานวิจัยด้านนิเทศศาสตร์ออกมามากมาย เช่น ทำให้กลุ่มที่ไม่ดูละครและไม่ดูโทรทัศน์กลับมาดูได้เพิ่มขึ้นถึง 36% และที่สำคัญคือ กลุ่มผู้ชายที่ไม่ได้ดูละครก็มาดูเรื่องนี้อย่างเช่น คุณโน้ส อุดม แต้พานิช

จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแสดงถึงเนื้อหา (Content) คือคำตอบของทั้งหมด (Content is a King) และคอนเทนต์จะถูกเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ เพราะส่วนตัวเชื่อว่าทุกอย่างบนโลกนี้ต้องประกอบไปด้วยทั้งสาระและบันเทิง ดังนั้น ความรู้เรื่องการเงินการค้า หรือเศรษฐกิจ ถ้าเราทำให้มีความน่าสนใจ ทุกอย่างก็จะสามารถเป็นไพร์มไทม์ได้เหมือนกันหมด (Anywhere Anytime)

ยิ่งท่ามกลางการแข่งขันอุตสาหกรรมบันเทิงที่แข่งขันสูงตอนนี้ สิ่งสำคัญต้องมีความแตกต่างและความแปลกใหม่ เพราะถ้าคนดูแยกไม่ได้เขาก็จะรู้สึกว่าไม่ดูก็ได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นละครหรือธุรกิจก็ต้องหาจุดที่แตกต่างให้พบ

file

 

“ทุกวันนี้ของทุกอย่างใกล้กันหมด แต่ความสำเร็จอาจจะเฉือนกันแค่เส้นยาแดงก็ได้เห็นได้จากบุพเพฯ แม้จะเป็นละครพีเรียด แต่วิธีการเล่าเรื่องจะมีความแตกต่างจากละครหลายเรื่องที่ผ่านมาอย่างชัดเจนตรง ที่มีจังหวะ มีการเปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์กับปัจจุบันให้เห็นในแต่ละฉากชัดเจน”

ความเฟื่องฟูของโลกออนไลน์และเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมคน สำหรับผู้บริหารคนนี้มองว่าเป็นสิ่งที่ต่างเข้ามาช่วยเสริมและเกื้อกูลมากกว่าจะเป็น ตัวมาทำลายล้างสิ่งเก่า เห็นได้จากช่วงที่ละครบุพเพฯ ออกอากาศ ส่วนใหญ่แม้ต้องการไปดูแบบออกอากาศสดทางโทรทัศน์ แต่ใครที่เดินทางไม่ทันก็สามารถดูออนไลน์ทางแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนหรือติดตามทางโซเชียลมีเดีย ทางทวิตเตอร์ หรือเฟซบุ๊ก หรือไปดูย้อนหลังได้เช่นกัน

“ทุกสื่อมีข้อดีและศักยภาพของตัวเอง อยู่ที่ว่าคอนเทนต์จะสามารถดึงดูดให้ไปอยู่ในสภาพแวดล้อมและไลฟ์สไตล์ของผู้ ชมแต่ละคนได้อย่างไร และเชื่อว่ารูปแบบเนื้อหาที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น ข่าว ละคร เกมโชว์ วาไรตี้ต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะไม่หายไปจากสังคมและจากผู้ชมเพราะชีวิตจริงทุกคนยังต้องการรับสารแห่งความสุขนี้อยู่ เพียงแต่จะเข้าถึงผู้ชมผ่านช่องทางไหนมากกว่ากัน และถือเป็นปกติมาก ที่เมื่อละครออกฉายตั้งแต่วินาทีแรก เราก็จะถูกตัดสินทันที และทุกคนจะตัดสินตามความชอบและรสนิยมที่แตกต่างกันไป โดยเราต้องเข้าใจว่ามีหลายปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ช่วงออกอากาศ หยุดเทศกาล ไม่มีอะไรที่สามารถคาดการณ์ได้ 100% แค่เพียงทำทุกขั้นตอนให้เต็มที่และดีที่สุด”

