
พญ.เมธินี ไหมแพง CEO หญิงแห่งโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่ม 1 ขับเคลื่อนธุรกิจเฮลธ์แคร์ด้วยยุทธศาสตร์สอดรับเทรนด์โลก
นิตยสาร Trust ฉบับที่ 72 | คอลัมน์ People

รางวัล CEO หญิงเก่งด้านการวางแผนกลยุทธ์ในธุรกิจเฮลธ์แคร์ (Best Woman CEO in Strategic Leadership Healthcare–Thailand 2024) โดย Women’s Tabloid Awards 2024 นับเป็นรางวัลที่เชิดชูเกียรติความสำเร็จของผู้นำในสาขาต่าง ๆ ปรากฏชื่อของ พญ.เมธินี ไหมแพง CEO โรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่ม 1 ในเครือ BDMS (บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)) จากผลงานการขับเคลื่อนกลยุทธ์การบริหารงานโรงพยาบาลในหมวดธุรกิจสุขภาพของโรงพยาบาลกรุงเทพ หลังเข้ามานั่งตำแหน่งประธานคณะผู้บริหารได้เพียงปีกว่า ตอกย้ำความเป็น ‘มือโปร’ ในบทบาท CEO ที่ขับเคลื่อนองค์กรที่ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลที่น่าเชื่อถือสูงสุดในประเทศไทยและได้รับความไว้วางใจจากผู้รับบริการทั่วโลก
“รางวัลที่ได้มาไม่ใช่รางวัลของคนคนเดียว แต่คือผลงานของทั้งโรงพยาบาล เพราะโรงพยาบาลกรุงเทพพัฒนาต่อเนื่อง มีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้สอดรับกับเทรนด์โลกด้านสุขภาพและเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งยังตอบโจทย์ความต้องการด้านสุขภาพของผู้คนในโลกยุคใหม่ โดยเฉพาะ Smart Hospital ที่มีศักยภาพและความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย รวมถึงทุกคนในโรงพยาบาลและอีกเรื่องที่ประสบความสำเร็จด้านบุคลากรในองค์กร คือ Great Place to Work เน้นให้พนักงานในองค์กรทำงานด้วยความสุข เมื่อทุกคนมีความสุขก็จะส่งต่อความสุขไปให้กับผู้ป่วยที่มาใช้บริการ โรงพยาบาลกรุงเทพจึงมุ่งเน้นพัฒนาบริการอยู่เสมอ เพราะเรื่อง Service เรามีชื่อเสียงที่ดีมายาวนาน”
โรงพยาบาลกรุงเทพเป็นหนึ่งในเครือ BDMS ที่ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2515 และขยายเครือข่ายไปถึง 58 แห่งทั้งในประเทศไทยและประเทศกัมพูชา โดยครอบคลุมพื้นที่ให้บริการทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะเมืองใหญ่และแหล่งท่องเที่ยว ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง บุคลากรมืออาชีพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูง เพียบพร้อมด้วยบริการฉุกเฉินและบริการพิเศษเหนือระดับ สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เพื่อตอบสนองทุกความต้องการของผู้ใช้บริการทั้งประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติ พร้อมพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งสู่การเติบโตด้านธุรกิจอย่างมั่นคงแข็งแรงในฐานะโรงพยาบาลเอกชนผู้ให้บริการทางการแพทย์ที่ครบวงจรที่สุดในประเทศไทย
