4 เหตุผลที่ต้องมีหุ้น Healthcare ติดพอร์ตในไตรมาส 4

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1727679124004

วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากถึง 0.5% จากระดับ 5.25 – 5.5% สู่ระดับ 4.75 – 5% ซึ่งถือเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่มากกว่าตลาดคาด

โดยในรายงานการประชุม Fed ได้กล่าวถึงความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะชะลอตัวลงและได้ปรับคาดการณ์ตัวเลขอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนให้เห็นว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในครั้งนี้ เริ่มให้น้ำหนักไปที่เรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน มากกว่าประเด็นเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่ได้ทยอยลดลงมาอย่างต่อเนื่องจนเข้าใกล้เป้าหมายของ Fed ที่ระดับ 2% 

ในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ การลงทุนยังคงมีความท้าทายจากหลายประเด็นที่อาจส่งผลให้ตลาดหุ้นกลับมามีความผันผวนที่มากขึ้น ทั้งการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่กำลังใกล้เข้ามา รวมถึงเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มที่สามารถฝ่าฟันและรอดพ้นจากสถานการณ์ดังกล่าวได้ ก็คือหุ้นกลุ่ม Healthcare จากเหตุผล 4 ข้อ ดังต่อไปนี้  

หุ้นกลุ่ม Healthcare ได้อานิสงส์เชิงบวกจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

ด้วยแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เข้าสู่วัฏจักรขาลงอย่างชัดเจน ถือเป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างเช่นหุ้น ทั้งในแง่ของต้นทุนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนที่มีแนวโน้มลดลงและ Valuation ที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางกับทิศทางของอัตราดอกเบี้ย จากการศึกษาข้อมูลผลตอบแทนหุ้นรายอุตสาหกรรมในช่วง 6 เดือนหลังจากที่ Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก ย้อนหลังไปตั้งแต่ปี 1995 จนถึงปี 2019 พบว่า หุ้นกลุ่ม Healthcare สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยได้ในระดับที่สูงถึง 13% ในขณะที่ตลาดหุ้น S&P500 ปรับตัวขึ้นโดยเฉลี่ยราว 12% เท่านั้น  

ผลประกอบการของหุ้นกลุ่ม Healthcare ทนทานต่อภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

ปัจจุบัน Bloomberg ประเมินความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเกิด Recession อยู่ในระดับที่สูงถึง 30% ในสถานการณ์ดังกล่าว หุ้นกลุ่ม Defensive อย่างเช่นกลุ่ม Healthcare จะได้รับความสนใจจากนักลงทุน เนื่องจากผลประกอบการของหุ้นกลุ่ม Healthcare มีการเติบโตที่แข็งแกร่งและไม่ผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ 

 ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงวิกฤต Dot-com ปี 2000 และวิกฤต Subprime ปี 2008 ที่กำไรต่อหุ้น (EPS) ของหุ้นกลุ่ม Healthcare เติบโตได้ +5.6% และ +13.2% ตามลำดับ สวนทางกับผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P500 ที่หดตัวลงในช่วงเวลาเดียวกันถึง -19.5% และ -14% ส่งผลให้ราคาหุ้นกลุ่ม Healthcare สร้างผลตอบแทน Outperform ตลาดในช่วงวิกฤตทั้งสองครั้งถึง 6% และ 10%  

หุ้นกลุ่ม Healthcare มักจะสร้างผลตอบแทนชนะตลาดในปีที่มีการเลือกตั้งสหรัฐฯ

นักลงทุนส่วนใหญ่มักหลีกเลี่ยงการลงทุนหุ้นกลุ่ม Healthcare ในปีที่มีการเลือกตั้งสหรัฐฯ เนื่องจากมีความกังวลว่าผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอาจมีนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อรายได้และกำไรของหุ้นกลุ่มนี้ ยกตัวอย่างเช่น นโยบายการปรับลดราคายา เป็นต้น  

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาย้อนกลับไปในปีที่มีการเลือกตั้งสหรัฐฯ นับตั้งแต่การเลือกตั้งปี 1996 จนถึงการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในปี 2020 พบว่า หุ้นกลุ่ม Healthcare (ดัชนี MSCI World Healthcare Index) สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยได้สูงถึงประมาณ 18.2% ในช่วง 12 เดือนหลังจากที่มีการเลือกตั้งสหรัฐฯ เอาชนะผลตอบแทนของดัชนีตลาดหุ้นโลก (ดัชนี MSCI World Index) ที่ปรับตัวขึ้นโดยเฉลี่ยเพียง 15.9% ในช่วงเวลาเดียวกัน คิดเป็นการ Outperform ตลาดราว 2.4% สะท้อนให้เห็นว่า การเลือกตั้งสหรัฐฯ ไม่ได้ลดทอนศักยภาพของหุ้นกลุ่ม Healthcare ลง อย่างที่นักลงทุนส่วนใหญ่มีภาพจำ 

หุ้นกลุ่ม Healthcare มีการเติบโตของกำไรที่โดดเด่นกว่าตลาด

นักวิเคราะห์ใน Bloomberg Consensus คาดว่ากำไรของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม Healthcare จะเติบโตได้อย่างโดดเด่นถึง +13.5% YoY ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า สูงกว่าการเติบโตของบริษัทในดัชนี S&P500 ที่มีแนวโน้มจะขยายตัวราว +11.2% YoY โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากนวัตกรรมการรักษารูปแบบใหม่จากการเข้ามาของเทคโนโลยี AI การอนุมัติยาตัวใหม่จาก FDA รวมถึงการควบรวมกิจการภายในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งมักจะผลักดันราคาหุ้นที่เกี่ยวข้องปรับตัวขึ้นได้อย่างก้าวกระโดด 

ดังนั้น ในไตรมาส 4 ปีนี้ ที่ตลาดยังเผชิญกับความไม่แน่นอนทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ การถือหุ้นคุณภาพสูงอย่างกลุ่ม Healthcare อยู่ในพอร์ต มีโอกาสที่จะช่วยสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าตลาด อีกทั้งยังช่วยลดความผันผวนให้กับพอร์ตการลงทุนได้อีกด้วย

 

บทความโดย ภาคภูมิ พีรยวัฒนา AFPT™

Senior Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

บทความล่าสุด

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า