ธนาคารทิสโก้ แนะซื้อ 4 ธีมลงทุน ปั้นกำไรโตสวนวิกฤต รับมือ Fed เดินเกมเข้ม – สัญญาณเศรษฐกิจถดถอยชัด

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1662447409256 1

ธนาคารทิสโก้ย้ำลูกค้าอาศัยจังหวะหุ้นย่อตัว ซื้อหุ้น 4 ธีมที่รายได้และกำไรมีโอกาสเติบโตในระยะยาวไม่หวั่นเศรษฐกิจถดถอย ได้แก่ 1. หุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์ 2. หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี  3. หุ้นกลุ่มดาวเด่นเอเชีย ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม และ 4.หุ้นกลุ่มพลังงานสะอาด 

นายณัฐกฤติ เหล่าทวีทรัพย์ ผู้อำนวยการอาวุโสที่ปรึกษาการลงทุนทิสโก้เวลธ์ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า หลังจากนาย Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) กล่าวย้ำในการประชุมประจำปี Jackson Hole Symposium ครั้งล่าสุดว่า Fedมีความจำเป็นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องและการคงดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลาหนึ่งเพื่อสกัดเงินเฟ้อ แม้จะส่งผลกระทบด้านลบต่อผู้บริโภคและภาคธุรกิจก็ตาม ขณะเดียวกันตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ก็เริ่มส่งสัญญาณหดตัวเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งส่วนต่างระหว่างพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวอายุ 10 ปี และระยะสั้น 2 ปี ซึ่งสามารถสะท้อนถึงการเกิดเศรษฐกิจถดถอยได้ส่งสัญญาณเตือนมาตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม 

จากความชัดเจนดังกล่าว ธนาคารทิสโก้ยังคงย้ำให้ลูกค้าอาศัยจังหวะที่หุ้นย่อตัวเข้าลงทุนใน 2 ธีมลงทุนที่ยังเติบโตได้ในระยะยาวสวนทางการเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ดังที่เคยแนะนำไปก่อนหน้านี้ คือ  

1. หุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์ เช่น ไบโอเทคโนโลยี (Biotechnology) และ ดิจิทัลเฮลธ์แคร์ (Digital Healthcare)  

2. หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี เช่น คลาวด์ คอมพิวติง (Cloud Computing) ไซเบอร์ ซีเคียวริตี้ (Cyber Security) และเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor)  

และในช่วงที่เหลือของปีธนาคารทิสโก้ยังแนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน 2 ธีมเพิ่มเติม คือ 1. หุ้นกลุ่มดาวเด่นแห่งเอเชีย (The Rising Star of Asia) ที่เศรษฐกิจเติบโตสูงสวนกระแสเศรษฐกิจถดถอยในฝั่งตะวันตก ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม และ 2. หุ้นกลุ่มพลังงานทดแทน (Renewable Energy) 

สำหรับปัจจัยสนับสนุนการลงทุนในหุ้นกลุ่มดาวเด่นแห่งเอเชียนั้น แต่ละประเทศมีปัจจัยสนับสนุน ดังนี้   

1. จีน: รัฐบาลจีนกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น เช่น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1 ล้านล้านหยวน และธนาคารกลางจีน (PBoC) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.10% โดยมีเป้าหมายให้เศรษฐกิจปีนี้ขยายตัว 5.5% นอกจากนี้ ในวันที่ 16 ตุลาคม 2565 จะมีการประชุมใหญ่ครบรอบ 20 ปีพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งจากสถิติในอดีตนับตั้งแต่ช่วงปี 2540 ตลาดหุ้นจีน (MSCI China Index) มักจะสร้างผลตอบแทนโดยเฉลี่ยประมาณ 20% ในช่วงก่อนที่จะถึงการประชุม ยิ่งช่วงนี้ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงมาก็เป็นจังหวะที่น่าเข้าลงทุน โดยธนาคารทิสโก้แนะนำลงทุนคือ กลุ่มเทคโนโลยี (Technology) กลุ่มอุปโภคบริโภค (Consumption) กลุ่มธุรกิจไบโอเทคโนโลยี (Biotechnology) กลุ่มธุรกิจสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) และกลุ่มพลังงานสะอาด (Clean Technology) เพราะเป็นกลุ่มที่รัฐบาลจีนยังให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของจีน ฉบับที่ 14 