พญ.เมธินี ไหมแพง ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่ม 1 ประกอบด้วยโรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่ที่ภายในมี 5 โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล โรงพยาบาลวัฒโนสถ Cancer Hospital โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ และโรงพยาบาลชีวา ทรานสิชั่นนัล แคร์ อีกส่วนหนึ่งเป็นโรงพยาบาลในต่างจังหวัด ได้แก่ โรงพยาบาลกรุงเทพสนามจันทร์ (นครปฐม) โรงพยาบาลกรุงเทพเมืองราช โรงพยาบาลกรุงเทพเพชรบุรี โรงพยาบาลกรุงเทพหัวหิน และโรงพยาบาลเทพากร นอกจากนี้ พญ.เมธินี ยังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพ เรียกว่าเป็นทัพหน้าในการขับเคลื่อนองค์กรภายใต้พันธกิจสู่การพัฒนาธุรกิจเฮลธ์แคร์ที่พร้อมให้บริการและการดูแลรักษาตามมาตรฐานสากล สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชนและสังคม ภายใต้การเป็นองค์กรแห่งความสุข
Hospital in Hospital เชื่อมั่นในโรงพยาบาลกรุงเทพ
“โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่โดดเด่นมาก เพราะเรามีถึง 5 โรงพยาบาลภายใต้คอนเซปต์ Hospital in Hospital มานานกว่า 20 ปี จากการที่ประเทศไทยเดินหน้าด้านสาธารณสุขมุ่งเป็น Medical Hub ของเอเชียและระดับโลก จัดให้มี Excellence Center ศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านการรักษาโรคเฉพาะทาง โรงพยาบาลกรุงเทพ มี Excellence Center ของโรคกระดูก หัวใจ สมอง มะเร็ง และโรคอื่น ๆ 7 สาขา รวมถึงศูนย์อุบัติเหตุและศูนย์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน ต้องบอกว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา เราพัฒนาปรับตัวให้เข้ากับทุกเหตุการณ์ เราเห็นความสำคัญของทุกโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตและมีผลต่อ Quality of Life โดยโรงพยาบาลแรกที่แยกตัวออกมาคือ โรงพยาบาลหัวใจ อีก 2 ปีต่อมาเป็นโรงพยาบาลวัฒโนสถ Cancer Hospital โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านโรคมะเร็ง และตามมาด้วยโรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล เพราะเรารักษาด้วยมาตรฐานสากลมาโดยตลอด เพียงแต่ไม่เคยใส่คำว่า International เข้าไป โดยโรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล ถือเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางของกระดูกและสมอง มีทั้งศัลยกรรมกระดูกและข้อ สมองและระบบประสาท
สำหรับการแยกออกเป็นโรงพยาบาลแต่ละแห่ง พญ.เมธินี ไหมแพง CEO ของโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่ม 1 เล่าเหตุผลว่า เพื่อพัฒนาความชำนาญเฉพาะทางที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยจะเป็นประโยชน์แก่การรักษาสำหรับคนไข้มากขึ้น เราเปิดโรงพยาบาลชีวา ทรานสิชั่นนัล แคร์ (Chiva Transitional Care Hospital) เพื่อดูแลฟื้นฟูสุขภาพหลังภาวะวิกฤต เหมาะสำหรับคนไข้หลังผ่าตัดและฟื้นฟูด้วยการทำกายภาพบำบัด ผู้สูงอายุที่ต้องการฟื้นฟูทำกายภาพ รวมถึงที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยมีทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการดูแลผู้สูงอายุและเวชศาสตร์ฟื้นฟู พยาบาล นักกายภาพบำบัด และผู้ชำนาญการด้านการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ คอยดูแลอย่างใกล้ชิดให้กลับไปใช้ชีวิตที่บ้านได้อย่างปลอดภัย “เราตั้งเป้าหมายว่า Chiva Transitional Care Hospital คนไข้จำนวนหนึ่งอยู่โรงพยาบาลจนช่วยตัวเองได้ในชีใตประจำวัน ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของโรครวมถึงการมีผู้ช่วยดูแลแบบใกล้ชิด และในช่วงปีที่ผ่านมาได้ย้ายแผนกจิตรักษ์ ซึ่งเป็นแผนกจิตเวชของโรงพยาบาลมาอยู่ที่นี่ด้วย เพราะมองว่าจิตรักษ์เป็น Transitional Care คนไข้ที่ไปอยู่ได้ฟื้นฟูจิตใจไม่ใช่แค่ร่างกายอย่างเดียว”
