Alzheimer…โรคร้ายวัยเกษียณ ที่ไม่ใช่แค่การหลงลืม   

บทความการลงทุนเชิงลึก ที่คุณไม่ควรพลาด

1683693007339

              ในยุคที่ประชากรทั่วโลกมีอายุยืนยาวขึ้นจากนวัตกรรมทางการแพทย์ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาพยาบาล ทำให้อายุขัยเฉลี่ย (Life Expectancy) เพิ่มขึ้นจาก 73 ปี ในปี ค.ศ. 2023 เป็น 82 ปี ในปี ค.ศ. 2100 ซึ่งเท่ากับว่าเราจำเป็นต้องเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณที่มากขึ้น นอกจากนั้นด้วยอายุขัยที่ยาวนานขึ้นยังทำให้มีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยด้วยโรคผู้สูงอายุอย่างโรคAlzheimerเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จะมีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมหรือ Alzheimer ราว 1 ใน 14 ราย และสัดส่วนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สู่ระดับ 1 ต่อ 6 รายในช่วงอายุ 80 ปี หรือคิดเป็นราว 16% และเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 85 ปี พบว่ามีความเสี่ยงเป็น Alzheimer มากถึง 40% เลยทีเดียว

โรค Alzheimer เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม ซึ่งความเสี่ยงที่จะเป็นโรค Alzheimer จะเพิ่มขึ้นตามอายุ หรืออาจเกิดจากการติดต่อทางพันธุกรรม โดยสมาคมโรค Alzheimer หรือ Alzheimer’s Association International Conference (AAIC) รายงานตัวเลขประมาณการแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยโรค Alzheimer พบว่า ในปี 2019 มีจำนวนผู้ป่วยราว 57.6 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 152.8 ล้านคน ในปี 2050 หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึงราว 2.5 เท่า และสำหรับในประเทศไทยคาดว่าจะมีผู้ป่วยโรคAlzheimerมากถึงราว 2.4 ล้านคนในปี 2050 เพิ่มขึ้นมากถึง 3.56 เท่า จากปี 2019 และจากสถิติพบว่าหากผู้ป่วยที่มีอาการโรคสมองเสื่อมหรือ Alzheimer มักจะมีชีวิตอยู่ได้อีกราว 7 – 10 ปีเท่านั้น

อาการของผู้ป่วย Alzheimer อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ โดยในระยะแรก ผู้ป่วยจะเริ่มมีความจำถดถอยจนตัวเองรู้สึกได้ พูดเรื่องเดิมซ้ำ สับสนทิศทาง และเริ่มมีอาการของโรคซึมเศร้า แต่ยังสามารถสื่อสารและทำกิจวัตรประจำวันได้ ในระยะที่ 2 หรือระยะกลาง ผู้ป่วยจะมีอาการที่รุนแรงขึ้น ความจำแย่ลง พฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างมาก อาทิ เดินออกจากบ้านโดยไม่มีจุดหมาย ก้าวร้าว เริ่มมีปัญาในการใช้ชีวิตประจำวัน กระวลกระวาย เพ้อฝัน และในระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะมีการตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างลดลง สุขภาพทรุดลงคล้ายผู้ป่วยติดเตียง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สมองเสื่อมเป็นวงกว้าง ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อและเสียชีวิตในที่สุด

