3 ธีมลงทุนปี 2025 รับกระแส Trump 2.0

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

3 ธีมลงทุนปี 2025 800X420

 

อย่างไรก็ดีนักวิเคราะห์ทั่วโลกยังประเมินว่าแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายทั่วโลกเป็นทิศทางขาลงเพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงแบบ Soft-landing ซึ่งปัจจัยเหล่านี้สามารถแบ่งเป็นธีมการลงทุนได้ 3 อย่าง คือ America first, Domestic-oriented country และ Rate-cut cycle

1. ธีม America first บริษัทจดทะเบียนของสหรัฐฯ จะได้ประโยชน์สูงสุดจากการลดภาษีนิติบุคคลที่จะช่วยให้มีอัตรากำไรสูงขึ้นทันทีเพราะรายจ่ายภาษีลดลง โดย Bank of America ประเมินว่ากำไรต่อหุ้นของดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้นราว +4% หากอัตราภาษีนิติบุคคลลดลงจาก 21% เป็น 15% และหากพิจารณาเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มที่จะได้ประโยชน์จากนโยบายทางภาษีสูงสุดคือ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย (Consumer Discretionary) 7%, กลุ่มบริการด้านการสื่อสาร (Communication services) และหุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน (Financials) ที่ราว 5% ใกล้เคียงกัน

ส่วนของการยกระดับมาตรการขึ้น Tariff เพิ่มเติมของสหรัฐฯ อาจช่วยให้มูลค่าของบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ สูงขึ้นตลอดเวลาที่มาตรการบังคับใช้ เนื่องจากราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้นอาจเป็นประโยชน์แก่บริษัทที่ผลิตและขายสินค้าในสหรัฐฯ ที่รายได้และกำไรสูงขึ้นจากโอกาสเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดภายในประเทศได้ แต่อาจทำให้เกิดมาตรการตอบโต้กลับทางการค้า โดยจากข้อมูลจาก Factset ระบุว่ากลุ่มธุรกิจสาธารณูปโภค (Utilities), กลุ่มอสังหาฯ (Real estates) และกลุ่มสถาบันการเงิน (Financials) น่าจะได้รับผลกระทบจากประเด็นนี้จำกัด เพราะมีสัดส่วนรายได้ในประเทศถึง 99%, 82% และ 72% ตามลำดับ

2. ธีม Domestic-oriented country หากพิจารณาตลาดหุ้นอื่นนอกเหนือจากสหรัฐฯ ประเทศที่คาดว่าจะเกิดผลกระทบต่อการขึ้น Tariff ทั่วโลก 10% อย่างจำกัด คือ ประเทศอินเดีย, ญี่ปุ่น และเวียดนาม โดยพิจารณาจากประเทศที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับสัดส่วนการบริโภคภายในประเทศ โดยสหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับอินเดีย, ญี่ปุ่นและเวียดนามประมาณประเทศละ 1% ของ GDP สหรัฐฯ เทียบกับจีนและเม็กซิโกที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าราว 3% ขณะที่เศรษฐกิจทั้ง 3 ประเทศยังขับเคลื่อนด้วยการบริโภคในประเทศเป็นหลักโดยมีการใช้จ่ายภาคครัวเรือนต่อ GDP ในปี 2022 ที่ราว 61%, 56% และ 55% ซึ่งเกินกว่า 50% และสูงกว่าจีนที่มีเพียง 37% เท่านั้น

3. ธีม Rate-cut cycle แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาลงยังเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการลงทุนปี 2025 แม้ว่านโยบายการขึ้น Tariff อาจทำให้เงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาที่มาตรการยังบังคับใช้ โดย TISCO Economic Strategy Unit (TISCOESU) คาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond yield) 10 ปี ราว 4.5% ได้สะท้อนปัจจัยการขึ้น Tariff เต็มรูปแบบไปแล้ว อีกทั้ง TISCOESU ยังประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำสุดของสหรัฐฯ (Terminal Fed fund rate) จะอยู่ที่ 4% ขณะที่ปัจจุบันที่ดอกเบี้ยนโยบาย 4.5-4.75% จึงมีโอกาสที่ Fed จะลดดอกเบี้ยอีกราว 75 bps เพื่อช่วยลดความตึงตัวของภาคการเงินและประคองเศรษฐกิจในภาวะ Soft-landing และประเทศอื่น ๆ ก็ยังมีทิศทางดอกเบี้ยเป็นขาลงเพื่อปรับให้ส่วนต่างของดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อเข้าสู่จุดสมดุลมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้น ปี 2025 สินทรัพย์ที่มูลค่าจะเพิ่มขึ้นในภาวะดอกเบี้ย

ขาลงอย่าง Global REITs หรือ Global Bond ยังมีโอกาสสร้างกำไรจากการลงทุนได้ แต่ในส่วนของ Global Bond อาจเน้นอายุของตราสาร (Duration) ที่ลงทุนประมาณ 3 ปี เพื่อให้ยังได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลงและลดความเสี่ยงที่ดอกเบี้ยระยะยาวลดลงช้าจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นได้

โดยสรุปแล้ว สินทรัพย์ที่น่าลงทุนในปี 2025 ที่ชัดเจนจากนโยบาย Trump 2.0 คือ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเน้นกลุ่มที่มีรายได้ภายในประเทศเป็นหลัก เช่น กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย, กลุ่มบริการด้านการสื่อสารและกลุ่มการเงิน หรือประเทศอื่นที่รอดพ้นจากสงครามการค้าด้วยการพึ่งพาการบริโภคในประเทศเป็นหลัก เช่น อินเดีย, ญี่ปุ่น หรือเวียดนาม นอกจากนี้ยังคงแนะนำ Global REITs และ Global Bond ที่มี Duration ประมาณ 3 ปี ซึ่งยังได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลงทั่วโลกก็น่าจะเป็นเหล่าสินทรัพย์ที่สร้างกำไรในปี 2025 ได้จากสถานการณ์ลงทุนที่จะเปลี่ยนไปต่อจากนี้

บทความโดย ศิวกร ทองหล่อ CFP®

Senior Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

บทความล่าสุด

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า