โดดเด่นด้วยเน็ตเวิร์กที่แข็งแกร่ง
พญ.เมธินี ยังได้กล่าวถึงอีกความโดดเด่นเหนือระดับที่ทำให้การให้บริการพร้อมการดูแลรักษาที่ได้มาตรฐานสากลเต็มไปด้วยความเชื่อมั่นมากว่า 53 ปี “โรงพยาบาลกรุงเทพโดดเด่นด้วยเน็ตเวิร์กที่สามารถส่งต่อกันได้ แม้เป็นโรงพยาบาลแบรนด์อื่นก็ตาม ถ้าคุณป่วยที่ต่างจังหวัดก็สามารถส่งประวัติมาที่โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่ได้ เครือข่ายของเราเชื่อมโยงกัน สามารถส่งต่อระหว่างกันและกัน ให้สำนักงานใหญ่ส่งเครื่องบิน หรือเฮลิคอปเตอร์การแพทย์ฉุกเฉิน (SKY ICU) ไปรับก็ทำได้ หรือไปเที่ยวเกาะแล้วอยากออกมาตรวจร่างกายด่วน เราก็ส่งเรือการแพทย์ฉุกเฉิน (Hydrolance) ไปรับได้ มีพาหนะรับส่งคนไข้ไปทั่วโลกได้ในทันทีด้วย นี่คือความโดดเด่นที่เป็นข้อได้เปรียบของการเป็นโรงพยาบาลในเครือ BDMS”
ธุรกิจโรงพยาบาลยุคดิจิทัลขับเคลื่อนด้วย Smart Hospital
Key Concept ของ Smart Hospital ของโรงพยาบาลกรุงเทพ คือการผสานการใช้เทคโนโลยีทันสมัยเข้ากับเทคนิคการรักษาและการบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้รับบริการในทุกขั้นตอน ทำให้ในวันนี้โรงพยาบาลกรุงเทพมีทั้งแอปพลิเคชัน My B+ นัดหมาย พบแพทย์ และดูประวัติสุขภาพได้ทุกเวลา มีระบบ Smart Registration และ Smart Patient Management บริการจัดการผู้ป่วย มีระบบ B with you ติดตามความเคลื่อนไหวของผู้ป่วยขณะรักษาในโรงพยาบาล มีระบบ B in Touch ติดตามข้อมูลผู้ป่วยในได้ทั้งรายละเอียดการรักษา เวลาเข้าเยี่ยม และค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วย พร้อมเปิดตัวศูนย์บริการ Smart Service ให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาที่รวดเร็ว และ Smart Payment ชำระเงินได้สะดวกสบายเมื่อใช้บริการ
“Smart Hospital พัฒนามานานแล้ว ตั้งแต่ก่อนเข้ามาดำรงตำแหน่ง CEO และก่อนเป็นผู้อำนวยการตั้งแต่ 8 ปีที่แล้ว อย่างที่บอกอยู่เสมอว่า โรงพยาบาลกรุงเทพพัฒนาต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง พอมาถึงวันนี้ เราจึงสามารถขยายผลระบบการดำเนินการที่ครอบคลุมทั้งบริการและการทำงานของบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยการเติบโตของดิจิทัลที่ต้องนำมาแมตช์กับการทำงานของคน การบริหารจัดการ เราต้องขับเคลื่อนบุคลากรกับนวัตกรรมไปด้วยกันอย่างราบรื่นที่สุด”
อีกหนึ่งหัวใจของงานบริหารองค์กร คือ การบริหารคนควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรมให้องค์กรเดินหน้าสอดรับไปโลกยุคดิจิทัลนี้