จุดเปลี่ยนระบบการออกอากาศแบบดิจิทัลสู่ 4.0 อาจทำให้ความหลากหลายของสื่อยังมีการพัฒนาไปอีกมาก แต่ตัวแปรที่จะทำให้ผู้ผลิตแข็งแกร่งได้คือ ต้องเปลี่ยนทัศนคติตัวเองให้ก้าวทันต่อสถานการณ์ สังคม และผู้ชมและในบางจุดผู้จัดควรมีทัศนคติหรือมุมมองที่ล้ำไปกว่าคนดูหรือสังคม ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นได้ โดยสิ่งที่ผู้ผลิตไม่สามารถตกยุคได้คือ เรื่องเทคโนโลยี เพราะจะทำให้กลายเป็นยุคไดโนเสาร์ทันที ดังนั้น ต้องเปลี่ยนทัศนคติที่ต้องเรียนรู้ เพราะทุกวันมีเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

จุดเปลี่ยนระบบการออกอากาศแบบดิจิทัลสู่ 4.0 อาจทำให้ความหลากหลายของสื่อยังมีการพัฒนาไปอีกมาก แต่ตัวแปรที่จะทำให้ผู้ผลิตแข็งแกร่งได้คือ ต้องเปลี่ยนทัศนคติตัวเองให้ก้าวทันต่อสถานการณ์ สังคม และผู้ชมและในบางจุดผู้จัดควรมีทัศนคติหรือมุมมองที่ล้ำไปกว่าคนดูหรือสังคม ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นได้ โดยสิ่งที่ผู้ผลิตไม่สามารถตกยุคได้คือ เรื่องเทคโนโลยีกว่า 30 ปีที่ผลิตเนื้อหาและละครมาเกือบทุกประเภท หลักการสำคัญคือ “การบริหารจัดการคน” ผู้จัดต้องรู้ศักยภาพและรู้จักจัดวางคนที่มีความถนัดในแต่ละส่วนลงมาทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะสายงานไหนหัวใจสำคัญคือ “คน” ที่เป็นเฟืองจักรสำคัญของงาน เพราะถ้าคนมีคุณภาพ เข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของตัวเอง ทีมเวิร์กจะดีมาก และในฐานะหัวหน้าทีมก็ต้องรู้ว่าจะพัฒนาหรือให้กำลังใจกับทีมงานด้วย ทั้งหมดนี้จะทำให้ทุกองคาพยพอยู่รอดไปด้วยกันหมด เพราะจะทำให้กลายเป็นยุคไดโนเสาร์ทันที ดังนั้น ต้องเปลี่ยนทัศนคติที่ต้องเรียนรู้ เพราะทุกวันมีเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

 

“มุมมองเรื่องงานจะสอดคล้องไปกับหลักธรรมะที่จะเน้นความละเอียดอ่อนและทำให้ทุกอย่างสมบูรณ์มากที่สุด ซึ่งในเชิงธรรมะหมายถึงความใส่ใจกับงานและมีความสุขกับงาน เพราะถ้าเรารักในสิ่งที่เราทำ มันจะไม่สร้างความทุกข์ให้เรา แม้จะเหนื่อยยาก แต่ก็จะรู้ว่าแฮปปี้

 

ในอีก 3-5 ปี บรอดคาซท์ฯ จะยังคงเป็นผู้ให้บริการคอนเทนท์ (Content Provider) ผู้ผลิตสื่อโทรทัศน์ทุกประเภทที่ทำงานสร้างสรรค์สังคมเหมือนเดิม และจะไม่หยุดสร้างสิ่งแปลกใหม่และปะทะความท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งตอนนี้ความท้าทายใหม่กำลังจะเริ่มต้นนั่นคือ การพัฒนาด้านโปรดักชั่นและคุณภาพให้ทัดเทียมเกาหลี ญี่ปุ่น หรือระดับเอเชีย เพราะคนไทยเองก็มีฝีมือสร้างสรรค์งานคุณภาพออกไปสู่เอเชียได้

จากการทำละครลิขิตรักข้ามดวงดาว ซึ่งเป็นละครรีเมกซีรี่ส์ชื่อดังของเกาหลี You Who Came From the Stars เพราะไม่ได้ถูกจับตาเฉพาะในประเทศไทย แต่หมายถึงทั่วเอเชีย เนื่องจากเป็นเรื่องที่ดังเรื่องหนึ่งของเกาหลี ซึ่งกว่าจะได้รับลิขสิทธิ์ให้ทำก็ต้องผ่านการพิจารณารายละเอียด รวมถึงผลงานและประวัติของผู้ที่ไปขอลิขสิทธิ์เพื่อรีเมกด้วย และยังรวมไปถึงการคัดเลือกนักแสดงที่จะมาแสดงด้วย รวมถึงการร่วมทุนสร้างละครกับประเทศจีนภายในปี 2562 ที่ตอนนี้มีหลายแห่งให้เราผลิตงานให้กับทางจีน เพราะปัจจุบันคนจีนชอบดูละครไทยและชื่นชอบนักแสดงไทยด้วย

