5 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อประกันบำนาญ

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1631525685402

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้วในปีนี้ โดยสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมินว่า ในปี 2040 หรืออีกประมาณ 19 ปีข้างหน้า ประชากรสูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 31% ของประชากรทั้งประเทศ และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงอายุขัยเฉลี่ยของผู้หญิงและผู้ชาย โดยปี 2040 จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 83.2 ปี และ 76.8 ปี ตามลำดับ (จากปี 2020 ที่ 80.4 ปี และ 73.2 ปี ตามลำดับ)

ทว่ากว่า 90% ของประชากรไทยไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ในยามเกษียณ นำไปสู่ปัญหาระดับชาติ นั่นก็คือ คนไทยจนตอนแก่ โดยรายได้หลักในการดำรงชีพของผู้สูงอายุในยามเกษียณกว่า 55% มาจากการพึ่งพิงคนอื่น เช่น บุตร รัฐ คู่สมรส และอีกราว 34% ยังต้องหาเลี้ยงชีพด้วยตัวเองต่อไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สิ่งหนึ่งที่อาจละเลยไป คือ “การวางแผนเกษียณ”

Thailand Securities Institute (TSI) ได้ให้นิยามของการวางแผนเกษียณ (Retirement Planning) ว่า เป็นกระบวนการในการวางแผนการดำเนินชีวิตในช่วงหลังเกษียณอายุ ภายใต้พื้นฐานที่เป็นไปได้ เพื่อกำหนดกลยุทธ์ และแนวทางที่จะทำให้แผนการดำเนินชีวิตในช่วงหลังเกษียณอายุบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ ซึ่งโดยทั่วไปยามเกษียณอายุ เราจะต้องการเงินประมาณ 70% ของค่าใช้จ่ายปัจจุบัน แต่อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละคน ทั้งค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และภาระผูกพันต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายปัจจุบันเดือนละ 30,000 บาท อาจเป็นค่าใช้จ่ายยามเกษียณต่อเดือนอยู่ที่ 21,000 บาท (มาจาก 30,000 x 70%) หากสมมติว่า เราตั้งใจจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี ต้องการใช้เงินหลังเกษียณอายุปีละ 252,000 บาท (มาจาก 21,000 x 12) คาดว่าอายุขัยจะเท่ากับ 80 ปี กำหนดอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนหลังเกษียณที่ 5% ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อที่ 3% ต่อปี เราจะต้องมีเงินเก็บรวม ณ วันที่เกษียณอายุทั้งหมดราว 4,224,300 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่า เป็นเงินจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว หากเราไม่รีบวางแผนเกษียณไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ อาจมีเงินไม่พอใช้จนถึงบั้นปลายชีวิตก็เป็นได้

อย่างไรก็ตาม ตลอดชีวิตการทำงานของคนๆ หนึ่ง จะมีเงินเก็บสะสมสำหรับการเกษียณ ยกตัวอย่าง พนักงานบริษัทเอกชน จะมีประกันสังคม (จ่ายบำเหน็จหรือบำนาญตอนเกษียณ) และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่แหล่งเงินออมดังกล่าวอาจจะไม่เพียงพอในช่วงเกษียณอายุ ดังนั้น การเก็บออมและลงทุนเพิ่มจึงมีความจำเป็น

นอกจากการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ เช่น ตราสารหนี้ หุ้น และกองทุนรวมตามความเสี่ยงแล้ว อีกหนึ่งเครื่องมือที่เหมาะสมในช่วงเกษียณอายุก็คือ “ประกันบำนาญ” เนื่องจากการันตีรายได้ที่แน่นอนในแต่ละเดือน โดยไม่ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดการลงทุน อีกทั้งยังได้รับความคุ้มครองชีวิตทั้งก่อนและหลังรับเงินบำนาญตลอดอายุสัญญา และสามารถนำค่าเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ไม่เกิน 200,000 บาท และอาจจะลดหย่อนได้สูงสุดถึง 300,000 บาท  ถ้ายังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป ทั้งนี้ เมื่อรวมกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ กบข. จะต้องไม่เกิน 500,000 บาทด้วย