“การพัฒนาคนในองค์กรเริ่มตั้งแต่การให้โอกาสเสนอผลงาน Idea I do, Idea We Do, Idea sharing แม้เราไม่ได้ลงไปถึงน้อง ๆ หน้างาน แต่ระบบการทำงานของเราจะร่วมกับระดับผู้จัดการที่ต่อยอดไปที่ระดับหัวหน้า จากหัวหน้าสู่ระดับ Staff และการมี Sharing เป็นการรีเช็กการตอบกลับระบบการทำงานภาพรวมทั้งหมดภายใต้ทิศทางที่องค์กรกำหนด ประสิทธิภาพในระบบการทำงาน ทราบความต้องการของบุคลากรที่อยากให้องค์กรสนับสนุน ยกตัวอย่างเรื่องการส่งเสริม AI ในองค์กร บุคลากรบางคนก็ยังเข้าไม่ถึง ยังไม่เข้าใจ ทำให้เราวางแผนสร้าง Skill ด้าน AI ให้กับทุกคน เรามี Session สอนเรื่อง AI ที่ทำให้หลายคนใช้เป็น มาปีนี้ เราจะให้ทีมทำงานลองจับคู่กันใช้ AI เพื่อพัฒนาการทำงาน จะเป็นทีมสองคนคู่กันหรือสามคนก็ได้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และใช้ด้วยตัวเอง หลังจากปฏิบัติการแล้วก็ส่งผ่านความรู้ให้แก่ทุกคน”
และนี่คือ Idea I do, Idea We do, Idea sharing ที่ พญ.เมธินีกล่าวถึง “ทั้งหมดนี้กลายเป็น Challenge ของทุกคนในการนำ Innovation มาใช้งานในแนวคิดของตัวเอง ซึ่งเรามีการประกวด BDMS Awards ในแต่ละปี ทำให้การส่งโปรเจกต์ต่าง ๆ ที่ออกแบบโดยบุคลากรของเราไปประกวดในระดับ BDMS ที่ตอนนี้มีโรงพยาบาลอยู่ 58 แห่ง เราก็ได้ที่หนึ่งติด ๆ กันหลายปี นี่คือข้อดีของการเป็นโรงพยาบาลในเครือใหญ่ ทำให้มี Resource ด้านการพัฒนาคน นอกจากนี้ ด้านการพัฒนานวัตกรรมในการรักษาด้วยเทคโนโลยี Innovation ของโรงพยาบาลกรุงเทพมีส่วนทำให้ BDMS ได้ SET Awards ติดกันถึง 2 ปีแล้ว”
สำหรับด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ตลอดเวลาที่ผ่านมาได้นำเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยมาใช้ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค เช่น Inspectra CXR ใช้ AI วิเคราะห์อ่านผลเอกซเรย์ทรวงอกและปอด ดิจิทัลแมมโมแกรม AI Assisted ตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยก่อนมีอาการ หุ่นยนต์ Robotic Surgery ‘The da Vinci Xi’ เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาโรค ตลอดจนใช้การแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) จากความรู้ทางการแพทย์และข้อมูลทางพันธุกรรม ตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรค เพื่อออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคล ครอบคลุมการดูแลสุขภาพในทุกมิติ
ก้าวต่อไปของโรงพยาบาลแห่งอนาคต
พญ.เมธินีเชื่อว่าระบบกับคนสำคัญเท่ากัน เราจึงได้ยินว่า Next Generation Hospital ควบคู่ไปกับ Next Generation Leader ในงานบริหารจัดการองค์กรของโรงพยาบาลกรุงเทพ
“สองคำนี้เป็นหัวใจหลักของงานบริหารองค์กรภายใต้ทิศทางของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไปแบบรวดเร็วมาก ๆ การวางแผนอะไรก็ตามจะวางในระยะเวลา 2 ปี แต่ก็มีแผนยาวแบบ 5 ปีหรือมากกว่านั้นเหมือนกัน เพราะโลกเปลี่ยนเร็วมาก เมื่อโลกเป็นแบบนี้ คุณสมบัติหลักของ Next Generation Leader ที่ต้องขับเคลื่อนองค์กรให้เป็น Next Generation Hospital นั้น ต้องมีความยืดหยุ่นในตัวเองสูง และต้องยืดหยุ่นแบบทันสถานการณ์ด้วย แต่คำว่า ‘ทันสถานการณ์’ แปลว่าต้องมีปัจจัยของความเหมาะสมด้วย เราจึงมีอีกคำหนึ่ง คือ ไม่มี Technology Gap กับ Knowledge Gap อย่าง COVID-19 ที่ผ่านมา ไม่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลง แต่เป็นตัวเร่งให้เทคโนโลยีถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างประสิทธิผลมากกว่า เพราะโรงพยาบาลกรุงเทพพัฒนาด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ มาสักพักแล้ว แต่พอเจอสถานการณ์โรคระบาดครั้งนั้น ทุกอย่างถูกเร่งเร็วขึ้น สรุปได้ว่าถ้าเป็น Next Generation Hospital ต้องยืดหยุ่น ทันเหตุการณ์ ไม่มี Technology Gap ไม่มี Knowledge Gap แค่นี้เลย และ Next Generation Leader ต้องครบคุณสมบัติข้างต้นด้วยเช่นกัน รวมถึงต้องมีความเป็นเจ้าของ Entrepreneurship”

