5 ประโยชน์ของการส่งต่อมรดก ด้วย “ประกันชีวิต”

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1703594324044 1

การส่งต่อมรดกเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรวางแผนไว้ล่วงหน้า จากความเสี่ยงในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งด้านสุขภาพที่เกิดจากมลภาวะทางอากาศ อาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงที่เราไม่คาดคิด หรือการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน โดยการวางแผนมรดกไม่จำเป็นเฉพาะวัยสูงอายุ แต่สามารถวางแผนได้ทุกช่วงวัย เพื่อให้แน่ใจว่าทรัพย์สินที่มีอยู่จะถูกส่งมอบให้กับคนที่คุณรักตามความต้องการและถูกต้องตามกฎหมาย การส่งต่อมรดกสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การยกให้ การแบ่งปันทรัพย์มรดก เป็นต้น แต่หนึ่งในวิธีการส่งต่อมรดกที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือการส่งต่อมรดกด้วยประกันชีวิต

ประโยชน์ของการส่งต่อมรดกด้วยประกันชีวิต
1.เงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตไม่ต้องเสียภาษีมรดก
ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 กำหนดว่า “มรดก หมายความว่า ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย” จากบทนิยามดังกล่าว จะเห็นได้ว่า เงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตไม่ถือเป็นมรดกของผู้ตาย เนื่องจากไม่ถือเป็นทรัพย์สินของผู้ตายที่มีอยู่ก่อนหรือมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย แต่เป็นทรัพย์สินที่เกิดขึ้นหลังจากผู้เอาประกันเสียชีวิตแล้ว

2.สามารถกำหนดผู้รับประโยชน์ได้ตามความประสงค์
ผู้เอาประกันสามารถกำหนดผู้รับประโยชน์ได้ตามความต้องการ โดยผู้รับประโยชน์สามารถเป็นบุคคลใดก็ได้ เช่น ทายาท คู่สมรส บุพการี พี่น้อง หรือองค์กรการกุศล เป็นต้น

3.เจ้าหนี้ไม่สามารถฟ้องร้องเรียกได้
เงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตถือเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต สิทธิในการรับเงินประกันชีวิตจึงตกเป็นของผู้รับประโยชน์ เจ้าหนี้ของผู้เอาประกันจะไม่สามารถฟ้องร้องเรียกเงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตจากผู้รับประโยชน์ได้

4.จัดการเงินได้อย่างรวดเร็ว
การเรียกร้องเงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว โดยผู้รับประโยชน์จะต้องดำเนินการแจ้งบริษัทประกันชีวิตทราบภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต หรือภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบถึงการเสียชีวิตของผู้เอาประกัน ซึ่งต่างกับคำสั่งศาลในคดีมรดก โดยพินัยกรรมจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน และคดีมรดกโดยธรรม จะใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน

5.ค่าเบี้ยนำไปลดหย่อนภาษีได้
ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ สามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท ตามจำนวนที่จ่ายจริง

เทคนิคเลือกประกันชีวิตเพื่อส่งต่อมรดก
การเลือกประกันชีวิตเพื่อส่งต่อมรดก ส่วนใหญ่นิยมเลือก “ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ” เนื่องจากประโยชน์ของแบบประกัน มีดังนี้

-จำนวนเงินเอาประกัน
แบบประกันตลอดชีพเป็นแบบประกันที่ให้ทุนประกันภัยสูงเบี้ยประกันภัยต่ำ เมื่อเทียบเบี้ยประกันต่อทุนจะมีความคุ้มค่าสูง

-ระยะเวลาการเอาประกัน
แบบประกันตลอดชีพมีความคุ้มครองชีวิตระยะยาวจนสิ้นอายุขัย หรือ จนครบกำหนดอายุ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการให้ครอบครัวมีหลักประกันระยะยาว ในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตก่อนครบกำหนดอายุสัญญา ผู้รับประโยชน์จะได้รับเงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิต

-เบี้ยประกัน
ค่าเบี้ยประกันของประกันชีวิตคงที่ตลอดอายุสัญญา ทำให้ผู้เอาประกันไม่ต้องกังวลเรื่องค่าเบี้ยประกันที่อาจสูงขึ้นในอนาคต

-มีความยืดหยุ่นสูง
เลือกแบบประกันโดยผู้เอาประกันสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนเงินเอาประกันภัยได้ตามความต้องการ และ สามารถเปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์ได้

การส่งต่อมรดกด้วยประกันชีวิตจึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า เหมาะสำหรับทุกคนที่ต้องการวางแผนส่งต่อมรดกให้กับคนที่คุณรัก หากเกิดอะไรขึ้นกับตัวเราขึ้นมาโดยไม่คาดคิด เงินตรงนี้จะถูกส่งต่อและสามารถนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดยเงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตยังได้รับการยกเว้นภาษีมรดก และสามารถกำหนดผู้รับประโยชน์ได้ตามความต้องการ เพียงเท่านี้เราสามารถลดความกังวลและเพิ่มความสบายใจให้ทั้งตัวเองและคนที่เรารักได้อย่างมั่นใจ

หากท่านใดมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินของตนเอง สามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ [email protected]  I

บทความโดย จตุรพร ระวิงทอง AFPT™

Assistant Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

เผยแพร่ครั้งแรกที่เว็บไซต์ SET Investnow

บทความล่าสุด

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

ลงทุน Global Bond ให้ดี ปีนี้ต้องเลือก Bond ระยะกลาง-สั้น

เปิดปี 2568 ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ รวมถึงประเทศหลักส่วนใหญ่ยังเป็นทิศทางขาลง ช่วงนี้จึงนับเป็นจังหวะที่น่าสนใจในการเข้าลงทุนตราสารหนี้โลก แต่ต้องเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-สั้น เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปีนี้

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า