ทั้งนี้ การซื้อประกันบำนาญ อาจเริ่มต้นซื้อเมื่ออายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป เนื่องจากเป็นช่วงที่งานเริ่มมั่นคงและมีกระแสเงินสดเสถียรพอที่จะสามารถจ่ายเบี้ยได้อย่างต่อเนื่อง และสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับการซื้อประกันจะอยู่ที่ประมาณ 15-20% ของเงินได้ต่อปี เช่น มีเงินได้ต่อปี 360,000 บาท สัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับการซื้อประกันจะอยู่ที่ประมาณ 54,000-72,000 บาทต่อปี เพื่อจะได้ไม่เป็นภาระจนเกินไป แต่สำหรับคนที่มีสภาพคล่องเหลือเยอะ อาจสามารถเพิ่มสัดส่วนในการซื้อประกันได้อีก

สำหรับข้อควรรู้ในการเลือกซื้อประกันบำนาญมี 5 ข้อ ดังนี้

1. ด้วยความคุ้มครองและการรับเงินบำนาญเป็นเปอร์เซ็นต์ที่เท่ากัน ระยะเวลาการจ่ายเบี้ยประกันยิ่งสั้น ยิ่งให้ความคุ้มค่ามากกว่าการจ่ายเบี้ยประกันระยะยาว เช่น ประกันบำนาญที่ชำระค่าเบี้ยประกันแบบ 5 ปี จะมีค่าเบี้ยประกันรวมต่ำกว่าประกันบำนาญที่ชำระค่าเบี้ยประกันแบบ 10 ปี

2. อายุที่ทำประกันบำนาญยิ่งน้อยยิ่งดี เนื่องจากค่าเบี้ยประกันที่จ่ายต่อปีก็จะน้อยลงตามไปด้วย

3. ยิ่งอายุการจ่ายเงินบำนาญยิ่งนาน ยิ่งมีโอกาสได้ประโยชน์ที่คุ้มค่า เช่น ถ้ามีอายุจนถึงครบรอบปีกรมธรรม์ที่อายุครบ 99 ปี จะมีโอกาสได้รับผลประโยชน์ที่คุ้มค่ามากกว่า

4. แบบของเงินรับบำนาญ ปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลาย เช่น แบบเงินรับบำนาญทุกปี ปีละ 15% 24% 36% ของจำนวนเงินเอาประกัน การเลือกจะทำประกันบำนาญที่ให้เงินบำนาญเท่าไหร่นั้น จะขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน โดยอาจกล่าวได้ว่า กรณีได้เงินรับบำนาญยิ่งเยอะ ยิ่งทำให้รู้สึกอุ่นใจมากกว่า

5. อาจเลือกแบบประกันบำนาญที่จ่ายเงินให้สูงกว่าในกรณีเสียชีวิตก่อนรับบำนาญ เนื่องจากเงินที่ได้รับในกรณีเสียชีวิตก่อนรับบำนาญของแต่ละแบบประกันอาจไม่เท่ากัน เช่น หากเสียชีวิตก่อนรับเงินบำนาญ จะได้รับเงินทั้งหมด 105% หรือ 110% ของเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้วทั้งหมด เป็นต้น

สุดท้ายนี้ การวางแผนเกษียณนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการเงินแบบองค์รวมที่มีความสำคัญมากในการกำหนดบั้นปลายชีวิตของเราที่เหลืออยู่ว่า จะดำเนินไปในทิศทางใด จึงควรมีการเตรียมความพร้อมวางแผนไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ให้สายเกินไป จนอาจกลายเป็นปัญหาได้ในอนาคต ทั้งนี้ การแบ่งสัดส่วนเงินมาซื้อประกันบำนาญ ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการวางแผนเกษียณที่ดีในการสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอหลังเกษียณอายุ พร้อมทั้งให้ความคุ้มครองชีวิต และเพิ่มความมั่งคั่งจากการเป็นตัวช่วยประหยัดภาษี ซึ่งเงินบำนาญของประกันบำนาญที่ได้รับ นับว่าเป็นรายได้ระดับหนึ่ง เมื่อรวมกับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคมที่ได้สมทบไว้ ก็น่าจะพอเป็นรายได้ในการใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุได้อย่างสบายใจ

===================================

เผยแพร่ครั้งแรกที่คอลัมน์ Money Talk ใน Business Today

บทความล่าสุด

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า