โรงพยาบาลแห่งอนาคตและวิถีความยั่งยืน
“ในแง่ความยั่งยืนขอแบ่งเป็น 2 เรื่อง คือ ความยั่งยืนของโรงพยาบาลกรุงเทพ และความยั่งยืนภายใต้เครือ BDMS หากเป็นเรื่องแรก เรามีเป้าหมายให้คนไข้เข้ามาที่โรงพยาบาลกรุงเทพแล้วไม่ต้องถามว่าหมอคนไหนดี หมอคนไหนเก่ง สิ่งที่เราจะทำให้ได้ คือ คนไข้ไม่มีคำถาม มาจุดไหนของโรงพยาบาลก็ได้รับผลการรักษาที่ดีเหมือนกัน อันนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำในแง่ความยั่งยืนของโรงพยาบาล ทำให้องค์กรขับเคลื่อนด้วยการทำงานเป็นทีม มีอะไรปรึกษาหารือกัน ทีมไม่ใช่แค่เฉพาะแพทย์นะคะ แต่รวมถึงทุกคน ทั้งพยาบาล นักกายภาพบำบัด เภสัชกร นักเทคนิค บุคลากรแผนกต่าง ๆ ฯลฯ ต้องมีการปรึกษาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีร่วมกัน”
การขับเคลื่อนโรงพยาบาลกรุงเทพอย่างยั่งยืน ทีมบริหารเดินหน้ามาแล้วมากกว่า 5-6 ปี เป็นรูปแบบที่เรียกว่า Proactive Risk Management Progress ที่ พญ.เมธินีบอกว่าได้เริ่มต้นจากแผนกผ่าตัดของโรงพยาบาล เพราะเป็นแผนกที่มีความเสี่ยงสูง มีเคสที่ยุ่งยากซับซ้อน
“เราต้องเอาเคสเข้ามา Conference ให้หมอหลายคน หลายแผนก มานั่งวางแผนการรักษาร่วมกัน ไม่ใช่แค่หมอคนเดียวในการรักษาคนไข้ เมื่อรักษาเสร็จ เรามีโค้ช Post – Operative Conference เพื่อดูว่าการผ่าตัดเป็นอย่างไร เทคนิคใช้ได้ไหม มีต้องปรับตรงไหนหรือไม่ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม เราเน้นเรื่อง Proactive การป้องกันเชิงรุกเพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้น”
ยกตัวอย่างผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็ง เริ่มต้นจากทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพประชุมวางแผนการรักษาตามมาตรฐานระดับนานาชาติ ติดตามผลการรักษารวมถึงคุณภาพชีวิต อันจะเป็นการสร้างมาตรฐานการรักษาของโรงพยาบาลที่ยั่งยืนตลอดไป
“เรื่องความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลกรุงเทพทำ Green Hospital ทั้งแยกขยะ การจัดการพลังงานต่าง ๆ อย่างโครงการแยกขยะเพื่อเอามาทำพลาสติกรีไซเคิลร่วมกับ SCG ร่วมกับ Corsair แล้วก็เรื่อง Waste เช่น ขยะในห้องผ่าตัดก็ทำแล้ว โซลาร์เซลล์ก็ทำมานานมากแล้ว รวมถึงการประหยัดไฟ ประหยัดพลังงาน และ Food Waste เรียกว่าภาพรวมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมมีความชัดเจนมาอย่างต่อเนื่อง เป็นเป้าหมายเดียวกับ BDMS เดินหน้าให้ประเทศไทยเป็น Net Zero ในปี 2050”

ภารกิจที่ท้าทายในบทบาท CEO หญิงเก่ง
ช่วงท้ายของบทสนทนา พญ.เมธินี ไหมแพง CEO หญิงเก่งแห่งโรงพยาบาลกรุงเทพเล่าถึงความท้าทายในภารกิจขับเคลื่อนองค์กรภายใต้ยุทธศาสตร์ธุรกิจเฮลธ์แคร์ที่ต้องสอดรับและปรับตัวไปกับเทรนด์โลก