สำหรับหลักการดำเนินชีวิต คุณหน่องตอบได้อย่างน่าสนใจว่า “หากในมุมมองเรื่องงานจะสอดคล้องไปกับหลักธรรมะที่จะเน้นความละเอียดอ่อนและทำให้ทุกอย่างสมบูรณ์มากที่สุด ซึ่งในเชิงธรรมะหมายถึงความใส่ใจกับงานและมีความสุขกับงาน เพราะถ้าเรารักในสิ่งที่เราทำ มันจะไม่สร้างความทุกข์ให้เรา แม้จะเหนื่อยยาก แต่ก็จะรู้ว่าแฮปปี้ จนปัจจุบันเห็นสิ่งที่อยู่รอบตัวหรือในชีวิตประจำวัน ก็สามารถปรับมุมมองมาใช้ในการทำงานที่รัก รวมถึงหลักอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ที่ใช้ปฏิบัติควบคกูั่นในการถือ ศีล สมาธิ และปัญญา เพราะหากรักษาศีลอย่างเคร่งครัดแล้ว จะมีสมาธิ นิ่งมีสติ แล้วเราก็จะมีปัญญาในการแก้ไขปัญหาชีวิตและงานต่างๆ ได้”

ขณะที่ชีวิตส่วนตัว คุณหน่องบอกว่า “แย่สุดตอนนี้คือไม่มีเวลาให้ครอบครัว โดยเฉพาะช่วงที่ต้องตัดต่อละครกลับบ้านดึกหลายวัน ซึ่งเราก็ต้องรักษาสมดุลชีวิตให้กับตัวองและครอบครัวด้วย เช่น หากอยู่ทำงานดึกติดต่อกันหลายคืนก็ต้องรู้จักหยุดและแบ่งเวลาให้ครอบครัวให้ได้ แต่โชคดีที่คู่ชีวิตและครอบครัวอยู่ด้วยกันบนพื้นฐานของความเข้าใจซึ่งกันและกัน รวมทั้งใช้เหตุผลในการพยายามอธิบายถึงเหตุผลของการกระทำ ซึ่งที่ผ่านมาครอบครัวก็เข้าใจในลักษณะงานเราที่เป็นแบบนี้”

ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า ความใส่ใจในรายละเอียดและความสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่ของผู้จัดละครหญิงคนนี้ ในการนำเสนอละครแต่ละเรื่อง ล้วนมีผลในการสะท้อนและสร้างแรงกระเพื่อมที่ดีทั้งต่อสังคมไทยและวัฒนธรรมไทยได้ไม่น้อย

 

file

 

ความรู้สึกที่มีต่อ ‘ทิสโก้’

คุณหน่อง-อรุโณชา ภาณุพันธุ์ ครั้งหนึ่งเคยเป็นวิทยากรกับทางทิสโก้ไปคุยเรื่องการสร้างสรรค์หรือครีเอทีฟ จากวันนั้นถึงปัจจุบันเห็นถึงการพัฒนาการเติบโตของกลุ่มทิสโก้มาก เพราะถือเป็นสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง ที่ทำทั้งเรื่องการเงิน การธนาคาร หลักทรัพย์ และบริการลูกค้ากลุ่มเวลธ์ ซึ่งถือว่าทิสโก้ช่วยสร้างการพัฒนาและความแข็งแกร่งในเชิงเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย

โดยปี 2562 กลุ่มทิสโก้จะครบรอบ 50 ปี จึงขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้กับพนักงาน ผู้บริหาร ลูกค้า มีการเติบโตและเป็นพาร์ทเนอร์ที่ดีต่อกันอย่างนี้ตลอดไป รวมทั้งจะเอาใจช่วยให้กลุ่มทิสโก้เป็นสถาบันการเงินสำคัญที่คอยช่วยประชาชนแ ละช่วยกันขับเคลื่อนประเทศไทยไปด้วยกัน และสุดท้ายขอขอบคุณที่ให้ความสำคัญและเห็นความสำคัญกับการทำงานของอุตสาหกรรมบันเทิงของไทยด้วย