ในด้านการรักษาพยาบาล ถึงแม้ค่ารักษาโรค Alzheimer โดยตรงอาจไม่ได้สูงเท่าโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งหรือโรคหัวใจ แต่ก็อาจอยู่ในระดับหลายแสนบาทต่อปี ด้วยมีค่าใช้จ่ายหลายด้านด้วยกัน อาทิ การใช้ยา Tacrine, Donepezil, Rivastigmine และ Galantamine อย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยเพิ่มระดับ Aceetylcholine ในสมองส่วน Cerebral Cortex (เปลือกสมอง) หรือตัวยาล่าสุดที่ได้รับการอนุมัติจาก FDA สหรัฐฯ (U.S. Food and Drug Administration) ที่เรียกว่า Leqembi โดยบริษัท Eisai และ Biogen ที่มีค่าใช้จ่ายราว 26,500 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 900,000 บาทต่อปี นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์  ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย ค่าอาหารเสริม เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ดี บทวิจัยโดย National Institute on Aging (NIH) พบว่า ผู้ป่วยโรค Alzheimer มีโอกาสสูงที่จะป่วยเป็นไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) อาทิ โรคหัวใจ, โรคระบบไหลเวียนโลหิต, โรคเส้นเลือดสมอง และโรคเบาหวาน ได้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ป่วยด้วยโรค Alzheimer ซึ่งค่ารักษาพยาบาลในโรคกลุ่มดังกล่าวอาจสูงถึงหลายล้านบาทได้ ทำให้การเตรียมตัวรับมือกับค่ารักษาพยาบาลหรือเหตุไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก

ค่ารักษาพยาบาลในการดูแลรักษาจากการเจ็บป่วยด้วยโรค Alzheimer ตลอดจนโรค NCDs ต่างๆ สามารถจัดการได้ด้วยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินอย่างประกันสุขภาพหรือประกันโรคร้ายแรงที่ให้ความคุ้มครองหลายกลุ่มโรคซึ่งจะช่วยปิดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงได้อย่างดี นอกจากนี้เรายังควรเลือกประกันที่ให้วงเงินค่ารักษาที่สูง ตลอดจนเป็นกรมธรรม์ที่เปิดโอกาสให้เราสามารถต่ออายุกรมธรรม์ได้ต่อเนื่องยาวนานหลังช่วงเกษียณอายุ อาทิ 98-99 ปี เนื่องจากความเสี่ยงในการเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นตามอายุขัยของเรานั่นเอง

จะเห็นได้ว่าเมื่อเรามีอายุมากขึ้น ความเสี่ยงในการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงต่างๆก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งผู้สูงอายุจำนวนมากมีโอกาสที่จะป่วยด้วยโรค Alzheimer ตลอดจนโรคร้ายแรงอื่นๆ ทำให้การเตรียมตัว และการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อย่างไรก็ดีการใช้เครื่องมืออย่างประกันสุขภาพหรือประกันโรคร้ายแรงจะเป็นเครื่อง “การันตี” ให้กับเราว่าเมื่อถึงเวลาที่จำเป็นเราจะมีเงินเพียงพอสำหรับการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพเพื่อรับมือกับโรคร้ายที่เราต้องเผชิญ

บทความโดย วิศรุต จารุอนันตพงษ์ AFPT Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

เผยแพร่ครั้งแรก :เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บทความล่าสุด

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>

ฝ่ากระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่โอกาสในปี 2025

ท่ามกลางการกลับมาของนโยบาย Trump 2.0 ปี 2025 ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ประกาศไว้ระหว่างการหาเสียงที่โดยเน้นไปที่การลดภาษีนิติบุคคลและการขึ้นภาษีนำเข้า อาจนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดในสงครามการค้า ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2024 ยังคงส่งผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินในวงกว้าง

อ่านต่อ >>

ความเข้าใจผิดกับ Copayment ของประกันสุขภาพ

หลังจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกหลักเกณฑ์สำหรับเพิ่มเงื่อนไขความคุ้มครองประกันสุขภาพให้มีเกณฑ์การจ่ายสินไหมที่กำหนดค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หรือ ผู้ถือประกันสุขภาพต้องมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ พร้อมกับการประกาศแนวทางยกเลิกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งข่าวข้างต้นอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่สนใจซื้อประกันสุขภาพหรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วว่าความคุ้มครองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำประกันสุขภาพในระยะยาวด้วย

อ่านต่อ >>

จัดพอร์ตลงทุนปี 2025 ฝ่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

ก้าวเข้าสู่ปี 2025 สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเข้ามาหลายทิศทาง สมรภูมิการลงทุนจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในบริบทการเมืองโลกที่สหรัฐฯ กำลังจะได้ Donald Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ทั้งในมุมของนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ทั้งในแง่ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่พร้อมจะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านต่อ >>
Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า