“ความแตกต่างของโรงพยาบาลกรุงเทพในคอนเซปต์ Hospital in Hospital ไม่มีที่ไหนในเมืองไทย ด้วยความเชี่ยวชาญของโรงพยาบาลรักษาโรคยากได้ดี เราจึงแตกต่างจากที่อื่น คนไข้ให้ความไว้วางใจเยอะ เราเติบโตในทิศทางนี้ด้วยการยอมรับจากสังคม และดิฉันในฐานะผู้บริหารระดับสูงถ้าถามว่า ‘มีความกดดันไหม’ ยอมรับค่ะว่า ‘กดดัน’ แต่ไม่มาก เนื่องด้วยธุรกิจมีการพัฒนาในหลายด้านหลายมิติมาอย่างต่อเนื่อง มีเป้าหมายชัดเจน แม้จะมีการแข่งขันสูง บวกกับเทคโนโลยีและกระแสดิจิทัลต่าง ๆ ส่วนตัวมองว่าเป็นความท้าทาย เป็นแนวทางที่สามารถสร้างความแตกต่างในแวดวงธุรกิจ แต่ถ้าเรามาเริ่มบริหารจากจุดเริ่มต้นที่ศูนย์เลย อันนี้น่าจะกดดันดิฉันมาก ๆ (หัวเราะ)”
ส่วนด้านการแพทย์แทบไม่ได้สร้างความกังวลให้ผู้บริหารหญิงแห่งโรงพยาบาลกรุงเทพ “อาจเพราะเราเป็นหมอเฉพาะทางอยู่แล้ว การคุยกับแพทย์ทุกคนก็เข้าใจกัน คุยภาษาเดียวกัน ไม่มีการบังคับให้แพทย์ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ อยากใช้ยาอะไรรักษาทำได้เลยอย่างเหมาะสม ไม่มีการห้ามรักษาในรูปแบบใด ๆ นอกจากนี้เป็นความโชคดีที่บุคลากรของเราดี เก่ง และมีคุณภาพ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อย่างโรงพยาบาลระบบประสาทและสมองของเรามีหมอกว่า 20 คน ไม่คิดว่าที่ไหนจะมีหมอหลากหลายความเชี่ยวชาญเหมือนเรา หมอกระดูกมีเกือบ 30 คน และเรามีเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลพรั่งพร้อม เรียกว่าโรงพยาบาลกรุงเทพทุ่มทุนมาก”
และในแต่ละคืนที่โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่ต้องมีการอยู่เวร พญ.เมธินีบอกว่า ที่นี่มีหมอมากกว่า 30 คนประจำการในทุกคืนจึงมั่นใจได้ว่าหากมาที่นี่แล้วคุณจะปลอดภัย
“ดิฉันทำงานและบริหารงานทุกส่วนขององค์กรภายใต้หลักการที่ว่า ทำให้ดีขึ้น ทำอะไรให้ดีกว่าเดิมได้ก็ควรจะทำ และต้องมี Attitude ที่ดีต่อการทำงาน เรื่องนี้สำคัญมาก ๆ เป็นคนมองโลกในแง่ดี เป็นคนที่คิดว่าไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ ถ้าทำไม่ได้ตอนนี้ เดี๋ยวเวลาผ่านไปก็จะทำได้ ดังนั้นก็ส่งผลให้เราชอบคนที่ Attitude ดี ๆ ด้วยเช่นกัน การคิดบวกเป็นพลังงานบวกที่ทำให้ทำงานร่วมกันและอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข”
และเมื่อถูกถามว่าข้อได้เปรียบของผู้หญิงที่อยู่ในตำแหน่ง CEO ของธุรกิจเฮลธ์แคร์ที่มีมาตรฐานและชื่อเสียงที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล พญ.เมธินีตอบชัดเจนว่า “ผู้บริหารของโรงพยาบาลกรุงเทพเป็นผู้หญิงจำนวนมาก ตั้งแต่ President CEO รอง CEO รวมถึง CFO Marketing และ HR Director ข้อได้เปรียบน่าจะเป็นมุมมองที่ละเอียด อย่างตอนนี้ดูแลเรื่อง Employee Wellbeing ดูตัวเลขน้อง ๆ แล้วทำไมน้ำหนักขึ้นกันเยอะ เมื่อก่อนเราเป็น Quality Director พอเห็นใครน้ำหนักเกิน BMI (Body Mass Index) ไปแบบ 25 – 30 ก็ไม่สบายใจแทนน้อง ๆ แล้ว เราจึงต้องมีโครงการเพื่อเป้าหมาย Employee Wellbeing นอกจากสุขภาพกายดีแล้ว ยังมีโครงการด้าน Financial Health ที่ดีด้วย ซึ่งเรามองว่าเป็นความละเอียดที่ผู้บริหารผู้หญิงเห็นได้ลึกซึ้งกว่า สร้างบรรยากาศการบริหารงานที่เข้าอกเข้าใจ น่าจะเป็นความได้เปรียบของผู้หญิงในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของทุกองค์กรค่ะ” พญ.เมธินี CEO หญิงแห่งโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่ม 1 กล่าวทิ้งท้าย