2. อินโดนีเซีย : ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 1 ในกลุ่มอาเซียน และอันดับ 6 ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า GDP ของอินโดนีเซียปี 2565 จะเติบโตสูงถึง 5.4% และปี 2566 เติบโต 6%  โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่  การส่งออกทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบกับอินโดนีเซียมีประชากรกว่า 272.25 ล้านคน โดยกว่า 51% ของประชากรอยู่ในวัยแรงงาน รายได้กำลังเพิ่มขึ้น ทำให้การบริโภคภายในประเทศเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) โดยนักวิเคราะห์ใน Bloomberg Consensus คาดว่า กำไรต่อหุ้น (EPS Growth) ปี 2565 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นอินโดนีเซียจะเติบโตถึง 57.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน (YoY) ขณะที่มูลค่า (Valuation) ของตลาดหุ้นอินโดนีเซียซื้อขายอยู่ในระดับไม่สูงโดยมีระดับ Forward P/E 12 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 16.4 เท่า ถือเป็นระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว 5 ปีซึ่งอยู่ที่ระดับ 17 เท่า (ข้อมูลจาก Bloomberg ณ 31 ส.ค.65) 

3. เวียดนาม : เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตได้อย่างโดดเด่น โดย IMF คาดว่า ปี 2565 GDP เวียดนามจะเติบโตได้ถึง 6% ในปี และปี 2566 จะเติบโต 7.2% มีปัจจัยสนับสนุน คือ การบริโภคภายในประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัวตามรายได้ของชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้น จากจำนวนประชากรมากถึง 99 ล้านคน ซึ่งมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ จากค่าแรงที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้เวียดนามกำลังเป็นโรงงานการผลิตแห่งใหม่ของโลกต่อจากจีนจากตัวเลข FDI ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงเวียดนามยังมีข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) มากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ในแง่การลงทุน Valuation ของตลาดหุ้นเวียดนามปรับตัวลงมาอยู่ในระดับน่าสนใจมีระดับ Forward P/E 12 เดือนข้างหน้าที่ 11.5 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 15.8 เท่า ขณะที่คาดการณ์กำไรต่อหุ้น (EPS growth) ของบริษัทจดทะเบียนจะเติบโตสูงถึง 15% YoY (ข้อมูลจาก Bloomberg ณ 31 ส.ค.65) 

ส่วนปัจจัยสนับสนุนหุ้นกลุ่มกลุ่มพลังงานสะอาด (Renewable Energy) ที่น่าลงทุนนั้น เป็นผลมาจากความขัดแย้งของสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ ทำให้เกิดการขาดแคลนทางพลังงานโดยเฉพาะทางฝั่งยุโรป หลายประเทศจึงเริ่มตระหนักถึงความสำคัญลงทุนในพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าพลังงานทั่วไปถึง 70 – 90% และล่าสุด สหรัฐฯ ได้ผ่านร่างกฎหมาย Inflation Reduction Act  ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงาน โดยจะใช้เม็ดเงินลงทุนกว่า 369,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  

ในแง่การลงทุน Valuation ของหุ้นกลุ่มพลังงานหมุนเวียนก็ยังไม่สูง  โดยมีอัตราส่วนมูลค่าบริษัทตามราคาตลาดต่อยอดขายล่วงหน้า (Forward P/S) ของ S&P Global Clean Energy Index (ข้อมูลจาก Bloomberg ณ 31 ส.ค.65) อยู่ที่ 2.12 เท่า ขณะที่ BlackRock คาดการณ์การใช้พลังงานสะอาดระหว่างปี 2560 – 2583 จะเติบโตเฉลี่ยสูงถึง 32% % จึงเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนในการซื้อหุ้นกลุ่มพลังงานหมุนเวียน ที่เป็นธุรกิจที่มีคาดการณ์การเติบโตของการใช้พลังงานสะอาดที่สูง จึงมีแนวโน้มหนุนให้กลุ่มดังกล่าวสามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดในอนาคตสวนกระแสเศรษฐกิจถดถอยได้

บทความล่าสุด

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า