โรงพยาบาลแห่งอนาคตและวิถีความยั่งยืน
“ในแง่ความยั่งยืนขอแบ่งเป็น 2 เรื่อง คือ ความยั่งยืนของโรงพยาบาลกรุงเทพ และความยั่งยืนภายใต้เครือ BDMS หากเป็นเรื่องแรก เรามีเป้าหมายให้คนไข้เข้ามาที่โรงพยาบาลกรุงเทพแล้วไม่ต้องถามว่าหมอคนไหนดี หมอคนไหนเก่ง สิ่งที่เราจะทำให้ได้ คือ คนไข้ไม่มีคำถาม มาจุดไหนของโรงพยาบาลก็ได้รับผลการรักษาที่ดีเหมือนกัน อันนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำในแง่ความยั่งยืนของโรงพยาบาล ทำให้องค์กรขับเคลื่อนด้วยการทำงานเป็นทีม มีอะไรปรึกษาหารือกัน ทีมไม่ใช่แค่เฉพาะแพทย์นะคะ แต่รวมถึงทุกคน ทั้งพยาบาล นักกายภาพบำบัด เภสัชกร นักเทคนิค บุคลากรแผนกต่าง ๆ ฯลฯ ต้องมีการปรึกษาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีร่วมกัน”
การขับเคลื่อนโรงพยาบาลกรุงเทพอย่างยั่งยืน ทีมบริหารเดินหน้ามาแล้วมากกว่า 5-6 ปี เป็นรูปแบบที่เรียกว่า Proactive Risk Management Progress ที่ พญ.เมธินีบอกว่าได้เริ่มต้นจากแผนกผ่าตัดของโรงพยาบาล เพราะเป็นแผนกที่มีความเสี่ยงสูง มีเคสที่ยุ่งยากซับซ้อน
“เราต้องเอาเคสเข้ามา Conference ให้หมอหลายคน หลายแผนก มานั่งวางแผนการรักษาร่วมกัน ไม่ใช่แค่หมอคนเดียวในการรักษาคนไข้ เมื่อรักษาเสร็จ เรามีโค้ช Post – Operative Conference เพื่อดูว่าการผ่าตัดเป็นอย่างไร เทคนิคใช้ได้ไหม มีต้องปรับตรงไหนหรือไม่ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม เราเน้นเรื่อง Proactive การป้องกันเชิงรุกเพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้น”
ยกตัวอย่างผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็ง เริ่มต้นจากทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพประชุมวางแผนการรักษาตามมาตรฐานระดับนานาชาติ ติดตามผลการรักษารวมถึงคุณภาพชีวิต อันจะเป็นการสร้างมาตรฐานการรักษาของโรงพยาบาลที่ยั่งยืนตลอดไป
“เรื่องความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลกรุงเทพทำ Green Hospital ทั้งแยกขยะ การจัดการพลังงานต่าง ๆ อย่างโครงการแยกขยะเพื่อเอามาทำพลาสติกรีไซเคิลร่วมกับ SCG ร่วมกับ Corsair แล้วก็เรื่อง Waste เช่น ขยะในห้องผ่าตัดก็ทำแล้ว โซลาร์เซลล์ก็ทำมานานมากแล้ว รวมถึงการประหยัดไฟ ประหยัดพลังงาน และ Food Waste เรียกว่าภาพรวมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมมีความชัดเจนมาอย่างต่อเนื่อง เป็นเป้าหมายเดียวกับ BDMS เดินหน้าให้ประเทศไทยเป็น Net Zero ในปี 2050”

ภารกิจที่ท้าทายในบทบาท CEO หญิงเก่ง
ช่วงท้ายของบทสนทนา พญ.เมธินี ไหมแพง CEO หญิงเก่งแห่งโรงพยาบาลกรุงเทพเล่าถึงความท้าทายในภารกิจขับเคลื่อนองค์กรภายใต้ยุทธศาสตร์ธุรกิจเฮลธ์แคร์ที่ต้องสอดรับและปรับตัวไปกับเทรนด์โลก
ความแตกต่างของโรงพยาบาลกรุงเทพในคอนเซปต์ Hospital in Hospital ไม่มีที่ไหนในเมืองไทย ด้วยความเชี่ยวชาญของโรงพยาบาลรักษาโรคยากได้ดี เราจึงแตกต่างจากที่อื่น คนไข้ให้ความไว้วางใจเยอะ เราเติบโตในทิศทางนี้ด้วยการยอมรับจากสังคม และดิฉันในฐานะผู้บริหารระดับสูงถ้าถามว่า ‘มีความกดดันไหม’ ยอมรับค่ะว่า ‘กดดัน’ แต่ไม่มาก เนื่องด้วยธุรกิจมีการพัฒนาในหลายด้านหลายมิติมาอย่างต่อเนื่อง มีเป้าหมายชัดเจน แม้จะมีการแข่งขันสูง บวกกับเทคโนโลยีและกระแสดิจิทัลต่าง ๆ ส่วนตัวมองว่าเป็นความท้าทาย เป็นแนวทางที่สามารถสร้างความแตกต่างในแวดวงธุรกิจ แต่ถ้าเรามาเริ่มบริหารจากจุดเริ่มต้นที่ศูนย์เลย อันนี้น่าจะกดดันดิฉันมาก ๆ (หัวเราะ)”
ส่วนด้านการแพทย์แทบไม่ได้สร้างความกังวลให้ผู้บริหารหญิงแห่งโรงพยาบาลกรุงเทพ “อาจเพราะเราเป็นหมอเฉพาะทางอยู่แล้ว การคุยกับแพทย์ทุกคนก็เข้าใจกัน คุยภาษาเดียวกัน ไม่มีการบังคับให้แพทย์ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ อยากใช้ยาอะไรรักษาทำได้เลยอย่างเหมาะสม ไม่มีการห้ามรักษาในรูปแบบใด ๆ นอกจากนี้เป็นความโชคดีที่บุคลากรของเราดี เก่ง และมีคุณภาพ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อย่างโรงพยาบาลระบบประสาทและสมองของเรามีหมอกว่า 20 คน ไม่คิดว่าที่ไหนจะมีหมอหลากหลายความเชี่ยวชาญเหมือนเรา หมอกระดูกมีเกือบ 30 คน และเรามีเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลพรั่งพร้อม เรียกว่าโรงพยาบาลกรุงเทพทุ่มทุนมาก”
และในแต่ละคืนที่โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่ต้องมีการอยู่เวร พญ.เมธินีบอกว่า ที่นี่มีหมอมากกว่า 30 คนประจำการในทุกคืนจึงมั่นใจได้ว่าหากมาที่นี่แล้วคุณจะปลอดภัย
“ดิฉันทำงานและบริหารงานทุกส่วนขององค์กรภายใต้หลักการที่ว่า ทำให้ดีขึ้น ทำอะไรให้ดีกว่าเดิมได้ก็ควรจะทำ และต้องมี Attitude ที่ดีต่อการทำงาน เรื่องนี้สำคัญมาก ๆ เป็นคนมองโลกในแง่ดี เป็นคนที่คิดว่าไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ ถ้าทำไม่ได้ตอนนี้ เดี๋ยวเวลาผ่านไปก็จะทำได้ ดังนั้นก็ส่งผลให้เราชอบคนที่ Attitude ดี ๆ ด้วยเช่นกัน การคิดบวกเป็นพลังงานบวกที่ทำให้ทำงานร่วมกันและอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข”
และเมื่อถูกถามว่าข้อได้เปรียบของผู้หญิงที่อยู่ในตำแหน่ง CEO ของธุรกิจเฮลธ์แคร์ที่มีมาตรฐานและชื่อเสียงที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล พญ.เมธินีตอบชัดเจนว่า “ผู้บริหารของโรงพยาบาลกรุงเทพเป็นผู้หญิงจำนวนมาก ตั้งแต่ President CEO รอง CEO รวมถึง CFO Marketing และ HR Director ข้อได้เปรียบน่าจะเป็นมุมมองที่ละเอียด อย่างตอนนี้ดูแลเรื่อง Employee Wellbeing ดูตัวเลขน้อง ๆ แล้วทำไมน้ำหนักขึ้นกันเยอะ เมื่อก่อนเราเป็น Quality Director พอเห็นใครน้ำหนักเกิน BMI (Body Mass Index) ไปแบบ 25 – 30 ก็ไม่สบายใจแทนน้อง ๆ แล้ว เราจึงต้องมีโครงการเพื่อเป้าหมาย Employee Wellbeing นอกจากสุขภาพกายดีแล้ว ยังมีโครงการด้าน Financial Health ที่ดีด้วย ซึ่งเรามองว่าเป็นความละเอียดที่ผู้บริหารผู้หญิงเห็นได้ลึกซึ้งกว่า สร้างบรรยากาศการบริหารงานที่เข้าอกเข้าใจ น่าจะเป็นความได้เปรียบของผู้หญิงในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของทุกองค์กรค่ะ” พญ.เมธินี CEO หญิงแห่งโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่ม 1 กล่าวทิ้งท้าย